Logo
  • หน้าหลัก
  • ประวัติ
  • ผลงานวิชาการ
  • ผลงานอื่นๆ
    • หนังสือ
    • Powerpoint
    • สัมภาษณ์รายการต่างๆ
    • บทความอื่นๆ
  • Blog
  • Gallery ภาพส่วนตัว
  • ติดต่อ
Copyright, 2015 : drprapat.com - All rights reserved.
December 6, 2019
drprapat
บทความ
0

สหรัฐฯตัด GSP: สงครามการค้าลามถึงไทย? (ตอนที่ 1)

PreviousNext
images

  ถ้าเราอยากจะเข้าใจว่า ทำไม Trump จึงตัด GSP ไทย เราอาจจะต้องย้อนไปดูว่า Trump คิดอย่างไร มองโลกอย่างไร มีนโยบายยุทธศาสตร์อย่างไร เเละการตัด GSP เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การค้าของ Trump หรือไม่ เเละจะลุกลามบานปลายกลายเป็นสงครามการค้าระหว่างไทยกับสหรัฐหรือไม่

   นโยบายการค้าของ Trump

  Trump เป็นนักการเมืองที่มีเเนวคิดแบบอนุรักษ์นิยมขวาจัดสุดโต่ง ตอนที่หาเสียงเลือกตั้ง Trump ก็หาเสียงว่า สหรัฐกำลังตกต่ำ เเละเขาจะ Make America Great Again และ America First คือ ทุกสิ่งทุกอย่างอเมริกาจะต้องได้ประโยชน์ อเมริกาต้องมาก่อน ที่ผ่านมา อเมริกาถูกเอาเปรียบมาโดยตลอด ต่อไปนี้เขาจะไม่ยอมให้ใครเอาเปรียบอเมริกาอีก

  Trump บอกว่า สาเหตุที่อเมริกาตกต่ำ เพราะ โลกาภิวัตน์ ข้อตกลงการค้าเสรี หรือ FTA อเมริกาเปิดประเทศ ในขณะที่ประเทศอื่นปิดหมด ทำให้อเมริกาเสียเปรียบมานาน นอกจากนี้ บริษัทอเมริกันย้ายฐานการผลิตไปตั้งโรงงานในประเทศที่มีต้นทุนการผลิตต่ำกว่า ทำให้โรงงานในอเมริกาต้องปิดตัวลง คนงานอเมริกันตกงานกว่า 10 ล้านคน

  นอกจากนี้ สินค้าราคาถูกจากจีนก็เข้ามาตีตลาด ทำให้โรงงานอเมริกันต้องปิดกิจการไปกว่า 50,000 โรง เเละคนงานอเมริกันตกงานกว่า 10 ล้านคน Trump ให้คำมั่นสัญญาว่า ถ้าได้เป็นประธานาธิบดี จะจัดการกับสาเหตุเหล่านี้ จะปิดประเทศ จะเเก้ไขหรือยกเลิกข้อตกลงการค้าเสรี และจะกดดันให้ประเทศต่างๆเปิดเสรีให้กับสหรัฐ รวมทั้งบีบให้บริษัทอเมริกันย้ายฐานการผลิตกลับประเทศ เเละจะเล่นงานจีน

  หลังจากนั้น เมื่อ Trump ได้เป็นประธานาธิบดี เขาก็ได้ทำในสิ่งที่เขาสัญญาไว้ คือ ปิดประเทศ ใช้มาตรการปกป้องทางการค้า และไล่บี้ประเทศคู่ค้าต่างๆ ให้ยอมทำตามข้อเรียกร้องของสหรัฐ

  สำหรับยุทธศาสตร์การค้าต่อเอเชีย Trump ได้กำหนดยุทธศาสตร์ Indo-Pacific Strategy โดยเน้นการปิดล้อมจีนทางเศรษฐกิจ ใช้ยุทธศาสตร์ hub and spokes โดยอเมริกาจะเป็น hub เป็นดุมล้อทางด้านเศรษฐกิจ เเละประเทศคู่ค้าต่างๆจะเป็น spokes เป็นซี่ล้อ Trump ไม่เอาพหุภาคีนิยม (multilateralism) เเต่จะใช้ยุทธศาสตร์ใหม่ คือ เอกาภาคีนิยม (unilateralism) ไล่บี้ทีละประเทศ โดยเริ่มจากการไล่บี้จีน ไล่บี้ญี่ปุ่น ไล่บี้เกาหลีใต้ เเละที่น่าวิตกกังวล คือ Trump กำลังจะมาไล่บี้ไทยหรือไม่

  Trump ได้ขึ้นภาษีสินค้าจีนไปแล้วกว่า 5 แสนล้านเหรียญ เจรจาปรับ FTA กับเกาหลีใต้ เเละเจรจาข้อตกลงการค้ากับญี่ปุ่นไปแล้ว และตอนนี้ก็อาจจะถึงคราวของไทย ที่สหรัฐจะกดดันให้ไทยเจรจาข้อตกลงการค้ากับสหรัฐ

   สงครามการค้าลามถึงไทยแล้วหรือยัง?

  มีสิ่งบอกเหตุหลายอย่าง ที่อาจทำให้เราต้องระมัดระวังว่า สงครามการค้ากำลังจะลามถึงไทย อเมริกาจะมาไล่บี้ไทยเเล้วหรือยัง

   currency manipulator

  สิ่งบอกเหตุประการแรก คือ เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา เเบงค์ชาติและกระทรวงการคลัง กังวลว่า อเมริกาจะประกาศให้ไทยเป็น currency manipulator หรือเป็นประเทศที่บิดเบือนค่าเงินตรา โดยเงื่อนไขของการเป็น currency manipulator คือ

  - มีเงินเกินดุลบัญชีเดินสะพัดกับสหรัฐ เกิน 3% ของ GDP

  - ซื้อเงินสกุลต่างประเทศเกิน 2% ของ GDP เเละ

  - เกินดุลการค้ากับสหรัฐเกิน 2 หมื่นล้านเหรียญ

   นี่คือเงื่อนไขในการบอกว่า ประเทศไหน คือ currency manipulator และจะต้องถูกมาตรการลงโทษ ไทยเกินดุลการค้ากับอเมริกา 13,000 ล้านเหรียญ ยังไม่ถึงที่เกณฑ์ที่กำหนด แต่เราเกินดุลบัญชีเดินสะพัดกับอเมริกาถึง 7% ของ GDP เพราะฉะนั้น ไทยก็อยู่ในข่ายที่จะโดนเล่นงาน

  ไทยเป็น 1 ใน 20 ประเทศที่เกินดุลการค้ากับสหรัฐ ซึ่งอยู่ในข่ายที่อเมริกาจะเล่นงาน หากไทยถูกหมายหัวเป็น currency manipulator ก็จะถูกตัด GSP

•    การแบนสารเคมีกำจัดวัชพืช

  ต่อมาในเดือนตุลาคม รัฐบาลไทยประกาศเเบนสารเคมีกำจัดวัชพืช หลังจากนั้น กระทรวงเกษตรสหรัฐก็ได้มีหนังสือขอให้ไทยชะลอการเเบน โดยอ้างว่า การเเบนสารดังกล่าว ไทยไม่ยึดหลักฐานทางวิทยาศาสตร์จาก WTO ประเทศอื่นก็ไม่เเบนกัน สหรัฐ EU ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย FAO ก็ไม่เเบน อเมริกากลัวว่า การส่งออกถั่วเหลือง ข้าวสาลี กาแฟ แอปเปิ้ล องุ่น มาไทย จะมีปัญหาเพราะมีสารนี้ตกค้างอยู่

•    การตัด GSP

  สิ่งบอกเหตุสงครามการค้าประการที่สาม คือ การประกาศในวันที่ 25 ตุลาคมว่า สหรัฐจะตัด GSP ไทย โดยจะตัด GSP สำหรับสินค้าไทย 573 รายการ ไทยใช้สิทธิ์ GSP สูงเป็นอันดับสองรองจากอินเดีย ผลกระทบจากการถูกตัด GSP ไม่น่าจะกระทบมากนัก

   แต่คำถามสำคัญ คือ อะไรคือเหตุผลที่อเมริกาตัด GSP ไทย เหตุผลที่อเมริกาอ้าง คือ เรื่องสิทธิแรงงาน หรือว่ามีเหตุผลแอบแฝงอื่น

  เหตุผลแอบแฝงข้อเเรก คือ อเมริกาต้องการลดการขาดดุลการค้ากับไทย การตัด GSP เป็นการส่งสัญญาณว่า ไทยต้องดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อลดการได้ดุลการค้ากับสหรัฐ

  เหตุผลแอบแฝงข้อที่สอง คือ ไทย ban การนำเข้าเนื้อหมูจากสหรัฐ ซึ่งเป็นเรื่องที่สหรัฐร้องเรียนมาหลายครั้ง

  เหตุผลแอบแฝงข้อที่สาม คือ ไทย ban สารเคมีกำจัดวัชพืช

  เหตุผลแอบแฝงข้อที่สี่ คือ ไทยใกล้ชิดกับจีนมากเกินไป โดยก่อนหน้าที่จะโดนตัด GSP เพียงไม่กี่วัน ดร.สมคิด ได้เดินทางไปเยือนจีน พบปะกับประธาน Huawei และประกาศตัดสินใจว่า ไทยจะเลือกเครือข่าย 5G ของ Huawei เรื่องนี้เป็นประเด็นการเมืองระหว่างประเทศ เป็นประเด็นขัดแย้งสงครามการค้าจีนกับสหรัฐอยู่ Trump ได้ประกาศแบน Huawei เเละบีบประเทศต่างๆไม่ให้ใช้ 5G ของ Huawei และต้องใช้ 5G ของตะวันตก ซึ่งก็มีของ Ericsson และ Nokia ที่เป็นคู่แข่งกับ Huawei ประเทศที่เป็นพันธมิตรใกล้ชิดกับสหรัฐ ก็แบน Huawei กันไปแล้วหลายประเทศ สิงคโปร์และเวียดนามก็ประกาศใช้ 5G ของ Ericsson ไทยตัดสินใจใช้ 5G ของ Huawei ก็คงจะทำให้สหรัฐไม่พอใจ

   (โปรดติดตามอ่านต่อตอนที่ 2 ในคอลัมน์กระบวนทรรน์ หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 15 ธันวาคม 2562)

ที่มา :คอลัมน์กระบวนทรรน์ หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 4 ธันวาคม 2562)
ที่มารูปภาพ : https://www.matichon.co.th/politics/news_1727855

สงครามการค้าสงครามการค้าลามถึงไทยสหรัฐฯตัด GSP
Share this

The Author drprapat

ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

More Posts Like This One

trade+war+mgn+with+credits

สงครามการค้าโลก (ตอนที่ 6)

July 18, 2019
1F37E892-C4DD-4203-9E32-829E53D22E48

สงครามการค้าโลก (ตอนที่ 8)

September 18, 2019
81FB1768DF894932A8337B8799CF5C39

สหรัฐฯตัด GSP: สงครามการค้าลามถึงไทย? (ตอนที่ 2)

December 19, 2019
0 Comments General

Leave A Comment Cancel reply

81 − = 80

 
รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้บรรยายพิเศษในสถาบันต่างๆ อาทิ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันพระปกเกล้า มีงานเขียน งานวิจัย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และมีคอลัมน์ประจำ "กระบวนทรรศน์" ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์และคอลัมน์ประจำ "โลกทรรศน์" ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
  • หนังสือ "ยุทศาสตร์สหรัฐฯต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

  • หนังสือ "ประชาคมเอเชียตะวันออก"

  • หนังสือ "ประชาคมอาเซียน"

  • หนังสือ "สถานการณ์โลกปี 2553 และแนวโน้มปี 2554"

  • ปกนโยบายต่างประเทศ-USA-แก้-2557-07-28-at-3.05.01-PM

1/4

Calendar

January 2021
M T W T F S S
« Apr    
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031

Blog

drprapat-header-3

LINKS

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS) ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS)

Tags

AEC al-Qaeda APEC ARF ASEAN Clinton Donald Trump EAS EU eurozone FTA G-20 ISIS Obama the rise of China TPP UN UNSC WTO การก่อการร้าย การต่างประเทศของไทย การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ความขัดแย้ง ความขัดแย้งทะเลจีนใต้ ความมั่นคง จีน ตะวันออกกลาง ประชาคมอาเซียน ประเทศมหาอำนาจ พม่า ยุทธศาสตร์สหรัฐฯ รัสเซีย วิกฤต Eurozone สงคราม สงครามการค้า สหรัฐ สหรัฐอเมริกา สหรัฐฯ อัฟกานิสถาน อาเซียน อิหร่าน เกาหลีเหนือ เศรษฐกิจ เอเชีย ไทย