Logo
  • หน้าหลัก
  • ประวัติ
  • ผลงานวิชาการ
  • ผลงานอื่นๆ
    • หนังสือ
    • Powerpoint
    • สัมภาษณ์รายการต่างๆ
    • บทความอื่นๆ
  • Blog
  • Gallery ภาพส่วนตัว
  • ติดต่อ
Copyright, 2015 : drprapat.com - All rights reserved.
August 21, 2019
drprapat
บทความ
0

สงครามการค้าโลก (ตอนที่7)

PreviousNext
1602CF06-063C-476C-9982-1EBF6B7D8048

   สงครามการค้าโลกระหว่างสหรัฐฯกับจีน ซึ่งได้เริ่มมาตั้งแต่ต้นปีที่แล้ว ขณะนี้ได้ลุกลามบานปลาย โดยสหรัฐฯได้ขึ้นภาษีสินค้าจีนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงก่อนเดือนสิงหาคมนี้ ได้ขึ้นภาษีสินค้าจีน 25% มูลค่า 250,000 ล้านหรียญ ต่อมา สงครามการค้าลุกลามไปเป็นสงครามเทคโนโลยี Trump ได้ประกาศ ban โทรศัพท์มือถือ Huawei เพื่อบีบให้จีนยอมตามคำเรียกร้องของสหรัฐฯ ได้มีการเจรจากันมาหลายรอบ แต่ก็ล้มเหลวหมด จนเมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคมนี้ Trump ก็ได้ประกาศขึ้นภาษีรอบใหม่ และจีนก็ได้ตอบโต้ด้วยการลดค่าเงินหยวน คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในวันนี้ จะวิเคราะห์สงครามการค้าโลกล่าสุดดังนี้

  สงครามการค้ารอบใหม่
   เมื่อช่วงต้นเดือนสิงหาคมนี้ Trump ได้ประกาศ ขึ้นภาษี 10% สินค้าจีนมูลค่า 300,000 ล้านเหรียญ เหตุผลสำคัญคือ การเจรจาล่าสุดได้ล้มเหลวอีก หลังจากที่ผู้นำของทั้งสองประเทศ ได้หารือกันในการประชุมสุดยอด G20 และได้ประกาศพักรบชั่วคราว
   ก่อนหน้านี้ สหรัฐฯได้ขึ้นภาษีสินค้าจีน 25% มูลค่า 250,000 ล้านเหรียญไปแล้ว ดังนั้น การประกาศขึ้นภาษีรอบใหม่ จึงทำให้สินค้าจีนที่ส่งออกไปสหรัฐฯทั้งหมด มูลค่า 550,000 ล้านเหรียญ ถูกปรับขึ้นภาษีทั้งหมด
   ผลกระทบของการประกาศขึ้นภาษีรอบใหม่ ทำให้ตลาดหุ้นตกทั่วโลก โดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐฯตกลงมากที่สุดในรอบปี ราคาน้ำมันก็ตกลงเพราะความกังวลว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศต่างๆทั่วโลกมีแนวโน้มลดลง

  สงครามค่าเงิน
   จีนได้ตอบโต้การขึ้นภาษีรอบใหม่ของ Trump อย่างรวดเร็ว ด้วยการลดค่าเงินหยวนลงต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี ก่อนหน้านี้ รัฐบาล Trump ได้เตือนจีนไว้แล้วว่า หากปล่อยให้ค่าเงินหยวนลดต่ำลงกว่า 7 หยวนต่อ 1 เหรียญสหรัฐ กระทรวงการคลังสหรัฐฯจะประกาศว่า จีนเป็นประเทศที่มีการบิดเบือนค่าเงิน หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า currency manipulator ซึ่งตามกฎหมายสหรัฐฯ ประเทศที่ถูกประกาศว่าบิดเบือนค่าเงิน จะถูกลงโทษด้วยมาตรการทางเศรษฐกิจหลายมาตรการ
   ในคำประกาศของกระทรวงการคลังสหรัฐฯระบุว่า จีนมีประวัติอันยาวนานในการที่รัฐบาลเข้าแทรกแซงตลาดเงินตรา และในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา รัฐบาลจีนได้เข้าแทรกแซงเพื่อลดค่าเงินหยวน นับเป็นครั้งแรก ในรอบ 30 ปี ที่สหรัฐประกาศประเทศที่เป็น currency manipulator
   สำหรับปฏิกิริยาของจีน ธนาคารกลางของจีนได้ออกมาตอบโต้อย่างรุนแรง โดยกล่าวว่า การกระทำของสหรัฐฯ จะทำลายกฎกติการะหว่างประเทศ และจะมีผลกระทบอย่างมากต่อเศรษฐกิจและการเงินโลก หลังจากถูกระบุว่าเป็น currency manipulator แต่รัฐบาลจีนก็ไม่ยอมถอย และปล่อยให้ค่าเงินหยวนอ่อนตัวต่อไป ซึ่งเท่ากับเป็นการส่งสัญญาณอย่างชัดเจนว่า จีนพร้อมที่จะเดินหน้าชนกับสหรัฐฯต่อไปในสงครามการค้า
   สำหรับจีนแล้ว เงินหยวนที่อ่อนค่าลง จะช่วยลดผลกระทบจากการที่สินค้าจีนที่ส่งออกไปสหรัฐฯถูกขึ้นภาษี
   ในการทำสงครามการค้ากับสหรัฐฯ จีนเสียเปรียบ เพราะจีนนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯเพียง 100,000ล้านเหรียญ ในขณะที่จีนส่งออกไปสหรัฐฯ 500,000 ล้านเหรียญ ดังนั้น จีนจึงต้องหาวิธีในการตอบโต้นอกเหนือจากการขึ้นภาษีตอบโต้ ที่ผ่านมา จีนพยายามหาอาวุธใหม่ๆ มาทำสงครามกับสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นการขู่ว่าจะจำกัดการส่งออกแร่มีค่าหายาก หรือ rare earth การขู่ว่าจะขายพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯทิ้ง ซึ่งจีนถือไว้กว่าล้านล้านเหรียญ และล่าสุดก็ใช้อาวุธการลดค่าเงินหยวนมาสู้กับสหรัฐฯ

  แนวโน้มสงคราม
   สงครามการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯ มีแนวโน้มลุกลามบานปลายหนักขึ้นเรื่อยๆ ทางออกที่จะยุติสงครามการค้าในครั้งนี้คือการเจรจา แต่การเจรจาระหว่างสหรัฐฯกับจีนในครั้งนี้ก็มีลักษณะที่น่าจะประสบความสำเร็จได้ยาก เพราะเป็นการเจรจาที่สหรัฐฯเรียกร้องต่อจีนฝ่ายเดียว บีบให้จีนตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ ซึ่งมีมากมายหลายประการ ที่จีนไม่สามารถที่จะยอมรับได้ จึงทำให้ดูแล้ว สงครามการค้าคงจะยืดเยื้อต่อไปอีกยาวนาน
   หากดูรายละเอียดประเด็นการเจรจา ข้อเรียกร้องของสหรัฐฯ จะเห็นถึงแนวโน้มของสงครามได้ชัดเจนขึ้น ซึ่งข้อเรียกร้องของสหรัฐหลักๆมีหลายเรื่องดังนี้
   ข้อเรียกร้องของสหรัฐฯที่นำไปสู่การขึ้นภาษีสินค้าจีน คือ สหรัฐฯต้องการให้จีนยุติการบังคับการถ่ายโอนเทคโนโลยี ยุติการขโมยทรัพย์สินทางปัญญา ยุติการขโมยเทคโนโลยี ยุติการทำสงคราม cyber และให้รัฐบาลจีนยุติการอุดหนุนและสนับสนุนภาคเอกชนจีน

   • การอุดหนุนของรัฐบาล (subsidy)
   หัวใจของข้อเรียกร้องของสหรัฐฯคือ การให้จีนเปลี่ยนโยบายเศรษฐกิจของจีนใหม่ โดยเฉพาะให้ยุติการที่รัฐบาลจีนสนับสนุนภาคเอกชนของจีน ซึ่งทำให้บริษัทของจีน ได้เปรียบ และทำให้บริษัทต่างชาติเสียเปรียบ แต่การที่สหรัฐฯเรียกร้องให้รัฐบาลจีนยุติการให้เงินอุดหนุนภาคเอกชนของรัฐบาลจีนนั้น เป็นสิ่งที่จีนยอมรับไม่ได้ เพราะการให้เงินอุดหนุนจากภาครัฐนั้น เป็นหัวใจของนโยบายเศรษฐกิจจีน และเป็นหัวใจของระบบทุนนิยมจีน ที่รัฐมีบทบาทสำคัญ การยุติบทบาทของภาครัฐและเงินอุดหนุนของภาครัฐ เท่ากับจะเป็นการทำให้ระบบเศรษฐกิจของจีนล่มสลาย

   • การขโมยเทคโนโลยีและทรัพย์สินทางปัญญา
   สหรัฐฯเรียกร้องให้จีนยุติการขโมยเทคโนโลยีและทรัพย์สินทางปัญญาของสหรัฐฯ โดย Trump มุ่งเป้าไปที่ Huawei ที่ถูกกล่าวหาว่า ใช้โทรศัพท์มือถือและเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในการขโมยข้อมูลความลับและเทคโนโลยีของสหรัฐฯ และหาก Huawei ได้เข้าควบคุมเครือข่าย 5G ในอนาคต ก็จะสามารถขโมยข้อมูลความลับและทำลายเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ทั้งของหน่วยงานราชการ กระทรวงกลาโหม ระบบการเงิน และระบบสาธารณูปโภคของสหรัฐฯได้

   • เศรษฐกิจดิจิทัล
   ข้อเรียกร้องของสหรัฐฯที่เป็นเรื่องใหญ่อีกเรื่องหนึ่ง คือ การบีบให้จีนเปิดเสรีเศรษฐกิจ ดิจิทัลของจีน สหรัฐโจมตีจีนว่า มีข้อจำกัดมากมายต่อบริษัทต่างชาติในการทำธุรกิจดิจิทัลในจีน โดยบริษัทต่างชาติจะต้องเก็บข้อมูล cloud ในจีน ในขณะที่บริษัทยักษ์ใหญ่ e-commerce ของจีนคือ Alibaba สามารถที่จะจัดตั้งบริษัทเก็บข้อมูลใน cloud ในสหรัฐฯได้อย่างเสรี แต่บริษัท Apple ของสหรัฐฯกลับถูกบังคับให้ต้องมีหุ้นส่วนเป็นบริษัทของจีนในการที่จะให้บริการ icloud ในจีนได้
   ในมุมมองของสหรัฐฯ การที่บริษัทสหรัฐฯจะต้องพึ่งพาบริษัท cloud ของจีน และต้องเก็บข้อมูลในจีน อาจจะทำให้ข้อมูลความลับต่างๆ ที่อยู่ใน cloud ถูกขโมยได้
   การที่จีนกีดกันบริษัทต่างชาติที่ทำธุรกิจดิจิทัลในจีน ทำให้บริษัทของจีนอยู่ในสถานะได้เปรียบมาก จะเห็นได้ว่าธุรกิจดิจิทัลในจีน บริษัทจีนผูกขาดทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น Wechat, Baidu, Tencent, Alibaba ซึ่งทางฝ่ายจีนก็จะไม่ยอมทำตามข้อเรียกร้องของสหรัฐอย่างแน่นอน โดยจีนอ้างว่า จะไม่ยอมสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางดิจิทัล (digital sovereignty) และจีนจะไม่มีทางยอมเปิดเสรีเศรษฐกิจดิจิทัลของตน

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ คอลัมน์กระบวนทรรศน์ วันที่ 14 สิงหาคม 2562

trade warสงครามการค้าสงครามการค้าจีน-สหรัฐสงครามการค้าโลกสงครามจีน-อเมริกา
Share this

The Author drprapat

ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

More Posts Like This One

images

สหรัฐฯตัด GSP: สงครามการค้าลามถึงไทย? (ตอนที่ 1)

December 6, 2019
trade+war+mgn+with+credits

สงครามการค้าโลก (ตอนที่ 6)

July 18, 2019
81FB1768DF894932A8337B8799CF5C39

สหรัฐฯตัด GSP: สงครามการค้าลามถึงไทย? (ตอนที่ 2)

December 19, 2019
0 Comments General

Leave A Comment Cancel reply

81 + = 87

 
รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้บรรยายพิเศษในสถาบันต่างๆ อาทิ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันพระปกเกล้า มีงานเขียน งานวิจัย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และมีคอลัมน์ประจำ "กระบวนทรรศน์" ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์และคอลัมน์ประจำ "โลกทรรศน์" ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
  • หนังสือ "ยุทศาสตร์สหรัฐฯต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

  • หนังสือ "ประชาคมเอเชียตะวันออก"

  • หนังสือ "ประชาคมอาเซียน"

  • หนังสือ "สถานการณ์โลกปี 2553 และแนวโน้มปี 2554"

  • ปกนโยบายต่างประเทศ-USA-แก้-2557-07-28-at-3.05.01-PM

1/4

Calendar

April 2021
M T W T F S S
« Apr    
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930  

Blog

drprapat-header-3

LINKS

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS) ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS)

Tags

AEC al-Qaeda APEC ARF ASEAN Clinton Donald Trump EAS EU eurozone FTA G-20 ISIS Obama the rise of China TPP UN UNSC WTO การก่อการร้าย การต่างประเทศของไทย การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ความขัดแย้ง ความขัดแย้งทะเลจีนใต้ ความมั่นคง จีน ตะวันออกกลาง ประชาคมอาเซียน ประเทศมหาอำนาจ พม่า ยุทธศาสตร์สหรัฐฯ รัสเซีย วิกฤต Eurozone สงคราม สงครามการค้า สหรัฐ สหรัฐอเมริกา สหรัฐฯ อัฟกานิสถาน อาเซียน อิหร่าน เกาหลีเหนือ เศรษฐกิจ เอเชีย ไทย