Logo
  • หน้าหลัก
  • ประวัติ
  • ผลงานวิชาการ
  • ผลงานอื่นๆ
    • หนังสือ
    • Powerpoint
    • สัมภาษณ์รายการต่างๆ
    • บทความอื่นๆ
  • Blog
  • Gallery ภาพส่วนตัว
  • ติดต่อ
Copyright, 2015 : drprapat.com - All rights reserved.
February 2, 2016
drprapat
บทความ
0

ประชาคมอาเซียน : ไทยยังไม่พร้อม (ตอนที่ 1)

PreviousNext
asean flag_1

ไทยได้เข้าสู่ประชาคมอาเซียนไปแล้ว ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคมปีที่แล้ว คำถามที่ได้พูดถึงกันอย่างกว้างขวาง คือ ไทยพร้อมแล้วหรือยัง ในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในวันนี้ ผมจะตอบคำถามนี้ ดังนี้

ใครพร้อม ใครไม่พร้อม

เราถามว่า ไทยพร้อมแล้วหรือยัง ก่อนอื่น เราต้องแยกแยะว่า เราหมายถึงใคร ถ้าเราหมายถึง คนไทย ก็ต้องแยกแยะว่า คนไทยมีหลายประเภท คือมีคนรวย คนจน คนรวยพร้อมไหม คนจนพร้อมหรือยัง ผมตอบได้เลยว่า คนรวยน่าจะพร้อมกว่าคนจน

นอกจากคนรวยแล้ว ยังมีบริษัทขนาดใหญ่ บริษัทขนาดกลาง ขนาดย่อม ขนาดจิ๋ว หรือที่เรียกกันว่า SME ถามว่า บริษัทขนาดใหญ่พร้อมหรือยัง คำตอบคือพร้อม ถามว่า SME พร้อมหรือยัง คำตอบคือ ส่วนใหญ่ยังไม่พร้อม

ข้าราชการก็มีหลายระดับ มีข้าราชการระดับสูง ซึ่งมีทักษะ ประสบการณ์ องค์ความรู้ และมีข้าราชการระดับล่าง ข้าราชการชั้นผู้น้อย ส่วนใหญ่ ข้าราชการระดับสูงน่าจะพร้อมกว่า ข้าราชการระดับล่าง

โดยรวมแล้ว ถ้าเราจะแบ่งคนไทยเป็น elite หรือชนชั้นนำ กับประชาชน ชาวบ้าน ก็จะบอกได้เลยว่า ชนชั้นนำ หรือ elite พร้อม แต่ชาวบ้านไม่พร้อม นี่เป็นคำตอบในประเด็นแรก ที่ถามว่า ใครพร้อมและใครไม่พร้อม

คนไทยไม่รู้จักประชาคมอาเซียน

เราถามว่า ไทยพร้อมหรือยัง ประเด็นคือ เรื่องอะไรที่เราจะต้องเตรียมความพร้อม เรื่องที่หนึ่งคือ เราจะต้องรู้จักประชาคมอาเซียน เราต้องรู้ว่า ประชาคมอาเซียน มี 3 ประชาคมย่อย คือ ประชาคมการเมืองและความมั่นคง ประชาคมเศรษฐกิจ และประชาคมสังคมและวัฒนธรรม เรื่องนี้เป็นประเด็นแรก ที่เราจะต้องรู้ ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่ยังไม่รู้ ผมก็เลยบอกว่า เรายังไม่พร้อม เพราะเรายังไม่รู้จักประชาคมอาเซียน

ผมขอปูพื้นเรื่องประชาคมอาเซียน เพื่อที่จะนำไปสู่การวิเคราะห์ในประเด็นอื่น ๆ ต่อ ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มีความร่วมมือในด้านการเมืองและความมั่นคง โดยเฉพาะเรื่องสิทธิมนุษยชน ปัญหาความมั่นคงในรูปแบบใหม่ เช่น เรื่องค้ามนุษย์ ยาเสพติด ภัยพิบัติ การจัดการความขัดแย้ง

ส่วนประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC เป็นประชาคมย่อยที่สอง มีเป้าหมายทำให้อาเซียนเป็นตลาดเดียว และฐานการผลิตเดียว โดยมีการเปิดเสรี  5 ด้าน ได้แก่ การเปิดเสรีการค้าสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน และแรงงาน แต่ ณ ขณะนี้  AEC ยังไม่ใช่ตลาดเดียว และฐานการผลิตเดียว เพราะเรื่องการเปิดเสรีการค้าสินค้า ยังมีปัญหาเรื่อง NTB เรื่องการเปิดเสรีการค้าภาคบริการ ยังไปไม่ถึงไหน เรื่องการเปิดเสรีการลงทุน ก็ยังมีปัญหา ไม่ต้องพูดถึงเรื่องการเคลื่อนย้ายเงินทุนและแรงงาน

อีกเรื่องของ AEC ที่เราจะต้องรู้ แต่เรายังไม่รู้ คือเรื่องการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของอาเซียน เรื่อง ASEAN Connectivity หรือการเชื่อมโยงอาเซียน ต่อไป เราจะมีการเชื่อมโยงกัน โดยเฉพาะเรื่องการสร้างถนน สร้างทางรถไฟ เชื่อมระหว่างตะวันตกของอาเซียนไปตะวันออกของอาเซียน จากพม่าไปเวียดนาม เชื่อมจากเหนือลงใต้ จากจีนไปสิงคโปร์

การเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานของอาเซียน มีหลายเส้นทาง ทางรถไฟ มีทั้งเส้นจากคุน  หมิง ผ่านเวียดนาม ลงไปสิงคโปร์ อีกเส้นหนึ่ง จากคุนหมิง เข้าพม่า ลงสิงคโปร์ และเส้นที่สาม จากคุนหมิง มาเวียงจันทน์ ไทย และสิงคโปร์ ซึ่งเส้นที่สามนี้ เป็นเส้นใหม่ ที่ไทยกำลังจับมือกับจีนจะสร้างกันอยู่

ส่วนประชาคมย่อยที่สามคือ ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ซึ่งจะมีความร่วมมือ 5 ด้านด้วยกัน คือ การพัฒนามนุษย์ โดยเฉพาะความร่วมด้านการศึกษา สวัสดิการสังคม สิทธิผู้ด้อยโอกาส สิ่งแวดล้อม และการสร้างอัตลักษณ์อาเซียน

นี่คือเรื่องหลักๆ ของประชาคมอาเซียน ซึ่งเราจะต้องตระหนักรู้ว่า สิ่งเหล่านี้กำลังจะเกิดขึ้น และจะเปลี่ยนแปลงภูมิภาคอาเซียนครั้งใหญ่ ในอดีต เรื่องเหล่านี้ ไทยทำของเราอยู่คนเดียว ต่อไปในอนาคต 10 ประเทศ จับมือกัน ร่วมมือกันทำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการศึกษา เรื่องสวัสดิการสังคม การปกป้องสิทธิผู้ด้อยโอกาส สิ่งแวดล้อม ต่อไปจะมีมาตรฐานการศึกษาอาเซียน จะมีมาตรฐานสิ่งแวดล้อมอาเซียน

สิ่งเหล่านี้กำลังจะเกิดขึ้น ซึ่งคนไทยจะต้องรู้ คือเราต้องรู้จักประชาคมอาเซียน แต่คนไทยหลายคนยังไม่รู้จัก

คนไทยไม่รู้ถึงผลกระทบของประชาคมอาเซียนต่อไทย

อีกเรื่องที่เราจะต้องเตรียมความพร้อม เพื่อเข้าสู่ประชาคมอาเซียนคือ เราจะต้องรู้ถึงผลกระทบของประชาคมอาเซียนต่อไทย

ผลกระทบของประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนต่อไทย มีทั้งผลดีและผลเสีย ผลดีคือ ความร่วมมือในด้านต่าง ๆ จะทำใหไทยได้ประโยชน์ ในขณะเดียวกัน ก็มีผลเสีย เพราะเมื่อมีการไปมาหาสู่กันง่ายขึ้น สิ่งดีเข้ามาง่ายขึ้น สิ่งไม่ดีก็เข้ามาง่ายขึ้นเหมือนกัน ซึ่งอาจจะรวมถึง แรงงานเถื่อน ผู้ก่อการร้าย การค้ามนุษย์ และยาเสพติด ดังนั้น เมื่อเป็นประชาคมอาเซียนแล้ว ปัญหาเหล่านี้อาจจะเพิ่มมากขึ้น

ผลกระทบเหล่านี้เราต้องรู้ เราต้องเตรียมมาตรการรองรับ มาตรการเยียวยา มาตรการแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น จากการเป็นประชาคมอาเซียน แต่เรายังไม่ได้ทำการบ้าน เรายังไม่รู้ถึงผลกระทบของประชาคมอาเซียนต่อไทย เรามักจะแค่คิดในใจว่า จะเกิดปัญหาขึ้น แต่การศึกษาปัญหา และการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ ยังไม่มี แสดงให้เห็นว่า เรายังไม่พร้อม เรายังไม่รู้เลยว่าจะได้อะไร จะเสียอะไร จากการเป็นประชาคมอาเซียน เรายังไม่รู้เลยว่า มีผลกระทบในเชิงบวกอย่างไร และมีผลกระทบในเชิงลบอย่างไร

(โปรดติดตามอ่านต่อ ตอนที่ 2 ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2559)

ประชาคมอาเซียน
Share this

The Author drprapat

ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

More Posts Like This One

รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี

ข้อเสนอยุทธศาสตร์ความมั่นคง 20 ปี (ตอนที่ 2)

April 20, 2017
11136941_10153234959011698_1785172453_n

ASEAN Festival @Parc Paragon

May 8, 2015
ASEAN-SUMMIT-OPENING

26th ASEAN Summit

April 30, 2015
0 Comments General

Leave A Comment Cancel reply

59 − = 54

 
รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้บรรยายพิเศษในสถาบันต่างๆ อาทิ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันพระปกเกล้า มีงานเขียน งานวิจัย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และมีคอลัมน์ประจำ "กระบวนทรรศน์" ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์และคอลัมน์ประจำ "โลกทรรศน์" ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
  • หนังสือ "ยุทศาสตร์สหรัฐฯต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

  • หนังสือ "ประชาคมเอเชียตะวันออก"

  • หนังสือ "ประชาคมอาเซียน"

  • หนังสือ "สถานการณ์โลกปี 2553 และแนวโน้มปี 2554"

  • ปกนโยบายต่างประเทศ-USA-แก้-2557-07-28-at-3.05.01-PM

1/4

Calendar

April 2021
M T W T F S S
« Apr    
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930  

Blog

drprapat-header-3

LINKS

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS) ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS)

Tags

AEC al-Qaeda APEC ARF ASEAN Clinton Donald Trump EAS EU eurozone FTA G-20 ISIS Obama the rise of China TPP UN UNSC WTO การก่อการร้าย การต่างประเทศของไทย การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ความขัดแย้ง ความขัดแย้งทะเลจีนใต้ ความมั่นคง จีน ตะวันออกกลาง ประชาคมอาเซียน ประเทศมหาอำนาจ พม่า ยุทธศาสตร์สหรัฐฯ รัสเซีย วิกฤต Eurozone สงคราม สงครามการค้า สหรัฐ สหรัฐอเมริกา สหรัฐฯ อัฟกานิสถาน อาเซียน อิหร่าน เกาหลีเหนือ เศรษฐกิจ เอเชีย ไทย