Logo
  • หน้าหลัก
  • ประวัติ
  • ผลงานวิชาการ
  • ผลงานอื่นๆ
    • หนังสือ
    • Powerpoint
    • สัมภาษณ์รายการต่างๆ
    • บทความอื่นๆ
  • Blog
  • Gallery ภาพส่วนตัว
  • ติดต่อ
Copyright, 2015 : drprapat.com - All rights reserved.
June 16, 2016
drprapat
บทความ
0

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ 2016 : ผลกระทบต่อโลก ผลกระทบต่อไทย (ตอนที่ 4)

PreviousNext
tong-thong-my 2016

คอลัมน์กระบวนทรรศน์ก่อนหน้านี้ ผมได้วิเคราะห์เกี่ยวกับการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในช่วงปลายปีนี้ไปแล้ว 3 ตอน  คอลัมน์ในวันนี้ จะเป็นตอนที่ 4 ซึ่งผมจะวิเคราะห์ ผลการสำรวจความคิดเห็นของชาวอเมริกัน ในด้านการต่างประเทศ ซึ่งมีหัวข้อการสำรวจว่า America’s Place in the World ที่จะมีนัยสำคัญยิ่ง ต่อการเลือกตั้งในครั้งนี้ โดย Pew Research Center ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของชาวอเมริกัน ซึ่งผมจะสรุปวิเคราะห์ดังนี้

นโยบายโดดเดี่ยวนิยม

ชาวอเมริกัน 57 % ต้องการให้สหรัฐจัดการกับปัญหาภายในประเทศ และมองว่า สหรัฐได้เข้าไปวุ่นวายกับปัญหาต่างๆของโลกมากเกินไป ซึ่งชาวอเมริกันที่สนับสนุนพรรค Republican กว่า 60 % บอกว่าสหรัฐควรจะให้ความสำคัญกับปัญหาภายในประเทศ

ความเชื่อดังกล่าวของชาวอเมริกันส่วนใหญ่ในขณะนี้ ก็เข้าทาง Donald Trump ซึ่ง Trump ก็เหมือนจะรู้ใจคนอเมริกัน จุดยืนต่างๆของ Trump ดูจะไปในทิศทางเดียวกันกับจุดยืนและความคิดเห็นของคนอเมริกันส่วนใหญ่ในขณะนี้

ในเรื่องที่เกี่ยวกับนโยบายโดดเดี่ยวนิยมก็เช่นเดียวกัน ถือเป็นแนวคิดหลักของ Trump ที่ต้องการโดดเดี่ยวอมริกาออกจากสังคมโลกและเศรษฐกิจโลก คนอเมริกันส่วนใหญ่ขณะนี้ก็คิดแบบนี้

เศรษฐกิจโลก

ผลการสำรวจความคิดเห็นของชาวอเมริกันโดย Pew Research Center ชี้ให้เห็นว่า ครึ่งหนึ่งของชาวอเมริกันเห็นว่า การที่สหรัฐปฎิสัมพันธ์กับเศรษฐกิจโลกเป็นสิ่งเลวร้าย เพราะทำให้ค่าจ้างคนอเมริกันตกต่ำลง และทำให้คนอเมริกันตกงาน

55 % ของชาวอเมริกันที่สนับสนุนพรรค Republican มองการปฎิสัมพันธ์กับเศรษฐกิจโลกเป็นลบ ในจำนวนนี้ 65 % ของผู้ที่สนับสนุน Trump ก็มองเช่นนี้  ในขณะที่กลุ่มที่สนับสนุน Hillary Clinton มองการปฎิสัมพันธ์กับเศรษฐกิจโลก และสังคมโลกเป็นบวก และเป็นสิ่งที่ดี

ชาวอเมริกันที่สนับสนุน Trump เกือบ 70 % ต่อต้านการนำเข้าสินค้าจากประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งคนกลุ่มนี้มองว่า สินค้าราคาถูกจากประเทศยากจน ทำให้โรงงานในอเมริกาต้องปิดกิจการและคนอเมริกันต้องตกงานเป็นจำนวนกว่า 10 ล้านคน

แนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่ตรงกับจุดยืนของ Trump 100 % เลย เพราะTrump ต่อต้าน FTA ต่อต้าน TPP โดยมองว่า FTA ทำให้คนอเมริกันตกงาน และ Trump ก็ประกาศว่า จะลงโทษประเทศต่างๆ รวมทั้งบริษัทสหรัฐที่ย้ายโรงงานไปประเทศอื่น Trump มีนโยบายสุดโต่งถึงขั้นที่จะลงโทษจีนที่ส่งสินค้าราคาถูกมาขาย โดย Trump อ้างว่าสินค้าจีนทำให้โรงงานในอเมริกากว่า 5 หมื่นแห่งต้องปิดกิจการ และทำให้คนอเมริกันตกงานกว่า 10 ล้านคน

Making America Great Again

          ผลการสำรวจความคิดเห็นของชาวอเมริกันพบว่า เกือบ 50 % ของชาวอเมริกันคิดว่า ประเทศสหรัฐกำลังตกต่ำลง มีอำนาจน้อยลง และไม่ได้เป็นผู้นำโลกที่สำคัญอย่างในอดีต

ซึ่งความคิดนี้ก็เข้าทาง Trump อีก เพราะ Trump ถือเป็น theme ของการหาเสียงคือ Making America Great Again โดยเขาจะทำให้อเมริกากลับมายื่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง เหมือนกับ Trump อ่านใจคนอเมริกันออกว่า สหรัฐกำลังตกต่ำ เสื่อมถอยอำนาจ แต่ Trump ก็โจมตีว่า สาเหตุที่สหรัฐตกต่ำก็เพราะการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาดของพรรค Democrat และสร้างแพะรับบาปโดยมุ่งเป้าไปที่ต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็น แรงงานเถื่อน ที่มาแย่งงานคนอเมริกัน และทำให้เศรษฐกิจสังคมอเมริกาเสื่อมถอย และกล่าวหาว่าจีน คือต้นตอของปัญหาต่างๆของอเมริกา

ภัยคุกคาม

          ผลการสำรวจความคิดของคนชาวอเมริกันพบว่า 80 % บอกว่า กลุ่มก่อการร้าย ISIS เป็นภัยคุกคามอันดับ 1 ของสหรัฐ และ 74 % ที่สนับสนุนพรรค Republican มองว่า จะต้องใช้กำลังทางทหารเพื่อบดขยี้ ISIS แต่ก็มองว่า รัฐบาล Obama ดำเนินมาตรการทางทหารไม่เพียงพอที่จะบดขยี้ ISIS ได้

กว่า 70 % มองว่า ผู้ลี้ภัยที่มาจาก อิรัก และซีเรีย รวมทั้งแรงงานเถื่อน เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงและความมั่งคั่งของสหรัฐเป็นอันดับ 2 โดย 85 % ของชาวอเมริกันที่สนับสนุน Trump มองว่า ผู้ลี้ภัยเป็นภัยคุกคามที่สำคัญอย่างยิ่งต่อสหรัฐ

ส่วนภัยคุกคามอันดับ 3 ในสายตาของชาวอเมริกันกว่า 50 % คือจีน ที่กำลังผงาดขึ้นมาเป็นคู่แข่ง เป็นภัยคุกคามสำคัญยิ่งต่อสหรัฐ

ความเชื่อของชาวอเมริกันดังกล่าวข้างต้น ที่มองโลกในแง่ร้ายมากขึ้นเรื่อยๆ ก็เข้าทาง Trump อีก เพราะ Trump เองก็คิดเช่นนี้เหมือนกัน ดังนั้น ทุกสิ่งทุกอย่างที่ Trump เสนอ จึงทำให้ชาวอเมริกันส่วนใหญ่เห็นด้วย

ซึ่งหากเป็นเช่นนี้ ก็จะเป็นตัวแปรสำคัญยิ่ง ที่จะทำให้ Trump ได้เปรียบ Clinton ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในครั้งนี้ เพราะดูเหมือนกับว่า สิ่งที่ Trump คิดและเสนอ ตรงใจชาวอเมริกัน ในขณะที่สิ่งที่ Clinton คิดและเสนอ คนอเมริกันส่วนใหญ่กลับไม่เห็นด้วย

อย่างเช่นในกรณี เรื่องภาวะโลกร้อน พรรค Democrat และ Clinton และชาวอเมริกันที่สนับสนุนพรรค Democrat ถึง 77 % มองว่า ปัญหาภาวะโลกร้อนเป็นภัยคุกคามอับดับหนึ่งของสหรัฐ ในขณะที่ชาวอเมริกันที่สนับสนุน Trump และพรรค Republican กลับมองว่า ปัญหาภาวะโลกร้อนไม่ได้เป็นภัยคุกคาม และไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างใด

          ความเชื่อของ Trump ในเรื่อง ISIS และจุดยืนในการแก้ปัญหา โดยการเน้นการใช้กำลังบดขยี้ ISIS การห้ามชาวมุสลิมเข้าประเทศ และการสังหารครอบครัวของนักรบ ISIS ดูเหมือนกับเป็นข้อเสนอที่ชาวอเมริกัน จำนวนไม่น้อยเห็นด้วย เพราะตามที่ผมได้กล่าวข้างต้นว่า คนอเมริกันส่วนใหญ่มองว่า ISIS เป็นภัยคุกคามอันดับ 1

ส่วนเรื่องปัญหาผู้ลี้ภัยและแรงงานเถื่อน ที่คนอเมริกันมองว่า เป็นภัยคุกคามอับดับ 2 นั้น Trump ก็มีคำตอบให้ คือ เขาจะไม่อนุญาตให้ผู้ลี้ภัยเข้าประเทศ ไม่ให้ชาวมุสลิมเข้าประเทศ และจะสร้างกำแพงกั้นประเทศ ระหว่างสหรัฐและเม็กซิโก เพื่อป้องกันไม่ให้ชาวเม็กซิกันแอบเข้ามาทำงานในสหรัฐ

ส่วนภัยคุกคามอันดับ 3 ต่ออเมริกาคือจีน ซึ่ง Trump ก็มีคำตอบให้เช่นเดียวกัน ในการจัดการกับจีนโดยเขามีข้อเสนอมากมายที่จะเล่นงานจีนให้อย่หมัด ด้วยมาตรการลงโทษจีนในทุกรูปแบบ โดยเฉพาะมาตรการทางเศรษฐกิจและการขึ้นภาษีสินค้าจีน 45 %

ส่วนเรื่องปัญหาภาวะโลกร้อน ซึ่งชาวอเมริกันส่วนใหญ่มองว่า ไม่เป็นปัญหา Trump ก็มองว่าไม่เป็นปัญหาเหมือนกัน ซึ่งก็สวนทางกับแนวคิดของ Clinton และ Democrat ที่มองว่า เป็นปัญหาใหญ่ Trump ก็มีคำตอบสำหรับเรื่องนี้ โดยเขาเชื่อว่า ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับภาวะโลกร้อนจริง ซึ่งจีนเป็นคนสร้างเรื่องขึ้นมา ดังนั้นเมื่อใม่มีปัญหาก็ไม่ต้องแก้ปัญหา สหรัฐจะไม่ยอมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จีนเป็นคนปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันดับ 1 แต่กลับไม่ต้องทำอะไร

ในตอนท้ายของผลการสำรวจ ได้สรุปว่า เกือบครึ่งหนึ่งของชาวอเมริกันมองว่า พรรค Republican จะจัดการกับปัญหาภัยคุกคามจากการก่อการร้ายได้ดีกว่าพรรค Democrat และเกือบครึ่งหนึ่งของชาวอเมริกันก็มองว่า พรรค Republican น่าจะมีนโยบาลต่างประเทศและนโยบายการค้าที่ดีกว่าพรรค Democrat

กล่าวโดยสรุป จะเห็นได้ว่า ผลการสำรวจความคิดเห็นของชาวอเมริกันโดย Pew Research Center ในครั้งนี้ ชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ เชื่ออะไร และคิดอย่างไร ซึ่งความเชื่อของชาวอเมริกันส่วนใหญ่ ก็ไปตรงกับความเชื่อของ Trump หากดูจากผลการสำรวจชิ้นนี้ ก็จะพอบอกเราได้ว่า ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในครั้งนี้ ดูแล้ว Trump น่าจะได้เปรียบ Clinton อยู่ไม่น้อย

การเลือกตั้งประธานาธิดีสหรัฐ 2016
Share this

The Author drprapat

ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

More Posts Like This One

1478734703672

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ 2016 ผลกระทบต่อไทย

November 11, 2016
tong-thong-my 2016

รายการขยายข่าว tnn 24 วิเคราะห์ debate : Clinton vs. Trump

September 30, 2016
tong-thong-my 2016

การเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ 2016: ผลกระทบต่อโลก ผลกระทบต่อไทย (ตอนที่ 5)

August 24, 2016
0 Comments General

Leave A Comment Cancel reply

+ 16 = 25

 
รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้บรรยายพิเศษในสถาบันต่างๆ อาทิ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันพระปกเกล้า มีงานเขียน งานวิจัย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และมีคอลัมน์ประจำ "กระบวนทรรศน์" ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์และคอลัมน์ประจำ "โลกทรรศน์" ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
  • หนังสือ "ยุทศาสตร์สหรัฐฯต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

  • หนังสือ "ประชาคมเอเชียตะวันออก"

  • หนังสือ "ประชาคมอาเซียน"

  • หนังสือ "สถานการณ์โลกปี 2553 และแนวโน้มปี 2554"

  • ปกนโยบายต่างประเทศ-USA-แก้-2557-07-28-at-3.05.01-PM

1/4

Calendar

January 2021
M T W T F S S
« Apr    
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031

Blog

drprapat-header-3

LINKS

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS) ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS)

Tags

AEC al-Qaeda APEC ARF ASEAN Clinton Donald Trump EAS EU eurozone FTA G-20 ISIS Obama the rise of China TPP UN UNSC WTO การก่อการร้าย การต่างประเทศของไทย การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ความขัดแย้ง ความขัดแย้งทะเลจีนใต้ ความมั่นคง จีน ตะวันออกกลาง ประชาคมอาเซียน ประเทศมหาอำนาจ พม่า ยุทธศาสตร์สหรัฐฯ รัสเซีย วิกฤต Eurozone สงคราม สงครามการค้า สหรัฐ สหรัฐอเมริกา สหรัฐฯ อัฟกานิสถาน อาเซียน อิหร่าน เกาหลีเหนือ เศรษฐกิจ เอเชีย ไทย