Logo
  • หน้าหลัก
  • ประวัติ
  • ผลงานวิชาการ
  • ผลงานอื่นๆ
    • หนังสือ
    • Powerpoint
    • สัมภาษณ์รายการต่างๆ
    • บทความอื่นๆ
  • Blog
  • Gallery ภาพส่วนตัว
  • ติดต่อ
Copyright, 2015 : drprapat.com - All rights reserved.
June 11, 2019
drprapat
บทความ
0

สงครามการค้าโลก ( ตอนที่ 5 )

PreviousNext
190521145932-20190521-huawei-trade-war-illo-exlarge-169

     สงครามการค้าโลกระหว่างจีนกับสหรัฐฯ เริ่มเปิดฉากกันมาตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว โดยสหรัฐฯ ได้ขึ้นภาษีสินค้าจีนมูลค่า 50,000 ล้านเหรียญ คิดเป็น 25% ต่อมาก็ขึ้นภาษีอีก 10 % สำหรับสินค้าจีนเพิ่มเติมอีก 200,000 ล้านเหรียญ แต่ต่อมา Trump ก็ประกาศพักรบชั่วคราวเป็นระยะเวลา 90 วัน เพื่อเปิดโอกาสให้เจรจาสงบสุข โดยหวังว่าจีนจะยอมอ่อนข้อให้กับสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามการเจรจาก็ล้มเหลว และเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา Trump จึงได้ประกาศขึ้นภาษีสินค้าจีนมูลค่า 200,000 ล้านเหรียญ ที่เคยขึ้น 10% เป็น 25% และยังขู่ด้วยว่าหากจีนไม่ยอมถอย Trump จะขึ้นภาษีสินค้าจีนทั้งหมดทีมาขายในสหรัฐมูลค่าประมาณ 500,000 ล้านเหรียญ
     คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในวันนี้จะมาวิเคราะห์สถานการณ์สงครามการค้าโลกล่าสุด ดังนี้
     Made in China 2025
     เรื่องหลักของสงครามการค้าขณะนี้ไม่ได้อยู่ที่สินค้าแต่กลับกลายเป็นการต่อสู้กันในเรื่องเทคโนโลยี โดยสิ่งที่สหรัฐ หวาดกลัวที่สุดในตอนนี้ก็คือยุทธศาสตร์ Made in China 2025 ที่เป็นแผน 10 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2015 โดยตั้งเป้าว่า ภายในปี 2025 จีนจะผงาดขึ้นมาเป็นเจ้าเทคโนโลยีโลก โดยได้มุ่งไปที่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง 10 สาขา ที่เป็นอุตสาหกรรม 4.0 เกี่ยวข้องกับนวัตกรรม เทคโนโลยีขั้นสูง และเศรษฐกิจดิจิทัล
     โดยตามแผนดังกล่าว รัฐบาลจีนจะใช้มาตรการทุกรูปแบบในการบรรลุเป้าหมาย ทั้งการให้เงินอุดหนุนอุตสาหกรรมเหล่านี้จากรัฐบาลอย่างเต็มที่ การให้บริษัทจีนเข้าซื้อบริษัทต่างชาติที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง เพื่อสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีขั้นสูง ในปี 2016 บริษัทจีนเข้าซื้อบริษัทเทคโนโลยีของสหรัฐมีมูลค่ากว่า 45,000 ล้านเหรียญ การบังคับให้บริษัทต่างชาติที่ลงทุนในจีนต้องถ่ายโอนเทคโนโลยีให้กับบริษัทของจีน รวมทั้งมาตรการอื่น ๆ ที่ทางสหรัฐกล่าวหาจีน อาทิ การขโมยเทคโนโลยี การขโมยทรัพย์สินทางปัญญา และการใช้มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรมในทุกรูปแบบ
     สหรัฐมองว่า Made in China 2025 จะทำให้จีนผงาดขึ้นมาเป็นเจ้าครองเทคโนโลยีโลก และจะเป็นภัยคุกคามต่อสถานะการครองโลกของสหรัฐฯ เป็นอย่างมาก
     ในปี 2017 กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ก็ได้ระบุว่าการลงทุนของจีนและเข้าซื้อบริษัทของสหรัฐฯ ถือเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงแห่งชาติ สำนักข่าวกรองแห่งชาติในปี 2018 ได้กล่าวหาว่าจีน ขโมยเทคโนโลยี ขโมยทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐ ตั้งแต่สมัยรัฐบาล Obama มาจนถึงสมัย Trump ก็ได้พยายามเข้าแทรกแซงไม่ให้จีนซื้อบริษัทเทคโนโลยีของสหรัฐ โดยอ้างความมั่นคงแห่งชาติ
      5G
     และเรื่องใหญ่ของสงครามเทคโนโลยีระหว่างสหรัฐกับจีนในขณะนี้ก็คือเรื่องเครือข่าย 5G ซึ่งถ้าใครสามารถครองเครือข่าย 5G ของโลกได้ก็จะอยู่ในสถานะได้เปรียบมากในการครองโลก ในอดีตสหรัฐฯ เคยเป็นผู้นำในเรื่องเครือข่ายอินเตอร์เน็ตมาโดยตลอด จนมาถึงเครือข่าย 4G อย่างไรก็ตามในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาจีนได้ทุ่มงบประมาณมหาศาลกว่า 400,000 ล้านเหรียญในการพัฒนาเครือข่ายของตน และด้วยยุทธศาสตร์ Made in China 2025 บวกกับยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative ก็จะนำไปสู่เส้นทางสายไหมดิจิทัล หรือ Digital Silk Road ซึ่งจะเป็นการปูทางโครงสร้างพื้นฐานการขยายเครือข่าย 5G ของจีนครอบคลุมไปทั่วทั้งโลก โดยเฉพาะเครือข่าย 5G ของ Huawei ก็มีความได้เปรียบกว่าเครือข่ายยี่ห้ออื่น ๆ เพราะเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ากว่าและราคาถูกกว่ามาก
     Huawei
     และในช่วงที่ผ่านที่กลายเป็นประเด็นร้อนแรงที่สุดก็คือกรณีของ Huawei ที่เป็นบริษัทผลิตโทรคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดในโลก ครอบครองตลาดในโลกถึง 28% เครือข่าย 5G ของ Huawei ก็กำลังจะกลายเป็นเครือข่าย 5G ของโลก โดยขณะนี้มีกว่า 25 ประเทศที่ทำสัญญาให้ Huawei พัฒนาเทคโนโลยีในประเทศตน
     ทางฝ่ายสหรัฐมองว่า โทรศัพท์ Huawei เครือข่าย 5G ของ Huawei เป็นภัยคุกคามอย่างมาก ต่อการครองความเป็นเจ้าทางด้านเทคโนโลยีของสหรัฐ และต่อความมั่นคงของสหรัฐ
     เมื่อปีที่แล้วสภาคองเกรสก็ได้ประกาศว่าเครือข่าย 5G ของ Huawei เป็นภัยคุกคาม เพราะ Huawei จะใช้เครือข่าย 5G ในการขโมยความลับและโจมตีเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของสหรัฐ
     ต่อมาในเดือนสิงหาคมปี 2918 Trump ก็มีคำสั่งประกาศห้ามหน่วยงานราชการของสหรัฐใช้โทรศัพท์ Huawei
     กระทรวงยุติธรรมของสหรัฐ ก็ได้กล่าวหา Huawei ว่าขโมยทรัพย์สินทางปัญญา และเทคโนโลยีของสหรัฐ
     และเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์สหรัฐก็ได้ประกาศขึ้นบัญชีดำ Huawei และบริษัทในเครือ Huawei อีก 68 บริษัท ห้ามบริษัทอเมริกันทำธุรกิจซื้อขายด้วย โดยไม่ได้รับอนุญาตจากทางการ แต่ต่อมาก็มีประกาศยืดหยุ่นผ่อนคลายคำสั่งเป็นเวลา 90 วัน
     นอกจากนี้รัฐบาล Trump ยังได้กดดันพันธมิตรประเทศต่าง ๆ ไม่ให้ใช้โทรศัพท์ Huawei และ เครือข่าย 5G ของ Huawei ซึ่งก็มีพันธมิตรใกล้ชิดหลายประเทศ อาทิ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น ก็ได้ประกาศห้าม Huawei พัฒนาเครือข่าย 5G ของตนในขณะที่อีกหลายประเทศ อาทิ ฝรั่งเศส เยอรมันนี อังกฤษ แคนาดา นอร์เวย์ และโปแลนด์ก็กำลังศึกษาพิจารณาว่าเครือข่าย 5G ของ Huawei ถือเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงหรือไม่
     ผลกระทบของมาตรการดังกล่าวของสหรัฐต่อ Huawei ก็ได้กระทบต่อยอดขายของโทรศัพท์ Huawei เป็นอย่างมาก ซึ่งมีมูลค่าในตลาดโลกกว่า 100,000 ล้านเหรียญ เป้าหมายของสหรัฐก็คือต้องการกำจัด Huawei ไปเลย
     สถานการณ์เช่นนี้ทำให้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกถูกบีบให้เลือกข้างว่าจะใช้ 5G ของ Huawei หรือ 5G ของตะวันตก ซึ่งระบบ 5G ของตะวันตกก็จะมีตัวเลือกคือ Nokia และ Ericsson มาตรการดังกล่าวของสหรัฐกระทบต่อการพัฒนา 5G ของจีน และกระทบต่อยุทธศาสตร์ Made in china ของจีนไม่มากก็น้อย
      Rare Earth
     ดังนั้นข่าวการเดินทางเยือนโรงงานแร่หายาก หรือ rare earth ในมณฑลเจียงซี โดย Xi Jin Ping เมื่อช่วงปลายเดือน จึงถือเป็นการส่งสัญญาณให้สหรัฐรู้ว่า การตอบโต้ของจีนต่อการเล่นงาน Huawei ของสหรัฐอาจเป็นการใช้ไพ่ใบสำคัญ คือ การจำกัดการส่งออกแร่หายาก ซึ่งก็จะกระทบต่อบริษัทผลิตสินค้า เทคโนโลยีขั้นสูงของสหรัฐฯ
     แร่หายาก คือ แร่ธาตุสำคัญ 17 ชนิดที่ใช้ผลิตสินค้าเทคโนโลยีขั้นสูง อาทิ โทรศัพท์มือถือ โทรทัศน์ กล้องถ่ายรูป
     จีนคือผู้ส่งออกแร่หายาก 70% ของตลาดโลก ในขณะที่สหรัฐนำเข้าแร่หายากจากจีนถึง 80% จากการนำเข้าจากทั่วโลก สื่อทางการจีนจึงเปิดประเด็นขู่ลดการส่งออกแร่หายากไปยังสหรัฐเป็นมาตรการตอบโต้สงครามการค้า โดยสำนักข่าว Xinhua บอกว่า ยิ่งสหรัฐทำสงครามการค้ากับจีนจะสูญเสียอุปทานสำคัญที่จะล่อเลี้ยงเทคโนโลยีของสหรัฐฯ ในขณะที่หนังสือพิมพ์ Global times ของจีนก็บอกว่า สหรัฐจะต้องเสียใจที่บีบให้จีนต้องใช้แร่หายากเป็นเครื่องมือ หากสหรัฐกดดันจีนมากขึ้นไม่ช้าก็เร็วจีนจะใช้แร่หายากเป็นอาวุธแน่นอน
     ในขณะเดียวกันรัฐบาล Trump ก็มีนโยบายชัดเจนว่า ในอนาคตจะต้องพยายามหาแหล่งแร่ธาตุหายากใหม่ โดยจะไม่ต้องซื้อจากจีนอีก
     กล่าวโดยสรุปสงครามการค้าโลกระหว่างสหรัฐกับจีนกำลังลุกลามบานปลายกันไปใหญ่และไม่มีท่าทีว่าจะยุติสงบศึกกันได้เมื่อไหร่ ผลกระทบต่อไทยก็คงจะมีไม่มากก็น้อย เราคงจะต้องจับตาติดตามสถานการณ์สงครามการค้าโลกในครั้งนี้อย่างใกล้ชิดต่อไป

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ คอลัมน์กระบวนทัศน์ วันที่ 6 มิถุนายน 2562
ที่มารูปภาพ : https://edition.cnn.com/2019/05/30/investing/rare-earths-china-trade-war/index.html

huaweitrade war
Share this

The Author drprapat

ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

More Posts Like This One

1602CF06-063C-476C-9982-1EBF6B7D8048

สงครามการค้าโลก (ตอนที่7)

August 21, 2019
pic

สงครามการค้าโลก (ตอนที่2)

April 25, 2018
2018 (4)

สรุปสถานการณ์โลกปี 2018 และแนวโน้มปี 2019 (ตอนที่ 1)

January 7, 2019
0 Comments General

Leave A Comment Cancel reply

4 + 5 =

 
รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้บรรยายพิเศษในสถาบันต่างๆ อาทิ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันพระปกเกล้า มีงานเขียน งานวิจัย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และมีคอลัมน์ประจำ "กระบวนทรรศน์" ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์และคอลัมน์ประจำ "โลกทรรศน์" ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
  • หนังสือ "ยุทศาสตร์สหรัฐฯต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

  • หนังสือ "ประชาคมเอเชียตะวันออก"

  • หนังสือ "ประชาคมอาเซียน"

  • หนังสือ "สถานการณ์โลกปี 2553 และแนวโน้มปี 2554"

  • ปกนโยบายต่างประเทศ-USA-แก้-2557-07-28-at-3.05.01-PM

1/4

Calendar

January 2021
M T W T F S S
« Apr    
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031

Blog

drprapat-header-3

LINKS

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS) ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS)

Tags

AEC al-Qaeda APEC ARF ASEAN Clinton Donald Trump EAS EU eurozone FTA G-20 ISIS Obama the rise of China TPP UN UNSC WTO การก่อการร้าย การต่างประเทศของไทย การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ความขัดแย้ง ความขัดแย้งทะเลจีนใต้ ความมั่นคง จีน ตะวันออกกลาง ประชาคมอาเซียน ประเทศมหาอำนาจ พม่า ยุทธศาสตร์สหรัฐฯ รัสเซีย วิกฤต Eurozone สงคราม สงครามการค้า สหรัฐ สหรัฐอเมริกา สหรัฐฯ อัฟกานิสถาน อาเซียน อิหร่าน เกาหลีเหนือ เศรษฐกิจ เอเชีย ไทย