Logo
  • หน้าหลัก
  • ประวัติ
  • ผลงานวิชาการ
  • ผลงานอื่นๆ
    • หนังสือ
    • Powerpoint
    • สัมภาษณ์รายการต่างๆ
    • บทความอื่นๆ
  • Blog
  • Gallery ภาพส่วนตัว
  • ติดต่อ
Copyright, 2015 : drprapat.com - All rights reserved.
September 28, 2018
drprapat
บทความ
0

อาเซียนกับ BRI (Belt and Road Initiative)

PreviousNext
AEC Focus-Marsh-w

ยุทธศาสตร์ BRI ของจีนต่ออาเซีอน
BRI หรือ Belt and Road Initiative เป็นยุทธศาสตร์ใหญ่ของจีน ที่จะลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เชื่อมจีนกับประเทศต่าง ๆ กว่า 70 ประเทศ ทั่วภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ เอเชียกลาง ตะวันออกกลาง ยุโรป และแอฟริกา

สำหรับ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น เป็น 1 ใน 3 เส้นทางหลักของ BRI หรือเส้นทางสายไหมใหม่ โดยจีนต้องการจะสร้างโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมจีนกับอาเซียน โดยเฉพาะการสร้างถนนและทางรถไฟจากคุนหมิงถึงสิงคโปร์ และเส้นทางสายไหมทางทะเล เชื่อมทะเลจีนใต้กับอาเซียนไปจนถึงมหาสมุทรอินเดีย

จีนมียุทธศาสตร์แบ่งประเทศอาเซียนออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก คือ ประเทศแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 5 ประเทศ ได้แก่ พม่า ไทย ลาว กัมพูชา และเวียดนาม กลุ่มที่สอง คือ กลุ่มประเทศที่เป็นเกาะ 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์

สำหรับกลุ่มแรกนั้น จีนมียุทธศาสตร์ใช้ไทยเป็น hub หรือเป็นศูนย์กลางสำคัญสำหรับโครงการ BRI ในแผ่นดินใหญ่เอเชียตะวันอกเฉียงใต้ เพราะไทยมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์อยู่ตรงกลางอาเซียน และความสัมพันธ์ไทยกับจีนก็มีความใกล้ชิดสนิทสนมกันมาโดยตลอด

ส่วนกัมพูชาและลาวนั้น แม้ว่าขณะนี้จะใกล้ชิดกับจีนมากทางด้านเศรษฐกิจ แต่ในแง่ของที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ ก็ไม่เหมาะที่จะเป็น hub  และสองประเทศนี้ก็มีขนาดเศรษฐกิจที่เล็กเกินไป ส่วนเวียดนาม ด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์และความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ เวียดนามจึงไม่ค่อยสนใจ BRI  ในขณะที่พม่าก็มีปัญหาการเมืองภายใน แม้ว่าจะสนใจ BRI อยู่บ้าง แต่ขณะนี้พม่าก็มีแนวโน้มที่ต้องการจะถอยห่างจากจีน

สำหรับกลุ่มที่สอง จีนตั้งเป้าว่า จะใช้มาเลเซียเป็น hub ของ BRI ในส่วนของกลุ่มประเทศอาเซียนที่เป็นเกาะ โดยมาเลเซียมีระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ก้าวหน้า และในช่วงที่ผ่านมา ในสมัยรัฐบาล Najib มาเลเซียก็ใกล้ชิดสนิทสนมกับจีนเป็นอย่างมาก

สำหรับประเทศอื่น ก็ไม่พร้อมจะเป็น hub ฟิลิปปินส์มีปัญหาขัดแย้งทะเลจีนใต้กับจีน และนโยบายก็ไม่แน่นอน ในขณะที่อินโดนีเซีย ประเทศใหญ่ที่สุดในอาเซียน ก็ต้องการสกัดกั้นอิทธิพลของมหาอำนาจในภูมิภาค เช่นเดียวกับสิงคโปร์ ที่ใกล้ชิดกับสหรัฐฯ มากเป็นพิเศษ และมีท่าทีต้องการถ่วงดุลจีน

ยุทธศาสตร์ของอาเซียน

อาเซียนเองก็มีโครงการโครงสร้างพื้นฐานของตนเองที่เรียกว่า  Master Plan on ASEAN Connectivity โดยมีโครงการจะสร้างถนนทางรถไฟเชื่อมประเทศอาเซียน รวมทั้งเชื่อมอาเซียนกับประเทศนอกภูมิภาคด้วย โดยเฉพาะกับจีน และอินเดีย

ดังนั้น อาเซียนจึงมองว่า แผนแม่บทการเชื่อมโยงอาเซียน จะสอดรับกับแผน BRI ของจีนได้เป็นอย่างดี

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าอาเซียนดูจะได้รับประโยชน์มหาศาลจาก BRI แต่ BRI ก็ดูเหมือนเป็นดาบสองคม ที่จะส่งผลกระทบในทางลบต่ออาเซียนด้วย โดยเฉพาะความกังวลใจของประเทศอาเซียน ที่จีนจะเข้ามาครอบงำเศรษฐกิจของอาเซียน ประเทศอาเซียนจะต้องพึ่งพาจีนมากเกินไป BRI จะทำให้จีนครอบงำภูมิภาค และจะทำให้ประเทศอาเซียนสูญเสียอิสรภาพทางเศรษฐกิจ อำนาจอธิปไตยทางเศรษฐกิจ และบูรณาการทางเศรษฐกิจ

มาเลเซีย

โครงการ BRI ในมาเลเซีย เป็นตัวอย่างที่ดี ที่จะชี้ให้เห็นถึงปัญหาของ BRI ในอาเซียนในขณะนี้ ในสมัยรัฐบาล Najib มาเลเซียได้ร่วมมือกับจีนในโครงการรถไฟทางภาคตะวันออกของประเทศ ชื่อว่า East Coast Rail Link มูลค่ากว่า 20,000 ล้านเหรียญ แต่จะเป็นการลงทุนและสร้างโดยบริษัทของจีนเกือบทั้งหมด ประธานสถาบันวิจัยของ CIMB  บอกว่า มาเลเซียไม่ต้องการจะสูญเสียอำนาจอธิปไตยทางเศรษฐกิจให้กับจีน

ต่อมา นายกรัฐมนตรีคนใหม่ของมาเลเซีย Dr. Mahathir Mohamad ได้ปรับนโยบายต่อ BRI และต่อจีนใหม่หมด โดยในระหว่างการเยือนจีนในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา Dr. Mahathir ได้ประกาศว่า จะระงับโครงการดังกล่าว รวมทั้งโครงการสร้างท่อส่งน้ำมันในรัฐ Sabah ที่จีนลงทุนด้วย โดย Dr. Mahathir ได้เน้นว่าโครงการเหล่านี้มีมูลค่าการลงทุนมหาศาล และมาเลเซียไม่ต้องการมีหนี้สินล้นพ้นตัวกับจีน โดยขณะนี้มาเลเซียมีหนี้ต่างประเทศถึง 200,000 ล้านเหรียญ คิดเป็น 70% ของ GDP และ Dr. Mahathir ยังได้กล่าวเตือนถึงอันตรายของการเกิดขึ้นของลัทธิล่าอาณานิคมใหม่ โดย Dr. Mahathir ใช้คำว่า New Colonialism แม้ว่า Dr. Mahathir จะไม่ได้กล่าวหาว่า จีนกำลังดำเนินนโยบายล่าอาณานิคมใหม่ แต่ก็คงจะตีความได้ว่าคงจะหมายถึงจีน

โดยปกติแล้ว หากประเทศใดที่ร่วมโครงการ BRI กับจีนมีท่าทีเช่นนี้ จีนก็จะตอบโต้อย่างรุนแรง แต่ในกรณีของมาเลเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่จีนให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก จีนจึงพยายามประนีประนอม

ฟิลิปปินส์

สำหรับฟิลิปปินส์ก็เป็นอีกประเทศหนึ่ง ที่ได้ปรับเปลี่ยนท่าทีกับจีนเป็นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา จากในตอนแรกประธานาธิบดี Duterte ได้พยายามตีสนิทกับจีน แต่ในช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ผู้นำฟิลิปปินส์ก็ได้วิพากษ์วิจารณ์จีนอย่างรุนแรง โดยเฉพาะในกรณีความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ ประชาชนชาวฟิลิปปินส์เริ่มไม่พอใจต่อนโยบายของ Duterte ต่อจีน โดยมองว่า Duterte มีนโยบายประนีประนอมต่อจีนมากเกินไป และฟิลิปปินส์ควรจะตอกย้ำจุดยืนในเรื่องทะเลจีนใต้ ในขณะที่ Duterte เอง ก็คงจะประเมินสถานการณ์ในช่วงที่ผ่านมา ที่พยายามเข้าหาจีน และ pro จีน แต่ก็ไม่ได้รับความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจจากจีนที่เป็นชิ้นเป็นอัน รวมทั้งโครงการ BRI ก็ยังไม่เป็นรูปเป็นร่าง

ไทย

สำหรับในกรณีของไทย ก็เจอปัญหาเช่นเดียวกัน ในช่วงแรกของรัฐบาล คสช. ไทยพยายามจะเจรจากับจีนในโครงการ BRI ที่จะทำให้ไทย เป็น hub เชื่อมอาเซียนกับจีน โดยมองว่า ไทยมีที่ตั้งทางภูมิศาสตร์เป็นศูนย์กลางของอาเซียน โครงการ BRI ที่ไทยร่วมมือกับจีนคือ โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-หนองคาย แต่การเจรจาก็ติดขัดยืดเยื้อหลายปี ทำให้จีนไม่พอใจเป็นอย่างมาก การเจรจายืดเยื้อเพราะ ไทยกลัวเสียเปรียบและกลัวจะพึ่งพาจีนมากเกินไป จีนก็คงจะเคยชินกับการที่ประเทศเล็ก ๆ อย่างเช่น ลาว กัมพูชา จะต้องยอมจีนทุกอย่าง จนเมื่อปีที่แล้ว ไทยจึงตัดสินใจที่จะไม่กู้เงินจากจีน โดยจะออกเงินลงทุนเองทั้งหมด และจะสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูง จากกรุงเทพไปถึงแค่โคราชเท่านั้น

ลาว

สำหรับโครงการ BRI ในลาวนั้น คือโครงการรถไฟความเร็วสูง ที่จีนต้องการสร้างจากคุนหมิงมาที่เวียงจันทน์ และจะมาเชื่อมกับเส้นทางสายหนองคาย-กรุงเทพ ลงไปถึงสิงคโปร์ โดยโครงการนี้เริ่มต้นจากการสร้างทางรถไฟจากคุนหมิงมาที่เวียงจันทน์ เงินลงทุนมูลค่ากว่า 6,000 ล้านเหรียญ ซึ่งคิดเป็น 70% ของ GDP ลาว ทำให้ขณะนี้ ลาวเริ่มกังวลใจแล้วว่า ลาวอาจจะไม่สามารถใช้คืนเงินกู้ให้จีนได้ ในขณะที่จีนได้สิทธิ์พัฒนาที่ดินสองข้างทางรถไฟทั้งหมด และใช้บริษัทจีนและคนงานจีนทั้งหมด นอกจากนี้ ลาวเริ่มสงสัยว่า เส้นทางรถไฟสายนี้ลาวคงจะไม่ได้ประโยชน์อะไร แต่น่าจะเป็นคนจีนที่จะใช้ประโยชน์จากเส้นทางรถไฟสายนี้

จากข้อมูลของ Center from Global Development ได้ระบุว่า ลาวเป็น 1 ใน 8 ประเทศที่มีความเปราะบางทางด้านการเงินมากที่สุดในโลก กล่าวคือ ลาวมีความเป็นได้สูงมากที่จะมีหนี้สินล้นพ้นตัว และจะไม่สามารถใช้คืนเงินกู้ได้

กล่าวโดยสรุป โครงการ BRI ของจีนในอาเซียนกำลังประสบปัญหาอย่างหนัก โดยเฉพาะประเทศที่จีนตั้งเป้าว่า จะให้เป็น hub คือมาเลเซียและไทย ก็กำลังมีปัญหากับจีน ประเทศอาเซียนกำลังตกอยู่ในสภาวะที่เรียกว่า dilemma คือในแง่หนึ่ง อาเซียนก็ต้องการผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจจากจีน แต่ในขณะเดียวกันอาเซียนก็ไม่ต้องการให้จีนครอบงำเศรษฐกิจของตน ประเทศอาเซียนจึงกำลังเล่นเกมที่มีลักษณะผสมผสานกันระหว่างการปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ รวมทั้งร่วมโครงการ BRI กับจีน แต่ในขณะเดียวกัน ก็เล่นเกมถ่วงดุลอำนาจกับจีน โดยการดึงเอามหาอำนาจเศรษฐกิจอื่น ๆ มาถ่วงดุลจีน เพื่อป้องกันไม่ให้จีนครอบงำเศรษฐกิจของอาเซียน

ที่มา: หนังสือพิมพ์ ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 27 กันยายน 2561

ที่มารูปภาพ : http://www3.asiainsurancereview.com/Magazine/ReadMagazineArticle/aid/39940/China-s-Belt-Road-Initiative-Opportunities-and-risks-for-ASEAN

ASEANBRIChinaChina-ASEAN Community
Share this

The Author drprapat

ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

More Posts Like This One

feature_20181004_post_event

ยุทธศาสตร์สหรัฐฯ ต่อจีน ปี 2018

October 11, 2018
asean flag_1

สถาปัตยกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาค

December 1, 2017
china-proposed-belt-road-initiative

Belt and Road Initiative (BRI): 2018

August 17, 2018
0 Comments General

Leave A Comment Cancel reply

− 3 = 1

 
รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้บรรยายพิเศษในสถาบันต่างๆ อาทิ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันพระปกเกล้า มีงานเขียน งานวิจัย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และมีคอลัมน์ประจำ "กระบวนทรรศน์" ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์และคอลัมน์ประจำ "โลกทรรศน์" ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
  • หนังสือ "ยุทศาสตร์สหรัฐฯต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

  • หนังสือ "ประชาคมเอเชียตะวันออก"

  • หนังสือ "ประชาคมอาเซียน"

  • หนังสือ "สถานการณ์โลกปี 2553 และแนวโน้มปี 2554"

  • ปกนโยบายต่างประเทศ-USA-แก้-2557-07-28-at-3.05.01-PM

1/4

Calendar

April 2021
M T W T F S S
« Apr    
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930  

Blog

drprapat-header-3

LINKS

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS) ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS)

Tags

AEC al-Qaeda APEC ARF ASEAN Clinton Donald Trump EAS EU eurozone FTA G-20 ISIS Obama the rise of China TPP UN UNSC WTO การก่อการร้าย การต่างประเทศของไทย การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ความขัดแย้ง ความขัดแย้งทะเลจีนใต้ ความมั่นคง จีน ตะวันออกกลาง ประชาคมอาเซียน ประเทศมหาอำนาจ พม่า ยุทธศาสตร์สหรัฐฯ รัสเซีย วิกฤต Eurozone สงคราม สงครามการค้า สหรัฐ สหรัฐอเมริกา สหรัฐฯ อัฟกานิสถาน อาเซียน อิหร่าน เกาหลีเหนือ เศรษฐกิจ เอเชีย ไทย