Logo
  • หน้าหลัก
  • ประวัติ
  • ผลงานวิชาการ
  • ผลงานอื่นๆ
    • หนังสือ
    • Powerpoint
    • สัมภาษณ์รายการต่างๆ
    • บทความอื่นๆ
  • Blog
  • Gallery ภาพส่วนตัว
  • ติดต่อ
Copyright, 2015 : drprapat.com - All rights reserved.
February 19, 2016
drprapat
บทความ
0

ภัยคุกคามสหรัฐ ปี 2016

PreviousNext
terrorism-guy-640x480

 

เมื่อเร็วๆนี้ สภาข่าวกรองแห่งชาติสหรัฐ ได้เผยแพร่เอกสารประจำปีวิเคราะห์ภัยคุมคามต่อสหรัฐในปี 2016 นี้ ซึ่งเอกสารมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Worldwide Threat Assessment คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในวันนี้ จะสรุปวิเคราะห์เอกสารดังกล่าว ดังนี้

            การก่อการร้าย

ภัยคุกคามที่สำคัญที่สุดต่อสหรัฐในปีนี้คือ ขบวนการก่อการร้ายสากล ซึ่งขณะนี้กลุ่มก่อการร้ายนิกายสุหนิ ได้เพิ่มบทบาทเป็นอย่างมาก อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ ในขณะเดียวกัน กลุ่มก่อการร้ายนิกายชิอ่ะห์ก็เพิ่มบทบาทเช่นเดียวกัน ทำให้เกิดแนวโน้มความขัดแย้งระหว่าง 2 นิกาย

กลุ่มก่อการร้าย ISIS ได้กลายเป็นภัยคุกคามที่สำคัญที่สุด และได้จัดตั้งรัฐอิสลาม หรือ caliphate  ในซีเรียและอิรัก สาขาของ ISIS แพร่ไปยังประเทศต่างๆทั่วโลก และ ISIS เพิ่มขีดความสามารถในการก่อวินาศกรรมไปทั่วโลก อุดมการณ์ของ ISIS ได้ปลุกระดมชาวมุสลิมในประเทศต่างๆ ให้เข้าร่วมขบวนการ ขณะนี้ มีนักรบต่างชาติที่เดินทางมาจากประเทศต่างๆ กว่า 100 ประเทศ เข้าร่วมกองกำลัง ISIS  มีจำนวนถึง 36,500 คน

สำหรับกลุ่มอัลกออิดะห์ ได้ขยายบทบาท แตกออกเป็นกลุ่มย่อยๆหลายกลุ่ม

– แม้ว่าบทบาทของอัลกออิดะห์ในอัฟกานิสถานและปากีสถานจะลดลง แต่ก็ยังเป็นภัยคุกคามต่อสหรัฐ – ในเยเมน กลุ่ม AQAP ได้ยึดพื้นที่เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะการยึดฐานทัพในจังหวัดที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ

– กลุ่มอัลกออิดะห์ ในซีเรีย ปากีสถาน อัฟกานิสถาน และตุรกี กำลังวางแผนโจมตีสหรัฐ

– กลุ่ม Al-Shabaab ซึ่งเป็นกลุ่มอัลกออิดะห์ในแอฟริกาตะวันออก ได้ทำสงครามกองโจร ทางตอนกลาง

และตอนใต้ของประเทศโซมาเลีย

 

ในระยะยาว ปัจจัยทั้งทางด้านประชากร เศรษฐกิจ การเมือง สังคม และเทคโนโลยี จะเป็นแรงบันดาลใจ ให้คนเข้าร่วมขบวนการหัวรุนแรงมากขึ้น ดังนั้น ภัยคุกคามจากการก่อการร้าย จะแพร่ขยายไปทั่วโลก และจะเป็นภัยคุกคามหลักต่อสหรัฐในปีนี้

อาวุธร้ายแรง

ภัยคุกคามต่อสหรัฐอีกเรื่องหนึ่งคือ ภัยคุกคามจากอาวุธร้ายแรง

การพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์และขีปนาวุธของเกาหลีเหนือ เป็นภัยคุกคามอย่างยิ่งต่อสหรัฐ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก

เกาหลีเหนือส่งออกขีปนาวุธให้กับอิหร่านและซีเรีย และเคยช่วยสร้างโรงงานนิวเคลียร์ให้กับซีเรีย

เมื่อต้นเดือนมกราคมปีนี้ เกาหลีเหนือได้ทดลองระเบิดไฮโดรเจนสำเร็จ

นอกจากนี้ เกาหลีเหนือได้พัฒนาขีปนาวุธพิสัยไกลยิงข้ามทวีป เป้าหมายระยะยาวคือ พัฒนาขีปนาวุธติดหัวรบนิวเคลียร์ ที่จะสามารถยิงข้ามทวีป ไปถึงสหรัฐได้

สำหรับอิหร่าน ก็เป็นภัยคุกคาม เพราะเป้าหมายของอิหร่านคือ การพัฒนาเทคโนโลยีนิวเคลียร์ ซึ่งในที่สุด จะทำให้อิหร่านสามารถพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ได้ นอกจากนี้ อิหร่านกำลังพัฒนาขีปนาวุธ เพื่อใช้โจมตีด้วยอาวุธร้ายแรงได้ และอิหร่านก็เป็นประเทศที่สะสมขีปนาวุธมากที่สุดในตะวันออกกลาง

ส่วนซีเรีย ก็มีปัญหาในการพัฒนาอาวุธเคมี รัฐบาลซีเรียได้ใช้อาวุธเคมีในการทำสงครามในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ขบวนการก่อการร้ายก็พยายามที่จะมีอาวุธร้ายแรง โดยเฉพาะอาวุธเคมี โดยได้มีการกล่าวอ้างว่ากลุ่ม ISIS ได้ใช้อาวุธเคมี ทำสงครามในอิรักและซีเรีย

Cyber

ความซับซ้อนของเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ทำให้ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของโครงสร้างพื้นฐานและของรัฐบาลสหรัฐเปราะบาง

ภัยคุกคามทางอินเตอร์เน็ตต่อสหรัฐ จะมาจากหลายประเทศ ดังนี้

– รัสเซีย มียุทธศาสตร์การทำสงครามในอินเตอร์เน็ต โดยมีเป้าหมายในการโจมตีโครงสร้างพื้นฐานและการโจรกรรมทางอินเตอร์เน็ต ปฏิบัติการทางอินเตอร์เน็ตของรัสเซีย มุ่งเป้าไปในการเจาะหาข้อมูลของสหรัฐ ที่เกี่ยวกับยูเครนและซีเรีย

– จีน มีการทำโจรกรรมทางอินเตอร์เน็ตต่อสหรัฐและต่อธุรกิจของสหรัฐ ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงของภาคเอกชนสหรัฐได้ระบุว่า มีความเคลื่อนไหวทางอินเตอร์เน็ตเพื่อโจรกรรมข้อมูลทางธุรกิจของสหรัฐ แต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่า รัฐบาลจีนอยู่เบื้องหลังหรือไม่

– นอกจากนี้ ยังมีอิหร่าน และเกาหลีเหนือ ที่ได้มีปฏิบัติการโจรกรรมทางอินเตอร์เน็ต รวมทั้งการโจมตีเพื่อทำลายเครือข่ายต่างๆของสหรัฐ

สำหรับขบวนการก่อการร้าย ได้ใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ต ในการระดมสมาชิก โฆษณาชวนเชื่อ ระดมทุน และประสานงานการก่อวินาศกรรม

รัสเซีย

สำหรับมหาอำนาจที่เป็นภัยคุกคามหลักต่อสหรัฐในปีนี้คือ รัสเซีย โดยรัสเซียได้มียุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศที่แข็งกร้าวมากขึ้น เห็นได้จากกรณียูเครนและซีเรีย

ในกรณีของความขัดแย้งในซีเรีย รัสเซียใช้ความขัดแย้งในซีเรีย เพื่อเรียกร้องการต่อต้าน ISIS และส่งเสริมการเป็นมหาอำนาจของรัสเซีย

แม้ว่าเศรษฐกิจของรัสเซียจะมีปัญหา แต่รัสเซียก็ยังมุ่งมั่นที่จะดำเนินนโยบายต่างประเทศที่แข็งกร้าวในปีนี้ โดยรัสเซียพร้อมที่จะใช้ปฏิบัติการทางทหารต่อประเทศเพื่อนบ้าน เป้าหมายของรัสเซียต่อยูเครนคือ การคงอิทธิพลของรัสเซีย และป้องกันไม่ให้ยูเครนไปใกล้ชิดกับตะวันตก

นอกจากนี้ รัสเซียพยายามขยายอิทธิพลเข้าไปใน Eurasia โดยบทเรียนจากยูเครน ทำให้รัสเซียต้องเพิ่มบทบาทในภูมิภาค เพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศอดีตสหภาพโซเวียตไปใกล้ชิดตะวันตก และเร่งการเปลี่ยนผ่านระบบโลกไปสู่ระบบหลายขั้วอำนาจ ซึ่งจะทำให้รัสเซียครอบงำ Eurasia ได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น เพื่อบรรลุเป้าหมายดังกล่าว รัสเซียต้องเดินหน้าต่อ ผลักดันบูรณาการทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยกดดันให้ประเทศต่างๆเข้าร่วมสหภาพเศรษฐกิจ Eurasia หรือ Eurasian Economic Union ซึ่งรัสเซียเป็นคนตั้ง

จีน

ส่วนจีนก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่เป็นภัยคุกคามต่อผลประโยชน์ของสหรัฐในภูมิภาค จีนยังคงเดินหน้าดำเนินนโยบายต่างประเทศ ในเชิงแข็งกร้าว โดยเฉพาะจุดยืนที่แข็งกร้าว ต่อความขัดแย้งในทะเลจีนใต้และทะเลจีนตะวันออก รวมทั้งความสัมพันธ์กับไต้หวัน และปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออก

อย่างไรก็ตาม ความตึงเครียดในภูมิภาค ยังคงจะมีอยู่ต่อไป โดยเฉพาะในทะเลจีนใต้

นอกจากนี้ จีนจะเดินหน้าต่อ ในการแปลงยุทธศาสตร์ One Belt One Road ไปสู่การปฏิบัติ เพื่อเพิ่มบทบาททางด้านเศรษฐกิจของจีนไปทั่วทวีปเอเชีย

สำหรับในระดับโลก จีนจะพยายามมีบทบาทมากขึ้นในระบบการเงินโลก เมื่อปลายปีที่แล้ว IMF ได้ยอมรับเงินหยวนเข้าไปอยู่ในตะกร้าเงินสกุลของ IMF ทำให้เงินหยวนมีบทบาทมากขึ้น และเมื่อเร็วๆนี้ จีนก็ได้จัดตั้งธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของเอเชีย หรือ AIIB ไปแล้ว

กล่าวโดยสรุป ในปีนี้ สหรัฐจะเผชิญกับภัยคุกคามหลายด้าน โดยสหรัฐตกอยู่ในสภาวะศึกหลายด้าน โดยเฉพาะการทำสงครามต่อต้าน ISIS ดำเนินยุทธศาสตร์ปิดล้อมรัสเซียในยุโรปและ Eurasia สำหรับในเอเชียก็ต้องดำเนินยุทธศาสตร์ปิดล้อมจีนด้วย

แต่ปีนี้ เป็นปีที่จะมีการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐ รัฐบาลโอบามาก็คงจะไม่กล้าทำอะไรมากมายนัก สถานการณ์จึงน่าจะออกมาว่า เมื่อปี 2016 สิ้นสุดลง ภัยคุกคามจาก ISIS ไม่น่าจะลดลง แต่กลับมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน อิทธิพลของจีนและรัสเซียก็น่าจะเพิ่มมากขึ้น เพราะการปิดล้อมจีนและรัสเซียของสหรัฐ ไม่น่าจะประสบความสำเร็จ

cr ภาพ : http://www.publicpostonline.net/2092

การก่อการร้ายการก่อการร้ายสากลการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ
Share this

The Author drprapat

ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

More Posts Like This One

ASEAN-ARF-SINGAPORE

ไทยกับการเป็นประธานอาเซียน ปี 2019 (ตอนที่ 1)

June 24, 2018
115536

การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐ ที่แคลิฟอร์เนีย

February 13, 2016
C9487D0D-9708-4E05-8F47-DA499CD583DC

ลิ้งก์สัมภาษณ์ เรื่องประชุมสุดยอดอาเซียน คนไทยได้อะไร

November 19, 2019
0 Comments General

Leave A Comment Cancel reply

− 5 = 1

 
รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้บรรยายพิเศษในสถาบันต่างๆ อาทิ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันพระปกเกล้า มีงานเขียน งานวิจัย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และมีคอลัมน์ประจำ "กระบวนทรรศน์" ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์และคอลัมน์ประจำ "โลกทรรศน์" ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
  • หนังสือ "ยุทศาสตร์สหรัฐฯต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

  • หนังสือ "ประชาคมเอเชียตะวันออก"

  • หนังสือ "ประชาคมอาเซียน"

  • หนังสือ "สถานการณ์โลกปี 2553 และแนวโน้มปี 2554"

  • ปกนโยบายต่างประเทศ-USA-แก้-2557-07-28-at-3.05.01-PM

1/4

Calendar

January 2021
M T W T F S S
« Apr    
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031

Blog

drprapat-header-3

LINKS

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS) ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS)

Tags

AEC al-Qaeda APEC ARF ASEAN Clinton Donald Trump EAS EU eurozone FTA G-20 ISIS Obama the rise of China TPP UN UNSC WTO การก่อการร้าย การต่างประเทศของไทย การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ความขัดแย้ง ความขัดแย้งทะเลจีนใต้ ความมั่นคง จีน ตะวันออกกลาง ประชาคมอาเซียน ประเทศมหาอำนาจ พม่า ยุทธศาสตร์สหรัฐฯ รัสเซีย วิกฤต Eurozone สงคราม สงครามการค้า สหรัฐ สหรัฐอเมริกา สหรัฐฯ อัฟกานิสถาน อาเซียน อิหร่าน เกาหลีเหนือ เศรษฐกิจ เอเชีย ไทย