Logo
  • หน้าหลัก
  • ประวัติ
  • ผลงานวิชาการ
  • ผลงานอื่นๆ
    • หนังสือ
    • Powerpoint
    • สัมภาษณ์รายการต่างๆ
    • บทความอื่นๆ
  • Blog
  • Gallery ภาพส่วนตัว
  • ติดต่อ
Copyright, 2015 : drprapat.com - All rights reserved.
December 19, 2011
drprapat
บทความ
0

ยุทธศาสตร์เชิงรุกของสหรัฐฯต่อเอเชีย

PreviousNext

ตีพิมพ์ใน ไทยโพสต์ ฉบับวันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม 2554

Grand Strategy

ยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศที่สำคัญที่สุดของสหรัฐฯ คือ ยุทธศาสตร์การครองความเป็นเจ้า สำหรับยุทธศาสตร์ต่อภูมิภาคเอเชีย ก็เหมือนกับยุทธศาสตร์ในระดับโลก คือ ยุทธศาสตร์การครองความเป็นเจ้าในภูมิภาค แต่การผงาดขึ้นมาของจีน ทำให้ในอนาคต จีนจะกลายเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก ดังนั้น ยุทธศาสตร์การปิดล้อมและสกัดกั้นการขยายอิทธิพลของจีน ซึ่งกำลังจะผงาดขึ้นมาเป็นคู่แข่งของสหรัฐฯ จึงเป็นยุทธศาสตร์ที่มีความสำคัญที่สุด

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา อิทธิพลของจีนในภูมิภาคได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในขณะที่อิทธิพลของสหรัฐฯก็ลดลงไปเรื่อยๆ สหรัฐฯจึงได้ข้อสรุปว่า จะอยู่เฉยๆไม่ได้ และจะต้องดำเนินยุทธศาสตร์ในเชิงรุก เพื่อแข่งกับจีน เพื่อปิดล้อมและสกัดกั้นอิทธิพลของจีน

ยุทธศาสตร์ของรัฐบาล Obama ปี 2010

ในสมัยรัฐบาล Obama สหรัฐฯประกาศจุดยืนอย่างชัดเจนว่า ต้องการใกล้ชิดกับอาเซียนมากขึ้น โดยได้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯครั้งแรกขึ้น ในปี 2009 ต่อมา ในปี 2010 สหรัฐฯก็มีความเคลื่อนไหวในภูมิภาคอย่างเข้มข้นมากขึ้น โดยเป็นยุทธศาสตร์ในเชิงรุกอย่างชัดเจน โดยเฉพาะการกระชับความสัมพันธ์กับอาเซียน และการเปิดแนวรุกทางการทูตใหม่กับประเทศในอินโดจีน ในกรอบของ US- Lower Mekong Initiative ความสัมพันธ์ทวิภาคีกับประเทศต่างๆในภูมิภาค ก็กระชับแน่นแฟ้นมากขึ้น โดยเฉพาะด้านการทหาร

อีกเรื่องที่แสดงให้เห็นยุทธศาสตร์ในเชิงรุกของสหรัฐฯในภูมิภาค คือ การจุดชนวนปัญหาความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ โดยในระหว่างการประชุม ARF ในเดือนกรกฎาคม ปี 2010 สหรัฐฯได้ประกาศท่าทีว่า สหรัฐฯจะเข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหานี้ เห็นได้ชัดว่า เป็นการฉวยโอกาสที่สหรัฐฯจ้องมองอยู่นานแล้ว ที่จะเข้าแทรกแซงในเรื่องนี้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การปิดล้อมจีน

ยุทธศาสตร์ ปี 2011

สำหรับในปี 2011 นี้ สหรัฐฯยังเดินหน้ายุทธศาสตร์ในเชิงรุกต่อภูมิภาคอย่างเข้มข้น และอย่างต่อเนื่อง ทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคี

• Obama ประกาศนโยบายสหรัฐฯต่อภูมิภาค
ไฮไลท์ของยุทธศาสตร์สหรัฐฯต่อภูมิภาค เกิดขึ้นในระหว่างการเยือนออสเตรเลียของ Obama สุนทรพจน์ที่ Obama กล่าวต่อรัฐสภาของออสเตรเลียในวันที่ 17 พฤศจิกายน ถือเป็นการประกาศนโยบายครั้งสำคัญของสหรัฐฯต่อเอเชีย Obama ได้ประกาศว่า สหรัฐฯกำลังจะปรับเปลี่ยนนโยบายทางทหารครั้งใหญ่ต่อเอเชีย สหรัฐฯเป็น Pacific Nation และภูมิภาคนี้ มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงที่สุดในโลก Obama จึงได้ตัดสินใจที่จะให้ความสำคัญต่อภูมิภาคนี้เป็นลำดับสูงสุด และสหรัฐฯจะเพิ่มบทบาททางทหารในภูมิภาคมากขึ้น และได้มีการจัดทำข้อตกลงทางทหารระหว่างสหรัฐฯกับออสเตรเลีย โดยในปี 2012 สหรัฐฯจะส่งทหารเข้ามาประจำการประมาณ 2,500 นาย ที่เมือง Darwin ทางตอนเหนือของออสเตรเลีย
ผมวิเคราะห์ว่า แนวโน้มการขยายอำนาจทางทหารของจีน และแนวโน้มความขัดแย้งทางทหารระหว่างสหรัฐฯกับจีนในอนาคต ทำให้สหรัฐฯปรับเปลี่ยนนโยบายทางทหารครั้งใหญ่ต่อภูมิภาค เพื่อปิดล้อมจีนทางทหาร และเพื่อเตรียมพร้อมต่อการเผชิญหน้าทางทหารกับจีนในอนาคต
และการที่สหรัฐฯจะส่งกองกำลังทหารไปประจำที่เมือง Darwin นั้น อาจจะเป็นก้าวแรกของการจัดตั้งฐานทัพของสหรัฐฯในอนาคต เมือง Darwin มีภูมิศาสตร์ที่ใกล้กับทะเลจีนใต้มาก จะทำให้สหรัฐฯเคลื่อนย้ายเรือรบและเครื่องบินรบ เข้าสู่ทะเลจีนใต้ได้ง่ายขึ้น

• ยุทธศาสตร์ hub and spokes
ในปี 2011 สหรัฐฯยังเดินหน้าตอกย้ำยุทธศาสตร์ hub and spokes ต่อไป โดยมีสหรัฐฯเป็น hub หรือดุมล้อ และมีประเทศพันธมิตรเป็น spokes หรือ ซี่ล้อ ความสัมพันธ์ทวิภาคีทางทหารกับพันธมิตรกระชับแน่นแฟ้นมากขึ้นทุกประเทศ ไล่มาตั้งแต่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน เวียดนาม ไทย กัมพูชา มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย และอินเดีย โดยภาพรวมแล้ว สหรัฐฯกระชับความสัมพันธ์ทางทหารกับเกือบทุกประเทศในภูมิภาค ที่มียกเว้น คือ เกาหลีเหนือ จีน และพม่า เท่านั้น
และที่มีนัยยะสำคัญ คือ การเยือนฟิลิปปินส์ ของ Hillary Clinton ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน ที่ผ่านมา ได้มีการลงนามในปฏิญญามะนิลา หรือ Manila Declaration ปฏิญญาดังกล่าว เป็นการตอกย้ำถึงพันธมิตรทางทหาร โดย Clinton ได้ประกาศกร้าวว่า “สหรัฐฯจะอยู่กับฟิลิปปินส์ตลอดไป และจะยืนหยัดและต่อสู้เพื่อปกป้องฟิลิปปินส์”

• อาเซียน-สหรัฐฯ
สำหรับความสัมพันธ์กับอาเซียน สหรัฐฯก็เดินหน้ายุทธศาสตร์ในเชิงรุก ตีสนิทกับอาเซียน อย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ได้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ เป็นครั้งที่ 3 ไปแล้ว ท่าทีของสหรัฐฯต่ออาเซียนก็เปลี่ยนไปมาก โดยโอนอ่อนผ่อนตามข้อเรียกร้องของอาเซียนเกือบทุกเรื่อง ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สหรัฐฯตีสนิทกับอาเซียนมากขึ้น ก็เพื่อแข่งกับจีน
นอกจากนี้ สหรัฐฯยังเดินหน้าผลักดันยุทธศาสตร์ในเชิงรุก ในกรอบ US- Lower Mekong Initiative เพื่อเข้ามาแข่งกับจีนในบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง ซึ่งประกอบด้วย ไทย ลาว กัมพูชา และพม่า

• East Asia Summit หรือ EAS
เวทีพหุภาคีอีกเวทีหนึ่งที่สหรัฐฯให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และดำเนินยุทธศาสตร์ในเชิงรุก คือ การเข้าร่วมประชุมครั้งแรกในการประชุม East Asia Summit หรือ EAS สหรัฐฯมองว่า การเป็นสมาชิก EAS จะทำให้สหรัฐฯเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา และเป็นส่วนหนึ่งของสถาปัตยกรรมในภูมิภาค จะช่วยป้องกันการที่ประเทศในเอเชียตะวันออกจะรวมกลุ่มกันโดยไม่มีสหรัฐฯ และจะเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การปิดล้อมจีนด้วย สหรัฐฯต้องการให้ EAS มีความร่วมมือทางด้านความมั่นคงที่เข้มข้น และต้องการที่จะเข้ามามีบทบาทนำใน EAS

• ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้
ในปี 2011 สหรัฐฯยังคงผลักดัน เดินหน้าจุดชนวนความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ต่อไป การที่สหรัฐฯเข้ามายุ่งเกี่ยวกับปัญหาหมู่เกาะสแปรตลีย์ และยุแหย่ให้ประเทศอาเซียนกับจีนทะเลาะกัน เป็นเป้าหมายของสหรัฐฯ เพื่อเปิดช่องให้สหรัฐฯเข้ามามีบทบาททางทหารในภูมิภาคมากขึ้น และเพื่อปิดล้อมจีนทางทหาร ท่าทีของสหรัฐฯ คือ สหรัฐฯเป็น Pacific Nation และเป็น Resident Power สหรัฐฯจึงมีผลประโยชน์แห่งชาติในเรื่องเสรีภาพในการเดินเรือ สหรัฐฯต่อต้านการใช้กำลังในการแก้ปัญหา และสนับสนุนกระบวนการทางการทูตพหุภาคีที่จะแก้ไขปัญหานี้
และในช่วงเดือนมิถุนายน ผู้บัญชาการกองทัพเรือของสหรัฐฯในภูมิภาคแปซิฟิก ได้ตอกย้ำว่า กองทัพเรือของสหรัฐฯมีเป้าหมายที่จะคงบทบาทของสหรัฐฯในทะเลจีนใต้ และจะเพิ่มบทบาทมากขึ้นในอนาคต

• TPP
ยุทธศาสตร์เชิงรุกของสหรัฐฯในการปิดล้อมจีน ไม่ได้จำกัดอยู่แต่เพียงทางด้านการทหารเท่านั้น แต่ยังรวมถึง ยุทธศาสตร์การปิดล้อมจีนทางเศรษฐกิจด้วย เครื่องมือสำคัญของการปิดล้อมจีนทางเศรษฐกิจ คือ การผลักดัน FTA ตัวใหม่ที่มีชื่อว่า Trans-Pacific Partnership หรือ TPP
เป้าหมายระยะยาวของสหรัฐฯต่อการพัฒนา TPP คือ การขยายจำนวนสมาชิกจาก 12 ประเทศ ให้ครอบคลุมประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก วาระซ่อนเร้นของสหรัฐฯ คือ การเอา TPP มาแข่งกับ FTA ที่จีนทำกับอาเซียน และ FTA ในกรอบอาเซียน+3
ในการประชุมสุดยอดเอเปคที่ฮาวาย ในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนนี้ สหรัฐฯประสบความสำเร็จในการบีบให้ญี่ปุ่นเข้าร่วมกับ TPP
แนวโน้มในอนาคต สหรัฐฯจะหันมาให้ความสำคัญกับ TPP เป็นหลัก โดยในที่สุด TPP จะกลายเป็น FTA ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และ TPP ซึ่งจะมีสหรัฐฯเป็นผู้นำ จะกลายเป็นแกนกลางของสถาปัตยกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาค และ TPP จะเป็นเครื่องมือสำคัญของสหรัฐฯในการครองความเป็นเจ้าทางเศรษฐกิจในภูมิภาคต่อไป

grand strategyบทบาทสหรัฐฯประชาคมอาเซียนยุทธศาสตร์สหรัฐฯ
Share this

The Author drprapat

ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

More Posts Like This One

asean flag_1

ประชาคมอาเซียน : ไทยยังไม่พร้อม (ตอนที่ 1)

February 2, 2016
World_Flag_Map_2015

ยุทธศาสตร์ทหารสหรัฐต่อเอเชีย ปี 2016

May 26, 2016
S__8380633

วิเคราะห์เจาะลึกกับ ศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี

November 20, 2017
0 Comments General

Leave A Comment Cancel reply

1 + 4 =

 
รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้บรรยายพิเศษในสถาบันต่างๆ อาทิ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันพระปกเกล้า มีงานเขียน งานวิจัย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และมีคอลัมน์ประจำ "กระบวนทรรศน์" ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์และคอลัมน์ประจำ "โลกทรรศน์" ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
  • หนังสือ "ยุทศาสตร์สหรัฐฯต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

  • หนังสือ "ประชาคมเอเชียตะวันออก"

  • หนังสือ "ประชาคมอาเซียน"

  • หนังสือ "สถานการณ์โลกปี 2553 และแนวโน้มปี 2554"

  • ปกนโยบายต่างประเทศ-USA-แก้-2557-07-28-at-3.05.01-PM

1/4

Calendar

January 2021
M T W T F S S
« Apr    
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031

Blog

drprapat-header-3

LINKS

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS) ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS)

Tags

AEC al-Qaeda APEC ARF ASEAN Clinton Donald Trump EAS EU eurozone FTA G-20 ISIS Obama the rise of China TPP UN UNSC WTO การก่อการร้าย การต่างประเทศของไทย การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ความขัดแย้ง ความขัดแย้งทะเลจีนใต้ ความมั่นคง จีน ตะวันออกกลาง ประชาคมอาเซียน ประเทศมหาอำนาจ พม่า ยุทธศาสตร์สหรัฐฯ รัสเซีย วิกฤต Eurozone สงคราม สงครามการค้า สหรัฐ สหรัฐอเมริกา สหรัฐฯ อัฟกานิสถาน อาเซียน อิหร่าน เกาหลีเหนือ เศรษฐกิจ เอเชีย ไทย