Logo
  • หน้าหลัก
  • ประวัติ
  • ผลงานวิชาการ
  • ผลงานอื่นๆ
    • หนังสือ
    • Powerpoint
    • สัมภาษณ์รายการต่างๆ
    • บทความอื่นๆ
  • Blog
  • Gallery ภาพส่วนตัว
  • ติดต่อ
Copyright, 2015 : drprapat.com - All rights reserved.
July 5, 2019
drprapat
บทความ
0

ประเมินผลการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 34

PreviousNext
0fa2b550def061b220e70a990f603e8f-1024x683

  ในช่วงปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ได้มีการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 34 ขึ้น ที่กรุงเทพฯ เรื่องสำคัญๆที่เป็นผลจากการประชุมครั้งนี้ มีดังนี้
ผลการประชุม

  • RCEP
  ที่ประชุมได้วิเคราะห์ถึงสถานการณ์เศรษฐกิจโลกในขณะนี้ว่า มีความไม่แน่นอนเป็นอย่างมาก จึงจำเป็นอย่างยิ่ง ที่อาเซียนจะต้องรีบผลักดันให้การเจรจา FTA อาเซียน+6 หรือ RCEP บรรลุข้อตกลงให้ได้ภายในปีนี้ เพื่อจะกระตุ้นให้มีการค้าขายในภูมิภาคมากขึ้น และส่งเสริมการเป็นศูนย์กลางของอาเซียนในสถาปัตยกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาค

  • ลัทธิปกป้องการค้าโลก
  อาเซียนมีความกังวลต่อแนวโน้มการกีดกันทางการค้า และกระแสต่อต้านโลกาภิวัฒน์ ที่เป็นภัยคุกคามต่อเศรษฐกิจโลก และระบบการค้าโลก อาเซียนจึงได้ตอกย้ำความมุ่งมั่น ที่จะรักษาระบบการค้าโลกที่เป็นเสรี และสนับสนุนการปฏิรูปองค์การการค้าโลกหรือ WTO ให้มีบทบาทในการแก้ไขปัญหาทางการค้า

  • ASEAN Connectivity
  ที่ประชุมได้กล่าวถึงความคืบหน้าในการจัดทำโครงการโครงสร้างพื้นฐานของอาเซียน (ASEAN infrastructure projects) ซึ่งจะนำเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 35 ในช่วงปลายปีนี้ อาเซียนได้ย้ำความสำคัญของการส่งเสริมการเชื่อมโยงโครงการโครงสร้างพื้นฐานของอาเซียน กับโครงการของประเทศอื่น ที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า connecting the connectivities

  •อาเซียน 4.0
  อีกเรื่องหนึ่งที่ประชุมสุดยอดอาเซียนได้ให้ความสำคัญคือ การเตรียมความพร้อมของอาเซียนสู่การ ปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 โดยขณะนี้ได้มีแผนปฏิบัติการด้านดิจิทัล ASEAN Innovation Roadmap และ ปฏิญญาอาเซียนเรื่องการปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อุตสาหกรรม 4.0

  • ASEAN Outlook on the Indo-Pacific
  สำหรับในด้านความสัมพันธ์อาเซียนกับประเทศนอกภูมิภาค ได้มีการจัดทำเอกสารสำคัญ ประกาศ ท่าทีอาเซียนต่อ แนวคิด Indo-Pacific ที่ใช้ชื่อว่า ASEAN Outlook on the Indo-Pacific ตอกย้ำหลักการ สำคัญว่า อาเซียนตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างภูมิภาคเอเซีย-แปซิฟิก และภูมิภาคมหาสมุทรอินเดีย หรือที่เรียกว่า Indo-Pacific ดังนั้น อาเซียนจะต้องมีบทบาทนำ ในการพัฒนาสถาปัตยกรรมในภูมิภาค Indo-Pacific และอาเซียนจะต้องเป็นศูนย์กลางหรือแกนกลาง (ASEAN centrality) ในการส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาค โดยใช้กลไกของอาเซียนเป็นกลไกหลักหารือความร่วมมือ Indo-Pacific ซึ่งกลไกสำคัญคือ East Asia Summit (EAS)
  สำหรับสาขาความร่วมมือที่สำคัญมีอยู่ 2 ด้าน คือความร่วมมือทางทะเล (maritime cooperation) และความร่วมมือในการเชื่อมโยง (connectivity) โดยเน้นหลักการ connecting the connectivities อาเซียน เสนอว่า โครงการโครงสร้างพื้นฐานใน Indo-Pacific ซึ่งมีอยู่มากมายหลายโครงการ ควรจะส่งเสริมเกื้อกูล กัน โดยเฉพาะกับแผนแม่บทการเชื่อมโยงอาเซียน (Master Plan on ASEAN Connectivity: MPAC)

  บทวิเคราะห์และประเมิน
  • ภาพรวม
  โดยภาพรวม ถือได้ว่า การประชุมสุดยอดครั้งนี้ ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง ที่ได้มี ความพยายามเดินหน้าสานต่อความร่วมมือของอาเซียนในทุกๆด้าน ทั้งด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ และสังคมวัฒนธรรม และสำหรับไฮไลท์ของการประชุมครั้งนี้ ถือเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงคือ การจัดทำเอกสาร ASEAN Outlook on the Indo-Pacific
  อย่างไรก็ตาม ความล้มเหลวของการประชุมในครั้งนี้คือ ไทยในฐานะประธานอาเซียนน่าจะผลักดันข้อเสนอ ข้อริเริ่ม อะไรหลายๆอย่าง มากกว่าผลการประชุมที่ออกมา ดูแล้วยังไม่มีข้อเสนอและความคิดริเริ่มของไทยที่เป็นลักษณะ ก้าวสำคัญ big step หรือเป็น ความคิดริเริ่มที่จะเปลี่ยนศักราชใหม่ของอาเซียน หรือที่เรียกว่า bold initiative
โดยรวม ถ้าจะให้เกรด ผลงานการประชุมในครั้งนี้ ก็คงจะได้แค่เกรด B

  • ลัทธิปกป้องการค้าโลก
  แม้ว่าการประชุมในครั้งนี้จะมีการพูดถึงเรื่องนี้อยู่บ้าง และมีการสนับสนุนการปฏิรูป WTO แต่ผม มองว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ ที่ไทยและอาเซียนควรจะร่วมมือกันอย่างเต็มที่ เพื่อต่อต้านแนวโน้ม มาตรการกีดกันการค้าโลกและสงครามการค้าโลก โดยน่าจะมีการจัดทำเอกสารของอาเซียนในรูปแบบ ของปฏิญญา หรือแผนปฏิบัติการ โดยเน้นการผลักดันให้มีบูรณาการทางเศรษฐกิจของอาเซียนอย่างจริงจัง เพื่อส่งเสริมให้มีการค้าและการลงทุนระหว่างอาเซียนมากขึ้น และลดการพึ่งพิงตลาดตะวันตกและตลาดจีน

  • อาเซียน 4.0
  แม้ว่าจะมีการกล่าวถึงความร่วมมือในด้านนี้ แต่ผมมองว่า ไทยควรผลักดันให้มีการจัดทำเอกสาร อาเซียน 4.0 ในรูปของ vision statement หรือ blueprint ที่เป็น package เดียว ที่รวมเรื่อง 4.0 ทุกเรื่อง ใน ลักษณะยุทธศาสตร์ Thailand 4.0

  • Extra-ASEAN
  สำหรับในมิติความสัมพันธ์อาเซียนกับประเทศนอกภูมิภาคโดยเฉพาะกับมหาอำนาจนั้น การ ประชุมครั้งนี้ มีการจัดทำ ASEAN Outlook on the Indo-Pacific ซึ่งถือเป็นผลงานชิ้นโบว์แดง แต่ นอกจากเรื่องนี้แล้ว อาเซียนควรที่จะต้องทำอีกหลายเรื่อง ในความสัมพันธ์กับมหาอำนาจ
  เรื่องแรกคือ เรื่อง ASEAN centrality คือการที่อาเซียนจะเป็นศูนย์กลางหรือเป็นแกนกลางของ ภูมิภาค เป้าหมายนี้พูดกันมานานหลายปี แต่ยังไม่มีมาตรการอะไรเป็นรูปธรรม ความสัมพันธ์กับ มหาอำนาจ ในกรอบต่างๆ ทั้ง อาเซียน+1 อาเซียน+3 และ อาเซียน+8 อาเซียนก็ยังคุมเกมได้ไม่ดี มักจะมี ปัญหาในการมีท่าทีร่วมกัน ไม่สามารถพูดเป็นเสียงเดียวกันได้ ไทยในฐานะประธานอาเซียน จึงควร ผลักดันให้มีมาตรการที่เป็นรูปธรรม ที่จะทำให้อาเซียนเป็นแกนกลางของภูมิภาค
นอกจากนี้ ไทยควรดำริ ริเริ่มผลักดันให้อาเซียนมีความร่วมมือในมิติใหม่ๆ กับมหาอำนาจ โดยเน้นความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ความร่วมมือโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อถ่วงดุล BRI ของจีน และไทยก็ควรจะ ผลักดันความร่วมมืออาเซียนกับประเทศคู่เจรจา เพื่อประกาศจุดยืนร่วมกันในการต่อต้านลัทธิปกป้องการค้าโลกด้วย

  • ASEAN Outlook on the Indo-Pacific
  เอกสาร ASEAN Outlook on the Indo-Pacific ถือเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงในการประชุมสุดยอด อาเซียนในครั้งนี้ ซึ่งจะช่วยได้มากในการตอกย้ำ ASEAN centrality แต่ในเอกสารดังกล่าว เป็นเพียงการ กล่าวถึงหลักการกว้างๆ ยังไม่มีรายละเอียดความร่วมมือในกรอบ Indo-Pacific ที่เป็นรูปธรรม อย่างไรก็ ตาม ถือว่าเป็นก้าวแรกและก้าวสำคัญของยุทธศาสตร์อาเซียนในเรื่องนี้
  สำหรับก้าวต่อไปของอาเซียน ที่ผมอยากจะเสนอคือ การผลักดันความร่วมมือในด้าน connectivity ซึ่งในปัจจุบัน ในภูมิภาค Indo-Pacific มีโครงการโครงสร้างพื้นฐานอยู่หลายโครงการ อาเซียนมี Master Plan on ASEAN Connectivity (MPAC) จีนก็มี BRI ญี่ปุ่น สหรัฐฯ อินเดีย ก็เริ่มขยับที่จะมีโครงการโครงสร้างพื้นฐานมาแข่งกับจีน อาเซียนจึงควรเสนอ การจัดทำแผนแม่บทการเชื่อมโยง Indo-Pacific หรือ Master Plan on Indo-Pacific Connectivity เรียกย่อว่า MPIC โดย MPIC จะเป็นการต่อยอดออกไปจาก MPAC และ MPAC จะเป็นแกนกลางของ MPIC อาเซียนจะต้องเน้นถึงความจำเป็นที่จะต้องบูรณาการโครงการโครงสร้างพื้นฐาน ที่กระจัดกระจายอยู่ในภูมิภาค ให้เกิดการเกื้อกูลกัน หลีกเลี่ยงการทับซ้อนและการแข่งขันกัน โดยมีอาเซียนเป็นแกนกลาง
แผนแม่บทการเชื่อมโยง Indo-Pacific หรือ MPIC จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อไทย ในการที่ไทยจะผงาดขึ้นมาเป็น hub หรือการเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงของอาเซียน และเป็น hub ของการเชื่อมโยงภูมิภาค Indo-Pacific ด้วย

34th ASEAN summitasean summit
Share this

The Author drprapat

ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

More Posts Like This One

ASEAN-SUMMIT-OPENING

26th ASEAN Summit

April 30, 2015
asean summit

ASEAN Summit 2018

May 12, 2018
0 Comments General

Leave A Comment Cancel reply

11 − = 6

 
รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้บรรยายพิเศษในสถาบันต่างๆ อาทิ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันพระปกเกล้า มีงานเขียน งานวิจัย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และมีคอลัมน์ประจำ "กระบวนทรรศน์" ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์และคอลัมน์ประจำ "โลกทรรศน์" ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
  • หนังสือ "ยุทศาสตร์สหรัฐฯต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

  • หนังสือ "ประชาคมเอเชียตะวันออก"

  • หนังสือ "ประชาคมอาเซียน"

  • หนังสือ "สถานการณ์โลกปี 2553 และแนวโน้มปี 2554"

  • ปกนโยบายต่างประเทศ-USA-แก้-2557-07-28-at-3.05.01-PM

1/4

Calendar

January 2021
M T W T F S S
« Apr    
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031

Blog

drprapat-header-3

LINKS

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS) ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS)

Tags

AEC al-Qaeda APEC ARF ASEAN Clinton Donald Trump EAS EU eurozone FTA G-20 ISIS Obama the rise of China TPP UN UNSC WTO การก่อการร้าย การต่างประเทศของไทย การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ความขัดแย้ง ความขัดแย้งทะเลจีนใต้ ความมั่นคง จีน ตะวันออกกลาง ประชาคมอาเซียน ประเทศมหาอำนาจ พม่า ยุทธศาสตร์สหรัฐฯ รัสเซีย วิกฤต Eurozone สงคราม สงครามการค้า สหรัฐ สหรัฐอเมริกา สหรัฐฯ อัฟกานิสถาน อาเซียน อิหร่าน เกาหลีเหนือ เศรษฐกิจ เอเชีย ไทย