Logo
  • หน้าหลัก
  • ประวัติ
  • ผลงานวิชาการ
  • ผลงานอื่นๆ
    • หนังสือ
    • Powerpoint
    • สัมภาษณ์รายการต่างๆ
    • บทความอื่นๆ
  • Blog
  • Gallery ภาพส่วนตัว
  • ติดต่อ
Copyright, 2015 : drprapat.com - All rights reserved.
October 11, 2018
drprapat
บทความ
0

ยุทธศาสตร์สหรัฐฯ ต่อจีน ปี 2018

PreviousNext
feature_20181004_post_event

          ยุทธศาสตร์สหรัฐฯ ต่อจีน ปี 2018

  เมื่อวันที่ 4 ตุลาคมที่ผ่านมา รองประธานาธิบดีสหรัฐฯ Mike Pence ได้กล่าวสุนทรพจน์ที่ Hudson Institute กรุงวอชิงตัน ดีซี ประกาศนโยบายของรัฐบาล Trump ล่าสุดต่อจีน ซึ่งเป็นนโยบายที่โจมตีจีนอย่างรุนแรงที่สุด อย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน นับตั้งแต่สงครามเย็นสิ้นสุดลง คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในวันนี้ จะสรุปและวิเคราะห์นโยบายดังกล่าว ดังนี้

          ด้านการทหาร
  Pence ได้กล่าวโจมตีจีนอย่างรุนแรงในทุก ๆ ด้าน ในด้านการทหาร Pence อ้างว่า ขณะนี้จีนใช้จ่ายทางทหารมากมายมหาศาล งบประมาณทหารของจีนเท่ากับงบประมาณทางทหารของเอเชียรวมกันทั้งทวีป จีนตั้งเป้าที่จะเสริมสร้างแสนยานุภาพทางทหาร เพื่อบั่นทอนความได้เปรียบทางทหารของสหรัฐฯ จีนต้องการที่จะผลักดันให้สหรัฐฯ ถอนทหารออกจากภูมิภาคเอเชีย และจะป้องกันไม่ให้สหรัฐฯ ให้ความช่วยเหลือทางทหารต่อพันธมิตรของสหรัฐฯในภูมิภาค

  ในยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติของ Trump ได้ระบุว่า ปัจจุบัน เป็นยุคสมัยแห่งการต่อสู้แข่งขัน ระหว่างมหาอำนาจ และมหาอำนาจพยายามที่จะขยายอิทธิพลของตน ทั้งในภูมิภาค และในโลก เพื่อแข่งกับความได้เปรียบทางภูมิรัฐศาสตร์ของสหรัฐฯ ในยุทธศาสตร์นี้ Trump ได้ประกาศยุทธศาสตร์ใหม่ต่อจีนที่มีลักษณะแข็งกร้าวอย่างไม่เคยปรากฎมาก่อน

  นอกจากนี้ Trump ยังได้พยายามเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับสหรัฐฯ ด้วยการที่จะทำให้กองทัพสหรัฐฯ แข่งแกร่งที่สุดในโลก ด้วยการเพิ่มงบประมาณทางการทหารกว่า 700,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

          ทางด้านเศรษฐกิจ

  Pence ได้โจมตีจีนอย่างรุนแรงว่า มีนโยบายการค้าที่ไม่เป็นธรรม และไม่เสรี มีมาตรการกีดกันทางการค้า บิดเบือนค่าเงินตรา บีบให้มีการถ่ายโอนเทคโนโลยี ขโมยทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายเหล่านี้ทำให้อุตสาหกรรมจีนเข้มแข็ง แต่ก็ทำให้สหรัฐฯ อ่อนแอลง สหรัฐฯขาดดุลการค้ากับจีนกว่า 400,000 ล้านเหรียญ

  นโยบาย “Made in China 2025” ของจีน ก็เป็นแผนการเข้าควบคุมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูงของโลกเกือบทั้งหมด (90%) จีนบีบให้บริษัทสหรัฐฯ ที่ทำธุรกิจในจีน ต้องเปิดเผยความลับทางการค้าให้กับจีน นอกจากนี้ จีนยังจะมีแผนขโมยเทคโนโลยีของสหรัฐฯ รวมทั้งเทคโนโลยีทางทหารด้วย

  เพื่อตอบโต้นโยบายของจีนดังกล่าว สหรัฐฯจึงได้ใช้มาตรการขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน มูลค่า 250,000 ล้านเหรียญ โดยมุ่งเน้นการขึ้นภาษีสินค้าอุตสาหกรรมที่เกี่ยวของกับเทคโนโลยีขั้นสูง ที่จีนต้องการจะครอบงำ และ Trump ก็ได้ประกาศว่า พร้อมที่จะขึ้นภาษีมากขึ้นอีกเป็นเท่าตัวคือ 500,000 ล้านเหรียญ หากจีนไม่ยอมที่จะเจรจาตกลงกับสหรัฐฯ ที่จะทำให้การค้ามีความเป็นธรรม

          ด้านประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน

  Pence ได้โจมตีจีนอย่างรุนแรงในเรื่องประชาธิปไตย และสิทธิมนุษยชน โดยบอกว่า หลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต สหรัฐฯ ก็หวังว่า จีนที่มีเสรีภาพจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน สหรัฐฯ จึงได้เปิดตลาดให้กับจีน และช่วยให้จีนได้เป็นสมาชิก WTO อย่างไรก็ตาม มาถึงปัจจุบัน ความคาดหวังดังกล่าวก็ไม่เกิดขึ้น เสรีภาพยังเป็นเป้าหมายที่ห่างไกลจากประชาชนชาวจีน แต่ในทางตรงกันข้าม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จีนกลับมีนโยบายที่สวนทางอย่างมาก โดยเป็นเผด็จการมากขึ้น ลิดรอนสิทธิเสรีภาพมากขึ้น กดขี่ประชาชนมากขึ้น

          การแทรกแซงการเมืองภายในของสหรัฐฯ

          นอกจากนี้ Pence ได้กล่าวหาจีนอย่างรุนแรงว่า กำลังพยายามที่จะขยายอิทธิพลและแทรกแซงนโยบายและการเมืองภายในของสหรัฐฯ และที่เลวร้ายที่สุดคือ การที่จีนกำลังพยายามแทรกแซงการเลือกตั้งกลางเทอมหรือ midterm election ในช่วงปลายปีนี้ รวมทั้งการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในปี 2020 โดยจีนไม่ต้องการให้ Trump เป็นประธานาธิบดีอีกต่อไป และต้องการประธานาธิบดีคนใหม่ที่ไม่ใช่ Trump

  จีนได้พยายามบีบนักธุรกิจของสหรัฐฯ ให้โจมตีนโยบายการค้าของ Trump นอกจากนี้ จีนยังบังคับให้บริษัทร่วมลงทุนของสหรัฐ ที่ทำธุรกิจในจีน จะต้องมีการจัดตั้งกลไกของพรรคคอมมิวนิสต์จีน ที่เรียกว่า party organization ภายในบริษัท ซึ่งจะทำให้พรรคคอมมิวนิสต์จีน มีสิทธิมีเสียงในโยบายของบริษัท จีนยังได้คุกคามบริษัทของสหรัฐ ที่มีนโยบายสนับสนุนไต้หวันและทิเบตด้วย

  จีนได้บีบให้บริษัทสร้างหนังใน Hollywood ซึ่งจีนได้เข้าไปถือหุ้นเป็นจำนวนมาก ที่จะต้องสร้างหนังที่จะไม่วิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลจีน

  นอกจากนี้ ในแวดวงการศึกษา ก็ได้มีการจัดตั้งสมาคมนักศึกษาจีนในสหรัฐฯ ซึ่งมีสาขาอยู่กว่า 150 สาขาทั่วสหรัฐฯ บทบาทคือ การควบคุมนักศึกษาจีนที่ศึกษาอยู่ในสหรัฐฯกว่า 400,000 คน ไม่ให้มีพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนจากนโยบายของพรรคคอมมิวนิสต์จีน

  จีนได้ให้เงินอุดหนุนมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย และนักวิชาการอเมริกัน เป็นจำนวนมาก ด้วยเงื่อนไขที่ว่า มหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย และนักวิชาการอเมริกันที่ได้เงินจากจีนไป จะต้องไม่นำเสนอเรื่องที่เป็นแง่ลบต่อพรรคคอมมิวนิสต์จีน

          บทวิเคราะห์

  สุนทรพจน์ของ Pence ตามที่ผมได้สรุปข้างต้น ถือเป็นการประกาศนโยบายของสหรัฐฯ ต่อจีน ที่มองจีนเป็นลบมากที่สุด อย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน นับตั้งแต่สงครามเย็นสิ้นสุดลง

  แม้ว่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลสหรัฐฯ ตั้งแต่ Clinton Bush จนมาถึง Obama จะมี grand strategy ต่อเอเชียเหมือนกัน คือยุทธศาสตร์การครองความเป็นเจ้าในภูมิภาค และมองว่า การผงาดขึ้นมาของจีน จะทำให้จีนกลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก ดังนั้น ในช่วงที่ผ่านมา สหรัฐฯจึงมียุทธศาสตร์การปิดล้อม และสกัดกั้นอิทธิพลของจีนแบบหลวมๆ โดยมีความพยายามที่จะดำเนินยุทธศาสตร์แบบคู่ขนานคือ ทั้งปฏิสัมพันธ์ และปิดล้อม

  ในสมัยรัฐบาล Obama ได้เดินหน้ายุทธศาตร์ในเชิงรุก ด้วยการตีสนิทกับอาเซียน เพื่อแข่งกับจีน และจุดชนวนปัญหาความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ ซึ่งการที่สหรัฐเข้ามายุ่งกับปัญหาทะเลจีนใต้ ก็เพื่อยุแหย่ให้จีนกับอาเซียนทะเลาะกัน และเปิดช่องให้สหรัฐฯ เข้ามามีบทบาททางทหารมากขึ้น แต่โดยภาพรวม ความสัมพันธ์จีนกับสหรัฐฯ แม้จะมีการแข่งขันกันมากขึ้น แต่ก็ถือว่าราบรื่น

  แต่ต่อมาเมื่อ Donald Trump ได้เดินหน้าหาเสียงเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี ในปี 2016 นโยบายหลักของ Trump ในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง คือ การประกาศว่า จีนเป็นผู้ร้าย และเป็นตัวการทำให้สหรัฐฯ ตกต่ำ Trump เสนอว่า จะทำให้สหรัฐกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งหนึ่ง (Make America Great Again) วิธีการที่จะทำให้สหรัฐกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้งคือ ต้องจัดการกับจีนทางเศรษฐกิจ

  Trump กล่าวหาจีนว่า สินค้าราคาถูกจากจีนทำให้โรงงานอเมริกันกว่า 50,000 แห่ง ต้องปิดตัวลง ทำให้คนอเมริกันกว่า 10 ล้านคนต้องตกงาน และจีนยังละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา บีบให้บริษัทของสหรัฐฯ ถ่ายโอนเทคโนโลยีให้กับจีน Trump บอกว่า หากเขาได้เป็นประธานาธิบดี เขาจะตอบโต้นโยบายการค้าที่ไม่เป็นธรรมของจีนทุกรูปแบบ ด้วยการลงโทษจีนโดยการขึ้นภาษีสินค้าจีน 45%

  มาถึงวันนี้ Trump ก็ได้ทำอย่างที่เขาพูด เขาได้ประกาศสงครามการค้ากับจีนไปแล้ว และได้ให้รองประธานาธิบดี Pence ประกาศนโยบายโจมตีจีนอย่างสุดโต่ง อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน

  ในอดีต เราเคยเชื่อว่า ความขัดแย้งระหว่างจีนกับสหรัฐฯ จะไม่ลุกลามบานปลาย เพราะจีนและสหรัฐฯมีความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจอย่างแนบแน่น แต่ปัจจุบัน ปัจจัยนี้อาจจะหายไปแล้ว เพราะจีนกับสหรัฐฯ กำลังขัดแย้งทางการค้ากันอย่างหนัก ปัจจัยทางเศรษฐกิจไม่สามารถเป็นปัจจัยป้องปรามความขัดแย้งได้อีกต่อไป บวกกับนโยบายขวาจัดสุดโต่งของ Trump ที่มองจีนเป็นศัตรูหมายเลขหนึ่ง ก็จะยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับสหรัฐฯ ในอนาคต เป็นสิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง

ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ฉบับวันที่ 11 ตุลาคม 2561

ที่มาของรูปภาพ: https://www.hudson.org/events/1610-vice-president-mike-pence-s-remarks-on-the-administration-s-policy-towards-china102018

2018ChinaMike HenceUSA
Share this

The Author drprapat

ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

More Posts Like This One

AEC Focus-Marsh-w

อาเซียนกับ BRI (Belt and Road Initiative)

September 28, 2018
China-Thailand-Xi-Jinping-Prayut-Chan-ocha-AFP-1-960x576

ไทย กับ Belt and Road Initiative (BRI)

September 14, 2018
china-proposed-belt-road-initiative

Belt and Road Initiative (BRI): 2018

August 17, 2018
0 Comments General

Leave A Comment Cancel reply

65 − = 59

 
รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้อำนวยการศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้บรรยายพิเศษในสถาบันต่างๆ อาทิ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันพระปกเกล้า มีงานเขียน งานวิจัย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และมีคอลัมน์ประจำ "กระบวนทรรศน์" ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์และคอลัมน์ประจำ "โลกทรรศน์" ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
  • หนังสือ "ยุทศาสตร์สหรัฐฯต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

  • หนังสือ "ประชาคมเอเชียตะวันออก"

  • หนังสือ "ประชาคมอาเซียน"

  • หนังสือ "สถานการณ์โลกปี 2553 และแนวโน้มปี 2554"

  • ปกนโยบายต่างประเทศ-USA-แก้-2557-07-28-at-3.05.01-PM

1/4

Calendar

February 2019
M T W T F S S
« Jan    
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728  

Blog

drprapat-header-3

LINKS

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS) ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS)

Tags

AEC al-Qaeda APEC ARF ASEAN Clinton Donald Trump EAS EU eurozone FTA G-20 Gaddafi IMF ISIS Obama the rise of China TPP UN UNSC WTO การก่อการร้าย การต่างประเทศของไทย ความขัดแย้ง ความขัดแย้งทะเลจีนใต้ ความมั่นคง ความสัมพันธ์อาเซียน-สหรัฐอเมริกา จีน ตะวันออกกลาง ประชาคมอาเซียน ประเทศมหาอำนาจ พม่า ยุทธศาสตร์สหรัฐฯ รัสเซีย วิกฤต Eurozone สงคราม สหรัฐอเมริกา สหรัฐฯ อัฟกานิสถาน อาเซียน อิหร่าน เกาหลีเหนือ เศรษฐกิจ เอเชีย ไทย