Logo
  • หน้าหลัก
  • ประวัติ
  • ผลงานวิชาการ
  • ผลงานอื่นๆ
    • หนังสือ
    • Powerpoint
    • สัมภาษณ์รายการต่างๆ
    • บทความอื่นๆ
  • Blog
  • Gallery ภาพส่วนตัว
  • ติดต่อ
Copyright, 2015 : drprapat.com - All rights reserved.
September 19, 2011
drprapat
บทความ
0

การปะทะกันทางอารยธรรม ปี 2011

PreviousNext

ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 12-วันพฤหัสบดีที่ 18 สิงหาคม 2554

เหตุการณ์การสังหารหมู่ที่นอร์เวย์ ในช่วงปลายเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา เป็นสิ่งบอกเหตุถึงแนวโน้มของการปะทะกันทางอารยธรรม หรือ clash of civilizations ที่มีแนวโน้มจะรุนแรงมากขึ้น คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จะวิเคราะห์เรื่องดังกล่าว ดังนี้
อุดมการณ์ขวาจัด

เหตุการณ์การสังหารหมู่ที่นอร์เวย์ เป็นฝีมือของชาวนอร์เวย์ที่มีชื่อว่า Anders Behring ซึ่งมีอุดมการณ์แนวขวาจัดร่วมอุดมการณ์กับแนวคิดนาซีใหม่และฟาสซิสต์ใหม่ โดยในคำประกาศของเขาใน internet ซึ่งมีความยาวกว่า 1,500 หน้า หัวข้อว่า “2083 : A European Declaration of Independence” โดยเนื้อหาส่วนใหญ่ เป็นแนวคิดต่อต้านอิสลาม โดยเฉพาะการต่อต้านการแผ่ขยายของศาสนาอิสลามเข้าสู่ยุโรปตะวันตก และต่อต้านแนวคิดเรื่องพหุวัฒนธรรม Breivik กล่าวว่า เขาต้องการเริ่มการปฏิวัติครั้งใหม่ เพื่อจะเอาชนะนโยบายเสรีนิยม และเอาชนะต่อการแผ่ขยายของศาสนาอิสลาม โดยเขาได้วิพากษ์วิจารณ์นักการเมืองที่ปล่อยให้ชาวมุสลิมอพยพเข้ามาในนอร์เวย์ โดยมองว่า การที่นักการเมืองมีนโยบายพหุวัฒนธรรมนั้น ถือเป็นผู้ทรยศต่อประเทศ

แนวคิดของ Breivik เป็นเพียงตัวอย่างของการเกิดขึ้นของกระแสต่อต้านอิสลาม ที่แพร่ขยายไปอย่างรวดเร็วในยุโรปและในสแกนดิเนเวีย ในขณะนี้ พรรคการเมืองที่มีอุดมการณ์ขวาจัด กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยชาวยุโรปอุดมการณ์ขวาจัดต่อต้านโยบายเสรีนิยม ที่เปิดกว้างยอมให้ชาวมุสลิมอพยพเข้ามาในยุโรป และมองว่า ชาวมุสลิมเหล่านี้ไม่ยอมรับค่านิยมตะวันตก และก่อให้เกิดปัญหาสังคมต่างๆมากมาย

แนวอุดมการณ์ขวาจัด เน้นการสนับสนุนตะวันตก สหรัฐฯ และอิสราเอล ต่อต้านมุสลิมอย่างสุดขั้ว รวมทั้งเน้นศาสนานิยม ในแง่ของศาสนาคริสต์ และต่อต้านนโยบายเสรีนิยม นโยบายของฝ่ายซ้าย และพหุวัฒนธรรมนิยม กลุ่มขวาจัดในยุโรปกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งนี้เพราะความพยายามของกลุ่มดังกล่าวที่จะทำให้ประชาชนหวาดกลัวว่า ชาวมุสลิมกำลังจะเข้าครอบครองทวีปยุโรป อุดมการณ์นี้ จึงไม่ได้มองแค่ว่า มุสลิมหัวรุนแรงเป็นภัยคุกคามเท่านั้น แต่จะมองว่า อิสลามหรือมุสลิมทั้งหมดเป็นภัยคุกคาม

พรรคการเมืองขวาจัดในยุโรป เกิดขึ้นมานานแล้ว ตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 คือ พรรคนาซี และพรรคฟาสซิสต์ แต่หลังสงคราม พรรคขวาจัดก็ไม่ได้รับความนิยม อย่างไรก็ตาม พรรคเหล่านี้ กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง ตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เป็นต้นมา โดยเฉพาะเมื่อเกิดปัญหาเศรษฐกิจ ปัญหาสังคม ทำให้พรรคขวาจัดได้ปลุกระดมชาวยุโรป ให้เชื่อว่า ปัญหาเหล่านี้เกิดมาจากชาวมุสลิมที่ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในยุโรป ซึ่งจะต้องต่อต้านอย่างเต็มที่ ประเทศในยุโรปหลายประเทศ มีปัญหาเป็นอย่างมากในการปรับตัวกับการย้ายถิ่นฐานเข้ามาของชนชาติต่างๆที่ไม่ใช่ชาวยุโรป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ชาวมุสลิม และไม่คุ้นกับแนวคิดพหุวัฒนธรรม ดังนั้น พรรคขวาจัด จึงเรียกร้องให้ยุโรปกลับไปเป็นสังคมที่มีเชื้อชาติเดียวเป็นหลักเหมือนในอดีต นอกจากนี้ ในยุคหลังเหตุการณ์ 11 กันยาฯ การก่อการร้ายจากกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง ก็ยิ่งทำให้นักการเมืองขวาจัด กล่าวหาชนกลุ่มน้อยชาวมุสลิมในยุโรปว่า นอกจากจะเป็นภัยคุกคามทางวัฒนธรรมแล้ว ยังเป็นภัยคุกคามทางความมั่นคงอีกด้วย

ขณะนี้ พรรคการเมืองขวาจัดทั่วยุโรป กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น อาทิ

– สวีเดน มีพรรค Sweden Democrats

– ฝรั่งเศส มีพรรค National Front ซึ่งมี Jean-Marie Le Pen เป็นผู้นำ

– ออสเตรีย มีพรรค Freedom Party

– สำหรับนอร์เวย์ พรรคขวาจัด มีชื่อว่า Progress Party ซึ่งไม่ค่อยมีบทบาทเหมือนพรรคขวาจัดในประเทศอื่น โดยชาวนอร์เวย์ส่วนใหญ่ไม่สนับสนุนอุดมการณ์ขวาจัด อย่างไรก็ตาม Breivik ซึ่งเป็นผู้ก่อเหตุการณ์สังหารหมู่ที่นอร์เวย์นั้น ก็เคยเป็นสมาชิกของพรรคนี้

บทวิเคราะห์

ผมมองว่า เหตุการณ์การสังหารหมู่ในนอร์เวย์ โดยฝ่ายขวาจัดในครั้งนี้ จะยิ่งทำให้กระแสการปะทะกันทางอารยธรรม หรือความขัดแย้งระหว่างตะวันตกกับอิสลาม ขยายตัวรุนแรงมากขึ้น Samuel Huntington ซึ่งเป็นเจ้าทฤษฎี The Clash of Civilizations ได้บอกว่า ความขัดแย้งระหว่างตะวันตกกับอิสลาม มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 1,400 ปี นับตั้งแต่สงครามครูเสด เหตุการณ์ 11กันยาฯ เป็นส่วนหนึ่งของการปะทะกันทางอารยธรรม ระหว่างตะวันตกกับกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง ที่ต้องการจะท้าทายและเป็นปฏิปักษ์ต่อตะวันตก แม้ว่า ต่อมา สหรัฐฯจะบุกยึดอัฟกานิสถาน และอิรัก ซึ่งถือเป็นชัยชนะของตะวันตกต่ออิสลาม แต่แนวโน้มความขัดแย้ง กลับเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ การก่อการร้ายจากกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง ได้แพร่ขยายไปทั่วโลก และรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

ตั้งแต่เหตุการณ์ 11 กันยาฯ ความรุนแรงและการก่อการร้าย มาจากกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรง แต่จากเหตุการณ์สังหารหมู่ที่นอร์เวย์ในครั้งนี้ อาจเป็นจุดเริ่มต้นของการก่อการร้ายที่จะมาจากกลุ่มขวาจัดจากตะวันตกเอง ดังนั้น ในอนาคต สองกลุ่มนี้ คือ กลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงกับกลุ่มคริสต์หัวรุนแรง จะกลายเป็นหัวหอกของการปะทะกันทางอารยธรรมที่จะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ

ถึงแม้ว่า ประธานาธิบดี Obama ในตอนเข้ารับตำแหน่งใหม่ๆ จะได้กล่าวสุนทรพจน์ประวัติศาสตร์ ที่กรุงไคโร เน้นการฟื้นฟูความสัมพันธ์กับโลกมุสลิม โดย Obama เน้นความตั้งใจจริงและเจตนารมณ์ที่จะลดความขัดแย้งระหว่าง 2 อารยธรรม แต่ 2 ปีที่ผ่านมา ความพยายามของ Obama ก็ไม่ประสบความสำเร็จ แต่ผลกลับออกมาในทางตรงกันข้าม ในการสำรวจความคิดเห็นของชาวมุสลิมทั่วโลก จาก Pew Research Center เมื่อเร็วๆนี้ พบว่า ภาพลักษณ์ของสหรัฐฯ ในสายตาของชาวมุสลิมส่วนใหญ่ กลับเป็นลบมากขึ้น นอกจากนั้น ผลการสำรวจความเห็น ยังชี้ว่า ชาวมุสลิมส่วนใหญ่ไม่เชื่อว่า เหตุการณ์ 11 กันยาฯ เป็นฝีมือของชาวอาหรับหรือชาวมุสลิม ชาวมุสลิมส่วนใหญ่ เชื่อว่า ตะวันตกเป็นตัวการทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างตะวันตกกับโลกมุสลิมเสื่อมทรามลง (75% ของชาวตุรกี และ 72% ของชาวปากีสถาน เชื่อเช่นนั้น) นอกจากนั้น ชาวมุสลิมยังกล่าวหาตะวันตกว่า เป็นตัวการทำให้โลกมุสลิมประสบกับปัญหาและความยากจน นอกจากนี้ การที่สหรัฐฯสนับสนุนอิสราเอล ก็ได้รับการต่อต้านอย่างมากจากชาวมุสลิม

จากแนวโน้มกระแสความเชื่อและอุดมการณ์ดังกล่าวข้างต้น คือ การที่ชาวมุสลิมมองตะวันตกเป็นลบมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ตะวันตกก็มองอิสลามเป็นลบมากขึ้นเรื่อยๆ เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะแนวโน้มอุดมการณ์ขวาจัด ต่อต้านอิสลาม ในยุโรปและในสหรัฐฯที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จะทำให้ความขัดแย้งระหว่างตะวันตกกับอิสลาม ร้าวลึกมากขึ้น และการปะทะกันทางอารยธรรม ก็คงจะเป็นเรื่องสำคัญและเป็นอันตรายต่อโลกในอนาคต

clash of civilizationsการก่อการร้ายความขัดแย้งความรุนแรง
Share this

The Author drprapat

ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

More Posts Like This One

terrorism-guy-640x480

ภัยคุกคามสหรัฐ ปี 2016

February 19, 2016
0 Comments General

Leave A Comment Cancel reply

25 − 16 =

 
รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้บรรยายพิเศษในสถาบันต่างๆ อาทิ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันพระปกเกล้า มีงานเขียน งานวิจัย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และมีคอลัมน์ประจำ "กระบวนทรรศน์" ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์และคอลัมน์ประจำ "โลกทรรศน์" ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
  • หนังสือ "ยุทศาสตร์สหรัฐฯต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

  • หนังสือ "ประชาคมเอเชียตะวันออก"

  • หนังสือ "ประชาคมอาเซียน"

  • หนังสือ "สถานการณ์โลกปี 2553 และแนวโน้มปี 2554"

  • ปกนโยบายต่างประเทศ-USA-แก้-2557-07-28-at-3.05.01-PM

1/4

Calendar

January 2021
M T W T F S S
« Apr    
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031

Blog

drprapat-header-3

LINKS

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS) ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS)

Tags

AEC al-Qaeda APEC ARF ASEAN Clinton Donald Trump EAS EU eurozone FTA G-20 ISIS Obama the rise of China TPP UN UNSC WTO การก่อการร้าย การต่างประเทศของไทย การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ความขัดแย้ง ความขัดแย้งทะเลจีนใต้ ความมั่นคง จีน ตะวันออกกลาง ประชาคมอาเซียน ประเทศมหาอำนาจ พม่า ยุทธศาสตร์สหรัฐฯ รัสเซีย วิกฤต Eurozone สงคราม สงครามการค้า สหรัฐ สหรัฐอเมริกา สหรัฐฯ อัฟกานิสถาน อาเซียน อิหร่าน เกาหลีเหนือ เศรษฐกิจ เอเชีย ไทย