Logo
  • หน้าหลัก
  • ประวัติ
  • ผลงานวิชาการ
  • ผลงานอื่นๆ
    • หนังสือ
    • Powerpoint
    • สัมภาษณ์รายการต่างๆ
    • บทความอื่นๆ
  • Blog
  • Gallery ภาพส่วนตัว
  • ติดต่อ
Copyright, 2015 : drprapat.com - All rights reserved.
September 19, 2011
drprapat
บทความ
0

ยุทธศาสตร์การค้าของสหรัฐฯ ปี 2011

PreviousNext

ตีพิมพ์ใน สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ฉบับวันศุกร์ที่ 9-วันพฤหัสบดีที่ 15 กันยายน 2554

เมื่อช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Fred Bergsten นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังของสหรัฐฯ ซึ่งอยู่เบื้องหลัง นโยบายการค้าของรัฐบาลสหรัฐฯ มาหลายยุค หลายสมัย ได้กล่าวสุนทรพจน์ ในหัวข้อ The United States in the World Economy เสนอแนะยุทธศาสตร์การค้าของสหรัฐฯ ซึ่งมีเนื้อหาสาระที่น่าสนใจ และมีความสำคัญ ที่จะกระทบมาถึงไทยด้วย คอลัมน์โลกทรรศน์ในวันนี้ จึงจะสรุป วิเคราะห์ สุนทรพจน์ดังกล่าว ดังนี้
การส่งออก

ยุทธศาสตร์การค้าที่ Bergsten เสนอนั้น เน้น 3 เรื่อง เรื่องแร
ก คือ ยุทธศาสตร์การส่งออก เรื่องที่ 2 คือ ยุทธศาสตร์เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญา และเรื่องที่ 3 คือ ยุทธศาสตร์การค้าภาคบริการ

สำหรับยุทธศาสตร์แรก คือ ยุทธศาสตร์การส่งออกนั้น Bergsten ได้วิเคราะห์ว่า เป็นยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญในการที่จะฟื้นฟูเศรษฐกิจของสหรัฐฯ แม้ว่าประธานาธิบดี Obama จะประกาศนโยบาย National Export Initiative โดยตั้งเป้าจะเพิ่มการส่งออก ให้เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ภายใน 5 ปี แต่ที่ผ่านมา รัฐบาล Obama ก็ดูจะไม่สามารถบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้ และเป้าที่ตั้งไว้ ก็ดูจะน้อยเกินไป โดย Bergsten ได้เสนอให้เพิ่มสัดส่วนการส่งออกต่อ GDP ของสหรัฐฯ จาก 10 % ในปี 2010 เพิ่มขึ้นเป็น 20% ในปี 2020

สำหรับประเทศกลุ่มเป้าหมายที่ยุทธศาสตร์การค้าของสหรัฐฯควรมุ่งเป้านั้น คือ กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ หรือมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่ แม้ว่า ประเทศคู่ค้าเดิมของสหรัฐฯ คือ ญี่ปุ่น ยุโรป และแคนาดา จะยังมีความสำคัญอยู่ แต่ยุทธศาสตร์การค้าใหม่ของสหรัฐฯควรพุ่งเป้าไปที่ มหาอำนาจใหม่ ที่เศรษฐกิจกำลังเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และเกินดุลการค้ากับสหรัฐฯมหาศาล
และอีกเหตุผลหนึ่งที่จะต้องมุ่งเป้าไปที่มหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่ คือ ประเทศเหล่านี้ มักมีมาตรการกีดกันทางการค้า และปกป้องตลาด ทำให้สหรัฐฯประสบความยากลำบากเป็นอย่างมากในการเจาะตลาดของประเทศเหล่านี้ Bergsten ระบุว่า จีน คือ ประเทศที่มีมาตรการปกป้องทางการค้ามากที่สุดในโลก โดยจีนและประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่หลายประเทศ ได้ละเมิดกฎพื้นฐานของเศรษฐกิจโลก ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการส่งออกของสหรัฐฯ นั่นก็คือ การแทรกแซงค่าเงิน ทำให้ค่าเงินหยวนต่ำกว่าความเป็นจริง

Bergsten มองว่า มาตราการดังกล่าวของจีน ถือเป็นมาตรการปกป้องทางการค้าที่รุนแรงที่สุด โดยการทำให้ค่าเงินต่ำกว่าความเป็นจริง ทำให้เกิดความได้เปรียบในเรื่องราคาสินค้าส่งออกของจีน Bergsten กล่าวหาจีนว่า รัฐบาลจีนได้แทรกแซงตลาดการแลกเปลี่ยนเงินตรา ตลอด 5 ปีที่ผ่านมา โดยรัฐบาลจีนได้ซื้อเงินดอลลาร์ 1,000 ล้านเหรียญทุกวัน ทั้งนี้ เพื่อจะทำให้เงินดอลลาร์แข็ง และค่าเงินหยวนอ่อน ผลก็คือ ทำให้ค่าเงินหยวนอ่อนกว่าความเป็นจริงถึง 20 % ซึ่งก็เปรียบเสมือนการที่รัฐบาลจีนอุดหนุนการส่งออก 20% และเปรียบเสมือน กับการเพิ่มภาษีให้กับสินค้าที่จีนนำเข้าถึง 20%

นอกจากนี้ จีนยังมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด และเกินดุลการค้ามหาศาล มีมูลค่าถึง 10% ของ GDP ของจีน ทำให้จีนสามารถมีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศกว่า 3 ล้านล้านเหรียญ

Bergsten วิเคราะห์ว่า การที่ค่าเงินดอลลาร์มีค่าสูงกว่าความเป็นจริงถึง 20% เป็นผลมาจากค่าเงินหยวนโดยตรง โดยหากสหรัฐฯสามารถบีบให้จีนเพิ่มค่าเงินหยวนได้ ก็จะส่งผลทำให้สหรัฐฯส่งออกได้เพิ่มขึ้นถึง 250,000 ล้านเหรียญ ต่อปี

ทรัพย์สินทางปัญญา

สำหรับยุทธศาสตร์ที่ 2 ที่ Bergsten เสนอ คือ ยุทธศาสตร์ของสหรัฐฯในการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นอีกเรื่องที่ขัดแย้งกันอย่างหนักในเวทีการค้าโลก

และก็เหมือนกับเรื่องการส่งออก จีนเป็นผู้ร้ายอันดับ 1 อีก ในเรื่องการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ รัฐบาลสหรัฐฯได้ประเมินว่า การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในจีน ทำให้บริษัทของสหรัฐฯสูญเสียรายได้ไปถึง 1 แสนล้านเหรียญต่อปี

การค้าภาคบริการ

สำหรับยุทธศาสตร์ที่ 3 ที่ Bergsten เสนอ คือ ยุทธศาสตร์การค้าภาคบริการ ซึ่งเขาให้ความสำคัญกับยุทธศาสตร์ในด้านนี้มาก ทั้งนี้ เพราะความสามารถในการแข่งขันของสหรัฐฯมีอยู่สูงมากในสาขานี้ โดยเฉพาะในเรื่องการให้บริการทางธุรกิจ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม บริการด้านกฎหมาย และการบัญชี ภาคบริการนี้ สหรัฐฯได้ดุลการค้าสูงถึง 150,000 ล้านเหรียญ

Bergsten เสนอว่า ยุทธศาสตร์ดังกล่าว จะต้องมุ่งเป้าไปที่การเปิดตลาดการส่งออกธุรกิจการค้าภาคบริการของสหรัฐฯ โดยประเทศเป้าหมาย คือ กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ และมหาอำนาจใหม่ โดยประเทศเหล่านี้ มีมาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกธุรกิจภาคบริการของสหรัฐฯ Bergsten จึงเสนอว่า สหรัฐฯจะต้องรณรงค์อย่างหนักในการเจรจาข้อตกลงการค้าใหม่ ที่จะเปิดตลาดของประเทศเหล่านี้ ต่อการส่งออกธุรกิจภาคบริการของสหรัฐฯ

โดยช่องทางของการจัดทำข้อตกลงทางการค้า ก็มีหลายช่องทาง คือ การเจรจาแบบทวิภาคี และการเจรจาแบบพหุภาคี ตัวอย่างเช่น กรอบการเจรจา Trans-Pacific Partnership หรือ TPP ซึ่งขณะนี้ มี 8 ประเทศแล้ว ที่เจรจา TPP กับสหรัฐฯ และในอนาคต TPP จะขยายกลายเป็นเขตการค้าเสรีเอเชียแปซิฟิก (Free Trade Area of the Asia-Pacific : FTAAP) ซึ่งจะเป็น FTA ในกรอบของเอเปค

การแปลงยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ

การ implement ยุทธศาสตร์ดังกล่าว ไม่ใช่เรื่องง่าย ดังนั้น สหรัฐฯจะต้องมี game plan ที่มีประสิทธิภาพ โดยจะต้องมีการสร้างพันธมิตรให้มากที่สุด โดยเฉพาะเพื่อกดดันจีน Bergsten วิเคราะห์ว่า จีนจะตอบสนองต่อแรงกดดันภายนอกในการปรับเปลี่ยนค่าเงินหยวน ก็ต่อเมื่อ ยุโรป ประเทศในเอเชีย และมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่ ประสานนโยบายและพูดเป็นเสียงเดียวกันในการกดดันจีน นอกจากนี้ สหรัฐฯอาจจะต้องใช้สถาบันเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะ WTO และ IMF ให้เป็นประโยชน์ โดยเฉพาะในการสร้างแนวร่วมเพื่อกดดันจีน

Bergsten มองว่า ยุทธศาสตร์ต่อจีนนั้น จะต้องใช้ทั้งไม้อ่อนและไม้แข็ง ที่ผ่านมา รัฐบาล Obama ใช้ไม้อ่อนมากเกินไป สหรัฐฯจึงควรเพิ่มการใช้ไม้แข็งกับจีน โดยกระทรวงการคลังควรระบุว่า จีนเป็นประเทศที่มีการแทรกแซงค่าเงิน หรือ currency manipulator

ผลกระทบต่อไทย

กล่วโดยสรุป ยุทธศาสตร์การค้าที่ Bergsten เสนอต่อรัฐบาลสหรัฐฯนั้น เน้น 3 ยุทธศาสตร์ใหญ่ คือ ยุทธศาสตร์การส่งออก ด้านทรัพย์สินทางปัญญา และด้านการค้าภาคบริการ ซึ่งแม้ว่า Bergsten จะมุ่งเป้าไปที่จีนเป็นหลัก แต่ประเทศเป้าหมายของ Bergsten นั้น มีมากกว่าจีน นั่นคือ กลุ่มประเทศเศรษฐกิจใหม่ และมหาอำนาจเศรษฐกิจใหม่ ซึ่งก็อาจมีไทยรวมอยู่ด้วย
ดังนั้น ไทยควรจะต้องตั้งรับให้ดีกับยุทธศาสตร์การค้าใหม่ของสหรัฐฯ ที่อาจมุ่งเป้ากดดันให้ไทยเปิดตลาดให้กับสินค้าของสหรัฐฯมากขึ้น

รวมทั้งการกดดันเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ไทยก็โดนกดดันอย่างหนัก โดยถูกปรับให้กลายเป็นประเทศที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ หรือ priority watch list

ส่วนเรื่องการเปิดตลาดการค้าภาคบริการ ก็อันตรายสำหรับไทย เราคงจำกันได้ว่า ในตอนที่เราเจรจา FTA กับสหรัฐฯ สหรัฐฯได้รุกหนักในเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม แรงกดดันก็ลดลง หลังจากที่รัฐบาล Obama ไม่นิยมเจรจาทวิภาคีอีกต่อไป การเจรจา FTA ไทย-สหรัฐฯ จึงสะดุดหยุดลง แต่รัฐบาล Obama ก็หันมาให้ ความสำคัญกับ TPP ในการเป็น FTA ตัวใหม่ในภูมิภาค และขณะนี้ ก็กดดันไทยอย่างหนักให้เข้าร่วม TPP ด้วย ไทยควรต้องระมัดระวัง และพิจารณาให้รอบคอบ ในการเข้าร่วม TPP ซึ่งผมมองว่า ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย จึงต้องชั่งน้ำหนักกันให้ดี โดยเฉพาะการค้าภาคบริการ ที่ไทยคงจะต้องเสียเปรียบอย่างแน่นอน

TPPยุทธศาสตร์สหรัฐฯเศรษฐกิจสหรัฐฯ
Share this

The Author drprapat

ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

More Posts Like This One

ภาพนิ่ง1

Thai farmers stage nationwide protests against Trans-Pacific Partnership

May 26, 2016
drprapat-1050x700-2

ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐ ปี 2015 (ตอนที่ 2)

March 5, 2015
ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐปี 2015

ความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐปี 2015 (ตอนที่ 1)

February 22, 2015
0 Comments General

Leave A Comment Cancel reply

4 + 4 =

 
รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้บรรยายพิเศษในสถาบันต่างๆ อาทิ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันพระปกเกล้า มีงานเขียน งานวิจัย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และมีคอลัมน์ประจำ "กระบวนทรรศน์" ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์และคอลัมน์ประจำ "โลกทรรศน์" ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
  • หนังสือ "ยุทศาสตร์สหรัฐฯต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

  • หนังสือ "ประชาคมเอเชียตะวันออก"

  • หนังสือ "ประชาคมอาเซียน"

  • หนังสือ "สถานการณ์โลกปี 2553 และแนวโน้มปี 2554"

  • ปกนโยบายต่างประเทศ-USA-แก้-2557-07-28-at-3.05.01-PM

1/4

Calendar

December 2019
M T W T F S S
« Nov    
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031  

Blog

drprapat-header-3

LINKS

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS) ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS)

Tags

AEC al-Qaeda APEC ARF ASEAN Clinton Donald Trump EAS EU eurozone FTA G-20 IMF ISIS Obama the rise of China TPP UN UNSC WTO การก่อการร้าย การต่างประเทศของไทย การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ความขัดแย้ง ความขัดแย้งทะเลจีนใต้ ความมั่นคง จีน ตะวันออกกลาง ประชาคมอาเซียน ประเทศมหาอำนาจ พม่า ยุทธศาสตร์สหรัฐฯ รัสเซีย วิกฤต Eurozone สงคราม สงครามการค้า สหรัฐอเมริกา สหรัฐฯ อัฟกานิสถาน อาเซียน อิหร่าน เกาหลีเหนือ เศรษฐกิจ เอเชีย ไทย