Logo
  • หน้าหลัก
  • ประวัติ
  • ผลงานวิชาการ
  • ผลงานอื่นๆ
    • หนังสือ
    • Powerpoint
    • สัมภาษณ์รายการต่างๆ
    • บทความอื่นๆ
  • Blog
  • Gallery ภาพส่วนตัว
  • ติดต่อ
Copyright, 2015 : drprapat.com - All rights reserved.
July 14, 2017
drprapat
บทความ
0

การศึกษาไทยในอาเซียน 4.0

PreviousNext
11151069_845732178837468_1719604658228314901_n

การศึกษาไทยในประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มุ่งส่งเสริมความร่วมมือในด้านการเมืองและความมั่นคงเพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้งโดยสันติวิธี

ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน เน้นการมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่างๆ ที่จะร่วมกันทำเพื่อสร้างความเข้าใจใจระบบสังคม วัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก ส่งเสริมพัฒนาการทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หลักการประชาธิปไตย การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การต่อต้านทุจริต การส่งเสริมหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล และส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกัน ในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชนที่ครอบคลุมในทุกด้าน ครอบคลุมความร่วมมือเพื่อเสริมความมั่นคงในรูปแบบเดิม ซึ่งหมายถึง มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการระงับข้อพิพาทโดยสันติ เพื่อป้องกันสงคราม และให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่กันโดยสงบสุขและไม่มีความหวาดระแวง นอกจากนี้ ยังขยายความร่วมมือเพื่อต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติ ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและจัดการภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ

อย่างไรก็ตาม

– คนไทยยังขาดความตระหนักรู้เกี่ยวกับความร่วมมือในด้านการเมืองและความมั่นคงอาเซียน โดยเฉพาะความร่วมมือในการส่งเสริมปกป้องสิทธิมนุษยชน ความร่วมมือในการพัฒนากลไกป้องกันและแก้ไขความขัดแย้ง และความร่วมมือในการจัดการปัญหาความมั่นคงในรูปแบบใหม่

– เยาวชนไทยยังขาดจิตสำนึกของความสำคัญของปัญหาด้านการเมืองความมั่นคง เช่น ปัญหาการคอรัปชั่น ปัญหาการค้ามนุษย์ ปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน

– การศึกษาของไทยยังขาดหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการเมืองและความมั่นคงของอาเซียน ซึ่งรวมถึงหลักสูตรด้านสิทธิมนุษยชน

– นักธุรกิจไทยยังขาดจิตสำนึกและความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนและปัญหาความมั่นคงในรูปแบบใหม่ในบริบทอาเซียนที่จะกระทบต่อการทำธุรกิจ

– ในเรื่องของการต่อต้านคอรัปชั่น ซึ่งเป็นประเด็นหนึ่งในความร่วมมือด้านการเมืองความมั่นคงอาเซียน ไทยจะต้องมีนโยบายการศึกษาแห่งชาติฉบับใหม่ ที่จะสร้างผู้เรียนด้วยการปลูกฝังค่านิยมใหม่ในเรื่องของการต่อต้านคอรัปชั่น

– เรื่องการค้ามนุษย์เป็นปัญหาสำคัญมาก ระบบการศึกษาไทยจะต้องส่งเสริมและปลูกฝังเด็กไทยรุ่นใหม่ไม่ให้ยอมรับเรื่องเหล่านี้ และมีจิตสำนึกในความเท่าเทียมกันของมนุษย์

– ประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน ด้านประชาธิปไตย ด้านความมั่นคงใหม่ เช่น การค้ามนุษย์ ยาเสพติด เป็นเรื่องสำคัญในการอยู่ร่วมกันในประชาคมอาเซียน จำเป็นต้องมีแนวทางการปลูกฝังบุคลากรของชาติเพื่อให้เข้าใจถึงหลักการ ประเด็นปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ โดยเฉพาะการปลูกฝังเพื่อเข้าไปทำงานให้หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาคราชการและเอกชน ซึ่งไม่สามารถหนีจากบริบทอาเซียนไปได้ในอนาคต

– ในอนาคต ทุกกระทรวงมีความเกี่ยวข้องกับประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน เพราะฉะนั้น แผนการศึกษาในอนาคตจะต้องมองว่า จะต้องผลิตคนอย่างไร ที่จะเข้าไปในระบบราชการและสามารถทำงานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนได้ จะผลิตกำลังคนขึ้นมาใหม่อย่างไร เพื่อรองรับต่อความต้องการของประเทศในอนาคต ที่ต้องการข้าราชการบุคลากรภาครัฐ ที่รู้เรื่องประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

การศึกษาไทยในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีเป้าหมายหลักที่ประเทศสมาชิกได้ร่วมกันพัฒนาการจัดตั้งตลาดเดียวและฐานการผลิตเดียวของอาเซียน โดยจะมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ การไหลเวียนอย่างเสรีของสินค้า การไหลเวียนอย่างเสรีของบริการ การไหลเวียนอย่างเสรีของการลงทุน การไหลเวียนที่มีความเสรีมากขึ้นสำหรับเงินทุน และการไหลเวียนเสรีสำหรับแรงงานมีฝีมือ

ไทยจะต้องเตรียมผลิตคนรุ่นใหม่ให้พร้อมที่จะทำธุรกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน เข้าใจประเทศเพื่อนบ้านเพื่อจะได้ทำธุรกิจได้อย่างราบรื่น และจะต้องผลิตคนรุ่นใหม่ขึ้นมาที่พร้อมไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน พร้อมที่จะเข้าใจขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศเพื่อนบ้าน ทำงานกับคนในประเทศเพื่อนบ้านได้อย่างราบรื่น อันนี้เป็นโจทย์ใหญ่ในเรื่องของการศึกษาว่า เราจะผลิตคนอย่างไร ที่พร้อมให้ไทยสามารถที่จะไปทำธุรกิจการค้าการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้านได้

อย่างไรก็ตาม

– ความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษของไทยยังมีข้อจำกัด จะส่งผลให้เกิดความยุ่งยากในการพัฒนาไปสู่ประชาคมอาเซียนได้ในอนาคต

– หลักสูตรการเรียนการสอนของไทยยังไม่มีประสิทธิภาพ ในการเพิ่มขีดความสามารถของผู้เรียนให้สามารถแข่งขันในประชาคมอาเซียนได้

– สถานศึกษาของไทยยังไม่มีความเป็นสากลและไม่สามารถแข่งขันในกลไกตลาดของอาเซียนได้

– นักเรียนของไทยยังขาดการปรับตัวให้พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของประชาคมอาเซียน

 

          การศึกษาไทยในประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน

ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนมุ่งหวังให้เป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 5 ด้าน ได้แก่

(1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

(2) การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม

(3) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม

(4) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

(5) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน

 

อย่างไรก็ตาม

– ระบบการศึกษาของไทยยังขาดการพัฒนาทักษะ สมรรถนะ และทัศนคติ ในความเป็นนานาชาติ และการทำงานแบบมืออาชีพ ให้กับ นักเรียน นักศึกษา เพื่อพร้อมทำงานในประชาคมอาเซียน

– ระบบการศึกษาไทยยังขาดหลักสูตรที่จำเป็นในการพัฒนาผู้เรียนให้มีภาวะผู้นำ เรียนรู้การทำงานร่วมกัน เข้าใจสังคมพหุวัฒนธรรม และสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก เพื่อพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนได้

– ประชาชนคนไทยยังขาดทักษะความรู้เกี่ยวกับความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรมของอาเซียน โดยเฉพาะเรื่องสวัสดิการสังคม สิทธิผู้ด้อยโอกาส การสร้างอัตลักษณ์ สิ่งแวดล้อม

– นักเรียนของไทยยังขาดจิตสำนึกและความรับผิดชอบ ในเรื่องสวัสดิการสังคม ปกป้องสิทธิผู้ด้อยโอกาส และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในบริบทของประชาคมอาเซียน

– ระบบการศึกษาไทยยังไม่มีมาตรการชัดเจน ในการสร้างอัตลักษณ์อาเซียน ให้เกิดขึ้นกับนักเรียนและประชาชน

– ระบบการศึกษาไทยยังขาดการทำให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อประเทศเพื่อนบ้าน และทักษะด้านภาษาอังกฤษ และภาษาประเทศสมาชิกอาเซียน

– ระบบการศึกษาไทยยังขาดการพัฒนาศักยภาพและทักษะที่จำเป็น ในการประกอบอาชีพของบัณฑิตเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

 

การศึกษาไทยในอาเซียน 4.0

ส่วนการขับเคลื่อนอาเซียน 4.0 เป็นการขับเคลื่อนจากความร่วมมือกันระหว่าง 10 ประเทศสมาชิกของอาเซียน ที่จะเปลี่ยนจากอาเซียน 3.0 เป็นอาเซียน 4.0 โดยแผนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2025 หรือ AEC Blueprint 2025 ได้เน้นความร่วมมือทางด้านการเกษตร สุขภาพ ดิจิทัล ภาคบริการ การพัฒนา SME และแรงงาน โดยเน้นปัจจัย R&D วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งนวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ในการขับเคลื่อนไปสู่อาเซียน 4.0

การเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปสู่ Thailand 4.0 จะเป็นการก้าวกระโดดที่สำคัญที่สุดครั้งหนึ่งของประเทศ และจะนำพาประเทศไทยไปสู่การเป็นประเทศร่ำรวยและพัฒนาแล้ว เช่นเดียวกัน การเปลี่ยนผ่านไปสู่อาเซียน 4.0 จะคู่ขนานกันกับ Thailand 4.0 ซึ่งไทยจะได้ประโยชน์อย่างมาก จากความร่วมมือในกรอบอาเซียนในด้านต่างๆ

รัฐบาลจึงจะต้องมียุทธศาสตร์ชัดเจน พร้อมผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางของอาเซียน 4.0 ผ่านการศึกษา เพื่อพัฒนาให้คนไทยก้าวไกลสู่อาเซียน 4.0 และผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของอาเซียน 4.0 ในอนาคตต่อไป

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 13 กรกฎาคม 2560

การศึกษาไทย
Share this

The Author drprapat

ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

0 Comments General

Leave A Comment Cancel reply

− 2 = 5

 
รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้บรรยายพิเศษในสถาบันต่างๆ อาทิ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันพระปกเกล้า มีงานเขียน งานวิจัย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และมีคอลัมน์ประจำ "กระบวนทรรศน์" ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์และคอลัมน์ประจำ "โลกทรรศน์" ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
  • หนังสือ "ยุทศาสตร์สหรัฐฯต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

  • หนังสือ "ประชาคมเอเชียตะวันออก"

  • หนังสือ "ประชาคมอาเซียน"

  • หนังสือ "สถานการณ์โลกปี 2553 และแนวโน้มปี 2554"

  • ปกนโยบายต่างประเทศ-USA-แก้-2557-07-28-at-3.05.01-PM

1/4

Calendar

January 2021
M T W T F S S
« Apr    
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031

Blog

drprapat-header-3

LINKS

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS) ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS)

Tags

AEC al-Qaeda APEC ARF ASEAN Clinton Donald Trump EAS EU eurozone FTA G-20 ISIS Obama the rise of China TPP UN UNSC WTO การก่อการร้าย การต่างประเทศของไทย การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ความขัดแย้ง ความขัดแย้งทะเลจีนใต้ ความมั่นคง จีน ตะวันออกกลาง ประชาคมอาเซียน ประเทศมหาอำนาจ พม่า ยุทธศาสตร์สหรัฐฯ รัสเซีย วิกฤต Eurozone สงคราม สงครามการค้า สหรัฐ สหรัฐอเมริกา สหรัฐฯ อัฟกานิสถาน อาเซียน อิหร่าน เกาหลีเหนือ เศรษฐกิจ เอเชีย ไทย