Logo
  • หน้าหลัก
  • ประวัติ
  • ผลงานวิชาการ
  • ผลงานอื่นๆ
    • หนังสือ
    • Powerpoint
    • สัมภาษณ์รายการต่างๆ
    • บทความอื่นๆ
  • Blog
  • Gallery ภาพส่วนตัว
  • ติดต่อ
Copyright, 2015 : drprapat.com - All rights reserved.
April 9, 2012
รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี
บทความ
0

ยุทธศาสตร์ทหารสหรัฐฯ ปี 2012

PreviousNext
คอลัมน์โลกปริทรรศน์
15 มกราคม 2555เมื่อเร็วๆนี้ กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้เผยแพร่เอกสารยุทธศาสตร์ทหารของสหรัฐฯล่าสุด ซึ่งเอกสารมีชื่อว่า “Sustaining U.S. Global Leadership : Priorities for 21st Century Defense” คอลัมน์โลกปริทรรศน์ในวันนี้ จะสรุป วิเคราะห์เอกสารดังกล่าว ดังนี้

ภาพรวมสภาวะแวดล้อมทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ รวมทั้งข้อจำกัดทางด้านการเงิน ทำให้ต้องมีการปรับยุทธศาสตร์การป้องกันประเทศของสหรัฐฯใหม่ โดยเปลี่ยนจากการเน้นความพร้อมในการทำสงครามในปัจจุบัน ไปเป็นการเตรียมการสำหรับสิ่งท้าทายในอนาคต และเน้นการปฏิรูป และข้อจำกัดในเรื่องงบประมาณ ทำให้ต้องมีการตัดลดงบประมาณด้านการป้องกันประเทศลง และทำให้สหรัฐฯจำเป็นต้องจัดลำดับความสำคัญของภัยคุกคาม และภูมิภาคที่มีความสำคัญต่อผลประโยชน์ทางด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ

การก่อการร้าย

การก่อการร้ายยังคงเป็นภัยคุกคามอันดับ 1 ของสหรัฐฯ แม้ว่าในปีที่แล้ว จะได้สังหาร Osama Bin Laden ได้ และมีการจับกุมและสังหารผู้นำ al-Qaeda เป็นจำนวนมาก ทำให้ al-Qaeda อ่อนแอลง อย่างไรก็ตาม กลุ่ม al-Qaeda และองค์กรสาขาแนวร่วมต่างๆ ยังคงมีบทบาทสำคัญในปากีสถาน อัฟกานิสถาน เยเมน และโซมาเลีย ดังนั้น ความรุนแรงจากกลุ่มก่อการร้ายจะยังคงเป็นภัยคุกคามต่อสหรัฐฯและพันธมิตร โดยภัยคุกคารมที่สำคัญจะอยู่ที่เอเชียใต้และตะวันออกกลาง และด้วยการแพร่กระจายของเทคโนโลยีอาวุธร้ายแรง จะทำให้กลุ่มก่อการร้ายมีศักยภาพที่จะโจมตีสหรัฐฯด้วยอาวุธร้ายแรงในอนาคต

ดังนั้น ยุทธศาสตร์สหรัฐฯในอนาคต คือ การเฝ้าระวังและติดตามภัยคุกคามจากกลุ่มก่อการร้ายทั่วโลก ร่วมมือกับพันธมิตร และโจมตีกลุ่มก่อการร้ายโดยตรง

เอเชีย

สำหรับในแง่ของภูมิภาค เอเชียได้กลายเป็นภูมิภาคที่มีลำดับความสำคัญที่สุดต่อผลประโยชน์ด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ ดังนั้น ยุทธศาสตร์ทหารของสหรัฐฯจะปรับเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียมากขึ้น โดยความสัมพันธ์กับพันธมิตรและหุ้นส่วนมีความสำคัญต่อเสถียรภาพในภูมิภาค นอกจากนี้ สหรัฐฯจะขยายเครือข่ายความร่วมมือกับหุ้นส่วนใหม่ๆทั่วภูมิภาค โดยเฉพาะกับอินเดีย สหรัฐฯก็กำลังจะปรับความสัมพันธ์ให้เป็นลักษณะ “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” ในอนาคต

การดำรงไว้ซึ่งสันติภาพ เสถียรภาพ การค้าเสรี และอิทธิพลของสหรัฐฯในภูมิภาค ขึ้นอยู่กับการถ่วงดุลอำนาจทางทหารในภูมิภาค ในระยะยาว การผงาดขึ้นมาของจีนเป็นมหาอำนาจในภูมิภาค จะกระทบต่อผลประโยชน์ ทั้งทางด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจของสหรัฐฯ การเพิ่มขึ้นของอำนาจทางทหารของจีน หากไม่มีความชัดเจนในแง่ของเป้าประสงค์ทางยุทธศาสตร์ ก็อาจนำไปสู่ความขัดแย้งในภูมิภาคได้ สหรัฐฯจึงจะต้องเพิ่มบทบาททางทหาร เพื่อปกป้องการเข้าถึงภูมิภาคและการปฏิบัติการอย่างเสรี เพื่อธำรงไว้ซึ่งพันธกรณีกับพันธมิตร และรักษากฎหมายระหว่างประเทศ

ผมมองว่า ยุทธศาตร์ทหารของสหรัฐฯในอนาคต จะให้ความสำคัญต่อเอเชียมากขึ้นเรื่อยๆ โดยปัจจัยสำคัญ คือ การผงาดขึ้นมาของจีน สหรัฐฯมองว่า จีนกำลังจะผงาดขึ้นมาเป็นคู่แข่ง และท้าทายความเป็นเจ้าของสหรัฐฯ นอกจากนี้ การผงาดขึ้นมาของเอเชีย หรือ the rise of Asia ก็จะทำให้เอเชียเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของโลก ซึ่งสหรัฐฯก็จะต้องใช้กำลังทางทหารในการปกป้องผลประโยชน์ ทั้งทางด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจในภูมิภาคของตนไว้

ตะวันออกกลาง

สำหรับภูมิภาคที่มีความสำคัญรองลงมาจากเอเชีย คือ ตะวันออกกลาง ยุทธศาสตร์ทหารของสหรัฐฯในตะวันออกกลาง จะเน้นการต่อต้านการก่อการร้าย และป้องกันการแพร่ขยายของอาวุธร้ายแรงและขีปนาวุธ ยุทธศาสตร์สหรัฐฯจะเน้นป้องกันไม่ให้อิหร่านพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์ ปกป้องความมั่นคงของอิสราเอล และหาหนทางสร้างสันติภาพที่สมบูรณ์เบ็ดเสร็จในตะวันออกกลาง การจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวข้างต้น สหรัฐฯจะต้องคงกองกำลังทหารในภูมิภาคต่อไป รวมทั้งสนับสนุนพันธมิตรในภูมิภาค

กล่าวโดยสรุป ยุทธศาสตร์ทหารใหม่ของสหรัฐฯในปี 2012 ยังคงให้ความสำคัญกับการก่อการร้ายเป็นภัยคุกคามอันดับ 1 ในแง่ของภูมิภาค เอเชียมีความสำคัญมากที่สุด รองลงมา คือ ตะวันออกกลาง ส่วนภูมิภาคอื่นๆมีความสำคัญลดลง โดยเฉพาะ ยุโรป อัฟริกา และลาตินอเมริกา

ยุทธศาสตร์ทหารสหรัฐฯ ปี 2012
Share this

The Author รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี

0 Comments General

Leave A Comment Cancel reply

2 + 4 =

 
รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้บรรยายพิเศษในสถาบันต่างๆ อาทิ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันพระปกเกล้า มีงานเขียน งานวิจัย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และมีคอลัมน์ประจำ "กระบวนทรรศน์" ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์และคอลัมน์ประจำ "โลกทรรศน์" ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
  • หนังสือ "ยุทศาสตร์สหรัฐฯต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

  • หนังสือ "ประชาคมเอเชียตะวันออก"

  • หนังสือ "ประชาคมอาเซียน"

  • หนังสือ "สถานการณ์โลกปี 2553 และแนวโน้มปี 2554"

  • ปกนโยบายต่างประเทศ-USA-แก้-2557-07-28-at-3.05.01-PM

1/4

Calendar

December 2019
M T W T F S S
« Nov    
 1
2345678
9101112131415
16171819202122
23242526272829
3031  

Blog

drprapat-header-3

LINKS

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS) ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS)

Tags

AEC al-Qaeda APEC ARF ASEAN Clinton Donald Trump EAS EU eurozone FTA G-20 IMF ISIS Obama the rise of China TPP UN UNSC WTO การก่อการร้าย การต่างประเทศของไทย การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ความขัดแย้ง ความขัดแย้งทะเลจีนใต้ ความมั่นคง จีน ตะวันออกกลาง ประชาคมอาเซียน ประเทศมหาอำนาจ พม่า ยุทธศาสตร์สหรัฐฯ รัสเซีย วิกฤต Eurozone สงคราม สงครามการค้า สหรัฐอเมริกา สหรัฐฯ อัฟกานิสถาน อาเซียน อิหร่าน เกาหลีเหนือ เศรษฐกิจ เอเชีย ไทย