Logo
  • หน้าหลัก
  • ประวัติ
  • ผลงานวิชาการ
  • ผลงานอื่นๆ
    • หนังสือ
    • Powerpoint
    • สัมภาษณ์รายการต่างๆ
    • บทความอื่นๆ
  • Blog
  • Gallery ภาพส่วนตัว
  • ติดต่อ
Copyright, 2015 : drprapat.com - All rights reserved.
November 6, 2008
drprapat
บทความ
0

วิกฤติการเงินโลก: ผลกระทบต่อประเทศกำลังพัฒนา

PreviousNext

สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ ปีที่ 56 ฉบับที่ 6 วันศุกร์ที่ 31 ตุลาคม – พฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน 2551

ขณะนี้วิกฤติการเงินโลก ได้ลุกลามขยายตัวไปทั่วโลกแล้ว โดยเริ่มจากวิกฤติการเงินในสหรัฐก่อน หลังจากนั้น ได้ระบาดเข้าไปในยุโรป และขณะนี้ ได้ลุกลามระบาดไปทั่วโลก โดยเฉพาะการระบาดเข้าสู่เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนา

ในช่วงแรกที่เกิดวิกฤติ subprime ใหม่ๆ ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ เฝ้ามองวิกฤติครั้งนี้ว่าคงจะจำกัดวงอยู่แต่ในโลกตะวันตก ธนาคารส่วนใหญ่ของประเทศกำลังพัฒนา ไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงกับวิกฤติ subprime แม้ว่าจะมีการพูดกันว่า วิกฤติการเงินครั้งนี้ นับว่าเลวร้ายที่สุด นับตั้งแต่เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในช่วงทศวรรษ 1930 แต่ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ ก็มองว่า น่าจะอยู่ห่างไกลจากศูนย์กลางของมรสุมการเงินในครั้งนี้

อย่างไรก็ตาม ในขณะนี้ ได้เริ่มเห็นชัดเจนแล้วว่า ประทศกำลังพัฒนาไม่สามารถหลีกเลี่ยงวิกฤติครั้งนี้ได้ โดยได้รับผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อม เงินลงทุนได้เริ่มหดหายไป รวมทั้งตลาดส่งออก และตลาดหุ้นในประเทศกำลังพัฒนาเอง ก็ตกต่ำอย่างหนัก บางตลาด มูลค่าหุ้น หายไปกว่าครึ่ง และค่าเงินสกุลต่างๆก็กำลังตกต่ำอย่างหนัก

ล่าสุด ในวันอังคารที่ 28 ตุลาคม ตลาดหุ้นทั่วโลกยังคงปั่นป่วนและดิ่งลงเหวอย่างต่อเนื่อง โดยที่หนักที่สุด เป็นตลาดหุ้นในเอเชีย โดยตลาดหุ้นนิเคอิของญี่ปุ่น ตกลงไปอีก 6% นับเป็นการตกต่ำที่สุดในรอบ 26 ปี ในขณะที่ตลาดหุ้นฮั่งเส็งของฮ่องกงก็ตกลงถึง 12% ท่ามกลางความหวั่นวิตกว่า มาตรการกอบกู้วิกฤติเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ อาจจะไม่ได้ผล และอาจจะสายเกินไปที่จะป้องกันภาวะเศรษฐกิจถดถอยของเศรษฐกิจโลก

สำหรับในกรณีของไทย ก็กำลังปั่นป่วนอย่างหนัก โดยทางสภาอุตสาหกรรมได้ประเมินสถานการณ์ว่า เศรษฐกิจไทย กำลังจะเข้าสู่ภาวะวิกฤติ โดยในปีหน้าจะมีคนตกงานถึงกว่า 1 ล้านคน ไม่ต้องพูดถึงผลกระทบของการส่งออก ท่องเที่ยว และอุตสาหกรรม ขณะนี้ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กำลังระส่ำระสายอย่างหนัก และกำลังจะล้มละลายกันเป็นแถว ตลาดหุ้นไทยก็ตกต่ำลงอย่างหนัก ขณะนี้ หลุด 400 จุดไปแล้ว

การส่งออก
ผลกระทบประการสำคัญของวิกฤติการเงินโลกต่อประเทศกำลังพัฒนา เรื่องแรกคือ การส่งออก การถดถอยลงของอุปสงค์ในตลาดสหรัฐและยุโรป ได้ส่งผลกระทบเป็นอย่างมากต่อการส่งออกของประเทศกำลังพัฒนา รวมทั้งประเทศไทยด้วย ซึ่งตลาดส่งออกหลักของไทยยังคงอยู่ที่สหรัฐและยุโรป ขณะนี้ มีการประเมินว่า การส่งออกของไทยไปตลาดตะวันตก ลดลงไปกว่า 30% แล้ว

นอกจากนี้ ปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกันคือ การตกต่ำลงอย่างมากของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศกำลังพัฒนา ไม่ว่าจะเป็นราคาสินค้าเกษตรและราคาแร่ธาตุต่างๆ ในกรณีของไทย ก็กำลังประสบปัญหาอย่างหนัก จากภาวะสินค้าเกษตรตกต่ำ โดยเฉพาะราคาข้าวโพด มันสำปะหลัง และยางพารา สำหรับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกับไทย ประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งเป็นผู้ส่งออกแร่ธาตุสำคัญ กำลังประสบวิกฤติอย่างหนัก โดยเฉพาะราคา platinum และทอง ทำให้ค่าเงินของแอฟริกาใต้ตกต่ำลงอย่างน่ากลัว บราซิลซึ่งเป็นอีกประเทศหนึ่งที่ส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์รายใหญ่ คิดเป็น 9% ของGDP ก็เจอปัญหาเช่นเดียวกัน

การเงิน
วิกฤติการเงินโลกในครั้งนี้ ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสถานะการเงินของประเทศกำลังพัฒนา ระบบการเงินของหลายๆประเทศกำลังสั่นคลอน ประเทศที่มีเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมาก ก็อาจจะรอดตัวไปได้ อย่างเช่น เกาหลีใต้ ซึ่งมีเงินทุนสำรองอยู่ประมาณ 140,000 ล้านเหรียญ รัสเซียมีอยู่ 540,000 ล้านเหรียญ และประเทศที่มีเงินทุนสำรองมากที่สุดคือ จีน ซึ่งมีกว่า 2 ล้านล้านเหรียญ

สำหรับในกรณีของเกาหลีใต้ รัฐบาลได้ออกมาค้ำประกันวงเงินกู้กว่า 1 แสนล้านเหรียญ รัสเซียก็ได้อัดฉีดเงิน 220,000 ล้านเหรียญเพื่อช่วยอุ้มสถาบันการเงินของตน

แต่สำหรับประเทศที่ไม่มีเงินทุนสำรองเพียงพอ ก็คงหนีไม่พ้นที่จะต้องไปกู้จาก IMF ซึ่งตอนนี้ มีฮังการีและยูเครนได้รับเงินกู้จาก IMF ไปแล้ว และยังมีอีกกว่า 10 ประเทศที่กำลังเจรจากับ IMF อยู่

สำหรับวิกฤติการการเงินในประเทศกำลังพัฒนานั้น เป็นผลต่อเนื่องมาจากวิกฤติการเงินในยุโรปและสหรัฐ โดยเงินกู้จากธนาคารสหรัฐและยุโรปได้เหือดหายไป และมีการถอนทุนจากพวก hedge fund และนักลงทุนในตลาดหุ้น ทำให้ธุรกิจการให้กู้เกิดสะดุด ซึ่งที่ผ่านมา ธุรกิจเงินกู้เป็นตัวกระตุ้นการใช้จ่ายภายในที่สำคัญ แต่เมื่อธุรกิจการให้กู้สะดุด ก็ทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจชะลอตัวลง

แต่ผลกระทบในเรื่องนี้ จะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ โดยประเทศที่ได้เปรียบดุลบัญชีเดินสะพัด โดยเฉพาะจีนและประเทศส่งออกน้ำมัน จะได้รับผลกระทบน้อย แต่ประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ ตกอยู่ในสถานะเสียเปรียบดุลบัญชีเดินสะพัด ซึ่งคิดเป็นกว่า 5%ของ GDP ที่หนักที่สุดคือ ประเทศในยุโรปตะวันออก ซึ่งหลายประเทศขาดดุลบัญชีเดินสะพัดกว่า 10%

นอกจากนี้ ประเทศกำลังพัฒนากำลังประสบกับการไหลออกของเงินทุนอย่างหนัก โดยมีการคาดกันว่า ในปีนี้ เงินทุนไหลเข้าจะลดลงกว่า 30% ของปีที่แล้ว

สำหรับประเทศจีน น่าจะอยู่ในสถานะที่ดีกว่าเพื่อนในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ทั้งนี้เพราะจีนมีเงินทุนสำรองกว่า 2 ล้านล้านเหรียญ ภาวะเกินดุลบัญชีเดินสะพัด มีการเชื่อมโยงกับสถาบันการเงินในตะวันตกค่อนข้างน้อย และดุลงบประมาณก็เกินดุลเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม จีนก็ได้รับผลกระทบอยู่ดี โดยอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีน คาดว่าจะลดลงเหลือแค่ 8% ซึ่งในอดีตนั้น จีนโตเกินกว่า 10% มาโดยตลอด

สำหรับประเทศอื่น ก็จะตกอยู่ในสภาวะล่อแหลม อินเดียขณะนี้ ขาดดุลงบประมาณมหาศาล และขาดดุลบัญชีเดินสะพัดมหาศาล คิดเป็นถึง 3.6% ของ GDP

สถานะการเงินของบราซิลก็น่าเป็นห่วง อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจของบราซิลในช่วงที่ผ่านมา อาจเป็นเพราะบราซิลเคยเกิดวิกฤติการเงินหลายครั้ง จึงทำให้มีบทเรียนเหมือนกับประเทศไทย ซึ่งได้รับบทเรียนจากวิกฤติต้มยำกุ้งมาแล้ว บราซิล จึงได้มีมาตรการกระจายความเสี่ยง กระจายตลาด และมีเงินทุนสำรองค่อนข้างมาก
ซึ่งสถานะของบราซิลก็คล้ายๆกับของไทย คือ บทเรียนจากวิกฤติต้มยำกุ้ง ทำให้ไทยค่อนข้างระมัดระวังตัว โดยไทยมีเงินทุนสำรองอยู่ไม่น้อย มีการกระจายตลาดส่งออกเพิ่มขึ้น มีการปฏิรูปสถาบันการเงิน และเข้มงวดกวดขันในการปล่อยเงินกู้ และมีระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่มีความยืดหยุ่นมากขึ้น

แต่ขณะนี้ ประเทศที่ดูน่าเป็นห่วงมากคือ กลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก ซึ่งกำลังประสบกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจอย่างหนัก ภาวะหนี้สินของภาครัฐสูง การกู้ยืมเงินของภาคเอกชนก็อยู่ในระดับสูงมาก มีการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดอย่างหนัก นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลก็ไม่มีประสิทธิภาพ และขาดการควบคุมการใช้จ่ายของภาครัฐ ทำให้หลายๆประเทศกำลังจะประสบภาวะล้มละลาย และหลายประเทศก็กำลังแสวงหาความช่วยเหลือจาก IMF

ในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา IMF ได้ประกาศปล่อยเงินกู้ให้ความช่วยเหลือแก่ฮังการีและยูเครนไปแล้ว ในกรณีของฮังการีนั้น อาการค่อนข้างหนัก โดยเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ค่าเงินของฮังการีได้ตกลงอย่างมาก และตลาดหุ้นฮังการี ก็ปั่นป่วนอย่างหนัก จนต้องปิดทำการเป็นเวลา 2 วัน IMF จึงได้ทำข้อตกลงกับสหภาพยุโรป โดยเฉพาะกับเยอรมนี ออสเตรีย อิตาลี และธนาคารโลกในการช่วยกันลงขันเงินกู้ให้กับฮังการี สำหรับในกรณีของยูเครนนั้น เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม IMF ได้ประกาศวงเงินกู้ 16,000 ล้านเหรียญสหรัฐให้กับยูเครน

Share this

The Author drprapat

ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

0 Comments General

Leave A Comment Cancel reply

35 − = 34

 
รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้บรรยายพิเศษในสถาบันต่างๆ อาทิ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันพระปกเกล้า มีงานเขียน งานวิจัย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และมีคอลัมน์ประจำ "กระบวนทรรศน์" ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์และคอลัมน์ประจำ "โลกทรรศน์" ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
  • หนังสือ "ยุทศาสตร์สหรัฐฯต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

  • หนังสือ "ประชาคมเอเชียตะวันออก"

  • หนังสือ "ประชาคมอาเซียน"

  • หนังสือ "สถานการณ์โลกปี 2553 และแนวโน้มปี 2554"

  • ปกนโยบายต่างประเทศ-USA-แก้-2557-07-28-at-3.05.01-PM

1/4

Calendar

January 2021
M T W T F S S
« Apr    
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031

Blog

drprapat-header-3

LINKS

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS) ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS)

Tags

AEC al-Qaeda APEC ARF ASEAN Clinton Donald Trump EAS EU eurozone FTA G-20 ISIS Obama the rise of China TPP UN UNSC WTO การก่อการร้าย การต่างประเทศของไทย การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ความขัดแย้ง ความขัดแย้งทะเลจีนใต้ ความมั่นคง จีน ตะวันออกกลาง ประชาคมอาเซียน ประเทศมหาอำนาจ พม่า ยุทธศาสตร์สหรัฐฯ รัสเซีย วิกฤต Eurozone สงคราม สงครามการค้า สหรัฐ สหรัฐอเมริกา สหรัฐฯ อัฟกานิสถาน อาเซียน อิหร่าน เกาหลีเหนือ เศรษฐกิจ เอเชีย ไทย