Logo
  • หน้าหลัก
  • ประวัติ
  • ผลงานวิชาการ
  • ผลงานอื่นๆ
    • หนังสือ
    • Powerpoint
    • สัมภาษณ์รายการต่างๆ
    • บทความอื่นๆ
  • Blog
  • Gallery ภาพส่วนตัว
  • ติดต่อ
Copyright, 2015 : drprapat.com - All rights reserved.
July 23, 2018
drprapat
บทความ
0

ไทยกับการเป็นประธานอาเซียนปี 2019 (ตอนที่2)

PreviousNext
asean flag

คอลัมน์กระบวนทรรศน์ตอนที่แล้ว หัวข้อคือ ไทยกับการเป็นประธานอาเซียนปี 2019 โดยได้วิเคราะห์ สภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคง และ เศรษฐกิจ ในภูมิภาค ที่กระทบต่อไทย และ อาเซียนไปแล้ว สำหรับสภาวะแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจ ผมได้วิเคราะห์สถาปัตยกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาคไปแล้ว ในวันนี้ ผมจะวิเคราะห์ต่อ ในประเด็นความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอาเซียน และจะเสนอยุทธศาสตร์ไทย ในการเป็นประธานอาเซียน ปี 2019 ด้วย

ด้านเศรษฐกิจ (ต่อ)

สำหรับความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างอาเซียน 10 ประเทศ เรื่องหลักคือ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน AEC จะเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว โดยจะเปิดเสรี 5 ด้าน ซึ่งในขณะนี้ ยังไม่สมบูรณ์ อาเซียนต้องทำต่อ ไทยต้องผลักดันต่อ ให้ AEC เป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตเดียว นี่คือโจทย์อันที่หนึ่ง

โจทย์ที่สอง ที่เป็นโจทย์ที่สำคัญอย่างยิ่งของไทย คือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน Master Plan on ASEAN Connectivity  เป็นเรื่องสำคัญ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมประเทศไทย เชื่อมประเทศอาเซียนเข้าด้วยกัน ทั้ง East-West Economic Corridor ทั้ง North-South Economic Corridor  เป็นเรื่องใหญ่มาก ที่จะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งในภูมิภาค ไทยจะเป็นประธานอาเซียนในปีหน้า เราจะต้องเน้นเรื่องนี้ เรามี Master Plan on ASEAN Connectivity ไปแล้ว 2 ฉบับ คือฉบับปี 2015 กับ 2025  ฉบับ 2025 เราจะผลักดันอย่างไรต่อ เพราะดูเหมือนว่า ตอนนี้มันนิ่งๆ

เรื่องใหญ่คือเรื่องเงิน อาเซียนไม่มีเงินที่จะมาลงทุนในโครงการต่างๆเหล่านี้ เราจะทำอย่างไร ไทยกำลังที่จะจัดตั้งกองทุน Infrastructure Fund ภายใต้กรอบของ ACMECS ผมคิดว่าเป็นเรื่องที่ดี ผมก็เลยคิดต่อว่า เราน่าจะผลักดัน ASEAN Infrastructure Fund ในปีหน้า

อีกเรื่องที่ผมคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญ คือ อาเซียน 4.0 การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ในบริบทของไทย นำไปสู่ยุทธศาสตร์ชาติของไทยในเรื่อง Thailand 4.0 ในกรอบของอาเซียน ก็กำลังเดินหน้าไปสู่ อาเซียน 4.0  โดยในขณะนี้ มีความร่วมมือหลายด้าน ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม R&D และดิจิทัล ซึ่งเรื่องเหล่านี้เป็นเรื่องสำคัญ ที่จะนำไปสู่ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนในอนาคต เป็นโจทย์สำคัญของไทยว่า เราจะผลักดันเรื่องนี้ ให้เป็นเรื่องสำคัญในการประชุมอาเซียนในปีหน้าได้อย่างไร

ข้อเสนอยุทธศาสตร์ไทยในการเป็นประธานอาเซียนปี 2019

จากการวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมข้างต้น ในด้าน ความมั่นคง และเศรษฐกิจ นำไปสู่ข้อเสนอยุทธศาสตร์ไทยในการขับเคลื่อนอาเซียนในปีหน้า ดังนี้

ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง

  • ไทยควรจะผลักดันอาเซียนคู่ขนานไปกับ ยุทธศาสตร์ grand strategy ของไทย คือ การทูตรอบทิศทาง (omni-directional diplomacy) ไทยและอาเซียนเดินหน้าสู่ omni-directional diplomacy
  • ไทยต้องการเป็น hub ของอาเซียน และอาเซียนต้องการเป็น hub ของสถาปัตยกรรมในภูมิภาค เพราะฉะนั้นยุทธศาสตร์ไทย คือ การผลักดันให้ ไทย เป็น hub ของ อาเซียน และผลักดันให้อาเซียน เป็น hub ของสถาปัตยกรรมในภูมิภาค

 

 

 

 

 

 

 

  • ไทยในอีก 20 ปีข้างหน้า เรากำลังจะเป็นประเทศร่ำรวย เราตั้งเป้าไว้แล้ว และการที่เราจะเป็นประเทศร่ำรวย เราจะต้องมียุทธศาสตร์ด้านความมั่นคง ที่จะเป็นอะไรมากกว่าที่จะเป็นแค่ small power ไทยจะเป็น middle power ได้ไหมในอีก 20 ปีข้างหน้า อาเซียนจะเป็น middle power ได้ไหม ผมคิดว่าเป็นไปได้ ฉะนั้นยุทธศาสตร์อีกประการคือการทำให้ไทย และอาเซียนเป็น middle power ไม่ใช่ big power ไม่ใช่ major power และก็ไม่ใช่ small power แต่เป็น middle power
  • ความสัมพันธ์กับมหาอำนาจ ก็เป็นเรื่องใหญ่อีกเรื่องหนึ่ง ไทยต้องเล่นเกม balancing กับ engagement คู่กันไป อาเซียนก็ต้องเล่มเกม balancing กับ engagement คู่กันไปเช่นเดียวกัน
  • ยุทธศาสตร์หลักที่ไทยจะต้องผลักดันคือ ยุทธศาสตร์รองรับสถาปัตยกรรมความมั่นคงในภูมิภาค ที่กำลังจะเกิดขึ้น คืออาเซียนจะเป็นแกนกลางของสถาปัตยกรรมความมั่นคงในภูมิภาค และระบบหลายขั้วอำนาจ
  • สำหรับยุทธศาสตร์การทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางของ APSC คือ

– ไทยเป็นประเทศแห่งสิทธิมนุษยชนในอาเซียน

– ไทยมีบทบาทนำในการจัดการกับปัญหาความมั่นคงในรูปแบบใหม่

– ไทยมีบทบาทนำในการพัฒนากลไกป้องกันและแก้ไขความขัดแย้งของอาเซียน

ยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ

  • ยุทธศาสตร์ต่อสถาปัตยกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ไทยต้องเน้นผลักดันให้ RCEP เจรจาสำเร็จในปีหน้า และทำให้ RCEP และ AEC+ เป็นแกนกลางของสถาปัตยกรรมทางเศรษฐกิจในภูมิภาค
  • สำหรับยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจของไทยในอาเซียน เป้าหมายใหญ่ของไทยคือ ผลักดัน อาเซียน0 คู่ขนานกับ Thailand 4.0
  • ในส่วนของยุทธศาสตร์ต่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ไทยต้องการเป็น hub ของ AEC ฉะนั้น ในปีหน้า เราต้องผลักดันโครงการต่างๆ ที่จะทำให้ไทยเป็น hub ของ AEC ทั้งในด้านการค้า การบริการ logistics โครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ เป้าหมายของไทยคือเป็น hub ของเอเชีย เป็น hub ของอาเซียน และเป็น hub ของ CLMV
  • hub ของ อาเซียน0: ในอดีตเราคิดว่า เราจะเป็น hub ของอาเซียน ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ในด้านการค้า ด้าน logistics แต่ในอนาคต ในระยะยาว เราจะต้องมองก้าวข้ามไปว่า เราจะเป็น

– knowledge hub

– innovation hub

– R&D hub

– science & techonology hub

– digital hub

ซึ่งก็คือ การที่ Thailand 4.0 จะกลายเป็น hub ของ อาเซียน 4.0 นั่นเอง

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 5 กรกฎาคม 2561

ที่มารูปภาพ: http://www.rankflags.com/organization-flag/asean-flag/

 

ASEANEconomicForeign PolitcyThailand
Share this

The Author drprapat

ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

More Posts Like This One

1

เสวนา “TPP VS ASEAN : จุดยืนไทย จุดยืนอาเซียน”

October 27, 2015
ASEANFlagWeb_default-920x430

ไทยกับการเป็นประธานอาเซียนปี 2019 (ตอนที่ 5)

November 9, 2018
asean

ไทยกับการเป็นประธานอาเซียนปี 2019 (ตอนที่ 3)

July 27, 2018
0 Comments General

Leave A Comment Cancel reply

69 + = 76

 
รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้บรรยายพิเศษในสถาบันต่างๆ อาทิ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันพระปกเกล้า มีงานเขียน งานวิจัย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และมีคอลัมน์ประจำ "กระบวนทรรศน์" ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์และคอลัมน์ประจำ "โลกทรรศน์" ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
  • หนังสือ "ยุทศาสตร์สหรัฐฯต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

  • หนังสือ "ประชาคมเอเชียตะวันออก"

  • หนังสือ "ประชาคมอาเซียน"

  • หนังสือ "สถานการณ์โลกปี 2553 และแนวโน้มปี 2554"

  • ปกนโยบายต่างประเทศ-USA-แก้-2557-07-28-at-3.05.01-PM

1/4

Calendar

January 2021
M T W T F S S
« Apr    
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031

Blog

drprapat-header-3

LINKS

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS) ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS)

Tags

AEC al-Qaeda APEC ARF ASEAN Clinton Donald Trump EAS EU eurozone FTA G-20 ISIS Obama the rise of China TPP UN UNSC WTO การก่อการร้าย การต่างประเทศของไทย การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ความขัดแย้ง ความขัดแย้งทะเลจีนใต้ ความมั่นคง จีน ตะวันออกกลาง ประชาคมอาเซียน ประเทศมหาอำนาจ พม่า ยุทธศาสตร์สหรัฐฯ รัสเซีย วิกฤต Eurozone สงคราม สงครามการค้า สหรัฐ สหรัฐอเมริกา สหรัฐฯ อัฟกานิสถาน อาเซียน อิหร่าน เกาหลีเหนือ เศรษฐกิจ เอเชีย ไทย