Logo
  • หน้าหลัก
  • ประวัติ
  • ผลงานวิชาการ
  • ผลงานอื่นๆ
    • หนังสือ
    • Powerpoint
    • สัมภาษณ์รายการต่างๆ
    • บทความอื่นๆ
  • Blog
  • Gallery ภาพส่วนตัว
  • ติดต่อ
Copyright, 2015 : drprapat.com - All rights reserved.
August 15, 2012
รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี
บทความ
0

วิกฤตซีเรีย 2012

PreviousNext

คอลัมน์โลกปริทรรศน์ 1 เมษายน 2555

วิกฤตซีเรียได้ยืดเยื้อมานานนับปี โดยรัฐบาล Assad ได้ใช้ความรุนแรงปราบปรามฝ่ายต่อต้านอย่างหนัก ล่าสุด UN ได้ประเมินว่า น่าจะมีผู้เสียชีวิตไปแล้วเกือบ 10,000 คน อย่างไรก็ตาม ในช่วงสัปดาห์นี้ ก็มีความคืบหน้าทางการทูตในการแก้ไขปัญหา โดยประธานาธิบดี Assad ผู้นำซีเรีย ได้ยอมรับข้อเสนอแผนการสันติภาพของ Kofi Annan อดีตเลขาธิการ UN คอลัมน์โลกปริทรรศน์ในวันนี้ จะวิเคราะห์สถานการณ์ทางการทูตล่าสุด ในการแก้ปัญหาซีเรีย ดังนี้ แผนการสันติภาพของ Annan เมื่อช่วงสัปดาห์ที่แล้ว UNSC ได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ สนับสนุนแผนการสันติภาพของ Kofi Annan ซึ่งในแผนดังกล่าวมีประเด็นสำคัญ 6 ประการ คือ 1. จะให้มีกระบวนการทางการเมือง เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนชาวซีเรีย 2. จะให้มีการยุติการใช้ความรุนแรง โดย UN จะเข้ามาควบคุมดูแลในเรื่องนี้ 3. ทุกฝ่ายจะต้องเปิดทางให้กับความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรม ในทุกๆพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบจากการต่อสู้ระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่ายต่อต้าน 4. รัฐบาลซีเรียจะต้องดำเนินการปล่อยนักโทษทางการเมืองที่ถูกคุมขังอยู่ 5. รัฐบาลซีเรียจะต้องให้เสรีภาพต่อผู้สื่อข่าวในการเดินทางไปทำข่าวทั่วประเทศ 6. รัฐบาลซีเรียจะต้องให้เสรีภาพในการชุมนุมอย่างสันติ Assad กับการยอมรับแผนสันติภาพ ต่อมา หลังจากได้รับไฟเขียวจาก UNSC แล้ว Kofi Annan ได้เดินทางไปพบกับ Assad เพื่อเสนอแผนสันติภาพดังกล่าว และเมื่อวันอังคารที่ 27 มีนาคมที่ผ่านมา ได้มีการรายงานข่าวว่า Assad ได้ยอมรับแผนการสันติภาพของ Annan ซึ่งหลังจากนั้น Annan ได้ให้สัมภาษณ์ว่า การยอมรับแผนสันติภาพดังกล่าว ถือเป็นก้าวสำคัญก้าวแรก ที่จะนำไปสู่การยุติความรุนแรงในซีเรีย อย่างไรก็ตาม Annan ได้ย้ำว่า การแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ จะเป็นกุญแจสำคัญ ส่วนรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ Hillary Clinton ได้แถลงว่า การยอมรับแผนการของ Annan ถือเป็นก้าวสำคัญ แต่ Clinton ได้ย้ำว่า ซีเรียจะต้องทำตามแผนดังกล่าว โดยกล่าวว่า “เราจะวัดความจริงใจของ Assad ด้วยการกระทำ ไม่ใช่ด้วยคำพูด” Kofi Annan หลังจากเดินทางไปซีเรีย ก็ได้เดินทางไปเจรจากับนายกรัฐมนตรีของจีน Wen Jiabao โดย Wen ได้ให้การสนับสนุนแผนสันติภาพของ Annan โดยกล่าวว่า สถานการณ์ในซีเรียกำลังถึงจุดสำคัญ และความพยายามของ Annan จะนำไปสู่ความคืบหน้า ในการแก้ไขปัญหา สำหรับท่าทีของรัสเซียนั้น ก็ได้ออกมาสนับสนุนแผนการของ Annan เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ฝ่ายต่อต้านรัฐบาล Assad ที่รวมตัวกันในชื่อ Syrian National Council ได้ออกมาแสดงความไม่เชื่อมั่นในคำพูดของ Assad โดยได้บอกว่า ที่ผ่านมา Assad ได้เคยผิดสัญญามาหลายครั้งแล้ว ตัวอย่างที่สำคัญ คือ เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว รัฐบาล Assad ได้ลงนามในข้อตกลงกับสันนิบาตอาหรับ และยอมรับ roadmap ของการปฏิรูปทางการเมือง แต่ต่อมา Assad ก็ไม่เคยปฏิบัติตาม roadmap ดังกล่าวเลย ขณะนี้ ฝ่ายต่อต้าน Assad ได้ประชุมกันที่ Istanbul โดยการประชุมดังกล่าว มีขึ้นก่อนการประชุมของกลุ่มประเทศ Friends of Syria ที่มีทั้งประเทศอาหรับและประเทศตะวันตกเป็นสมาชิก ซึ่งกำลังจะประชุมกันที่ Istanbul ในวันอาทิตย์ที่ 1 เมษายนนี้ ปัจจัย สำหรับปัจจัยสำคัญที่ทำให้ Assad เปลี่ยนใจยอมรับแผนการของ Annan นั้น ก็มีหลายปัจจัย แต่ที่น่าจะเป็นปัจจัยหลัก คือ การที่ Assad คงจะประเมินแล้วว่า การยอมรับแผนของ Annan จะเป็นการซื้อเวลา และจะทำให้ Assad อยู่ในอำนาจต่อไปได้ Assad กำลังมองหาทางที่จะยุติการลุกฮือเพื่อโค่นอำนาจของเขา แผนสันติภาพของ Annan ไม่ได้ระบุว่า Assad จะต้องลงจากอำนาจ และนี่ก็น่าจะเป็นประเด็นสำคัญ ที่ทำให้ Assad ยอมรับแผนดังกล่าว และ Assad คงจะมองด้วยว่า ข้อดีอีกประการของการยอมรับแผนของ Annan คือ การลดกระแสต่อต้าน ลดกระแสการคว่ำบาตร และแรงกดดันจากนานาชาติ ปัจจัยอีกประการ คือ บทบาทของรัสเซียและจีน ซึ่งก่อนหน้านี้ รัสเซียและจีน ได้วีโต้ร่างข้อมติของ UNSC ที่เป็นข้อเสนอของสันนิบาตอาหรับ แต่แผนของ Annan ไม่ได้ระบุให้ Assad ต้องลงจากอำนาจ จึงทำให้รัสเซียและจีน ไม่วีโต้แผนของ Annan และเมื่อรัสเซียกับจีนสนับสนุนแผนของ Annan ก็ทำให้ Assad ยอมรับข้อเสนอดังกล่าวไปด้วย นอกจากนี้ ประเทศตะวันตก ก็ไม่สนับสนุนการใช้กำลังทางทหารเพื่อยุติปัญหาซีเรีย ดังนั้น แผนการของ Annan จึงได้รับการยอมรับจากประเทศตะวันตกด้วย โดยตะวันตก ขณะนี้ ก็ต้องการแก้ไขปัญหานี้ด้วยวิถีทางทางการทูต กล่าวโดยสรุป แม้ว่าจะมีความไม่แน่นอนว่า แผนสันติภาพของ Annan จะประสบความสำเร็จหรือไม่ แต่อย่างน้อย แผนดังกล่าวก็ทำให้กระบวนการทางการทูต เดินหน้าต่อไปได้ และทำให้ชาวโลกมีความหวังมากขึ้น ที่จะยุติความขัดแย้งนี้อย่างสันติวิธี

Assad ผู้นำซีเรียการแก้ปัญหาซีเรียวิกฤตซีเรีย 2012
Share this

The Author รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี

0 Comments General

Leave A Comment Cancel reply

+ 38 = 42

 
รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้บรรยายพิเศษในสถาบันต่างๆ อาทิ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันพระปกเกล้า มีงานเขียน งานวิจัย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และมีคอลัมน์ประจำ "กระบวนทรรศน์" ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์และคอลัมน์ประจำ "โลกทรรศน์" ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
  • หนังสือ "ยุทศาสตร์สหรัฐฯต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

  • หนังสือ "ประชาคมเอเชียตะวันออก"

  • หนังสือ "ประชาคมอาเซียน"

  • หนังสือ "สถานการณ์โลกปี 2553 และแนวโน้มปี 2554"

  • ปกนโยบายต่างประเทศ-USA-แก้-2557-07-28-at-3.05.01-PM

1/4

Calendar

April 2021
M T W T F S S
« Apr    
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930  

Blog

drprapat-header-3

LINKS

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS) ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS)

Tags

AEC al-Qaeda APEC ARF ASEAN Clinton Donald Trump EAS EU eurozone FTA G-20 ISIS Obama the rise of China TPP UN UNSC WTO การก่อการร้าย การต่างประเทศของไทย การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ความขัดแย้ง ความขัดแย้งทะเลจีนใต้ ความมั่นคง จีน ตะวันออกกลาง ประชาคมอาเซียน ประเทศมหาอำนาจ พม่า ยุทธศาสตร์สหรัฐฯ รัสเซีย วิกฤต Eurozone สงคราม สงครามการค้า สหรัฐ สหรัฐอเมริกา สหรัฐฯ อัฟกานิสถาน อาเซียน อิหร่าน เกาหลีเหนือ เศรษฐกิจ เอเชีย ไทย