Logo
  • หน้าหลัก
  • ประวัติ
  • ผลงานวิชาการ
  • ผลงานอื่นๆ
    • หนังสือ
    • Powerpoint
    • สัมภาษณ์รายการต่างๆ
    • บทความอื่นๆ
  • Blog
  • Gallery ภาพส่วนตัว
  • ติดต่อ
Copyright, 2015 : drprapat.com - All rights reserved.
September 8, 2017
drprapat
บทความ
0

130 ปี ความสัมพันธ์ ไทย – ญี่ปุ่น

PreviousNext
IMG_4872

ปีนี้ เป็นปีครบรอบการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับญี่ปุ่น 130 ปี คอลัมน์กระบวนทรรศในวันนี้ จะวิเคราะห์ อดีต ปัจจุบัน และอนาคต ของความสัมพันธ์ ไทย – ญี่ปุ่น ดังนี้

            อดีต

            ความสัมพันธ์ไทย – ญี่ปุ่น มีประวัติยาวนานมากว่า 600 ปี ตั้งแต่สมัยอยุธยา และได้มีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 1887

ไทยกับญี่ปุ่นใกล้ชิดกันมาโดยตลอดในช่วงศตวรรษที่ 20 จนมาถึงในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่างไรก็ตาม หลังจากญี่ปุ่นแพ้สงคราม ก็ทำให้ญี่ปุ่นกับไทยห่างกันไปอยู่พักหนึ่ง

แต่ในช่วงทศวรรษ 1980 ญี่ปุ่นได้พัฒนาเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับหนึ่งของเอเชีย ในช่วงนี้เอง ที่ญี่ปุ่นได้ติดต่อค้าขายกับไทยเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก รวมทั้งได้เข้ามาลงทุนในไทยมหาศาล จนทำให้ญี่ปุ่นกลายเป็นประเทศคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทย เป็นประเทศที่มาลงทุนในไทยมากที่สุด

แต่พอมาถึงช่วงทศวรรษ 1990 ก็เกิดปัญหาขึ้น ญี่ปุ่นประสบกับปัญหาภาวะเศรษฐกิจถดถอยอย่างรุนแรง ในขณะที่ไทยก็ประสบกับวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 1997

แต่ความสัมพันธ์ ไทย – ญี่ปุ่น ก็ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาหลังวิกฤตเศรษฐกิจในยุครัฐบาลทักษิณ ได้มีการเจรจาเขตการค้าเสรี ไทย – ญี่ปุ่น หรือ JTEPA

ปัจจุบัน

และเมื่อเกิดรัฐประหารในปี 2006 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยตกอยู่ในสภาวะแห่งความสับสนวุ่นวายทางการเมือง ทำให้ญี่ปุ่นได้เริ่มปรับแผนในเรื่องการค้าการลงทุนกับไทย โดยญี่ปุ่นได้เริ่มย้ายฐานการลงทุนไปยังประเทศอื่น โดยเฉพาะในประเทศอาเซียนอื่นๆ

นอกจากนั้น บริบทระหว่างประเทศ ก็เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ คือ การผงาดขึ้นมาของจีน ทำให้ไทยหันไปค้าขายกับจีนเพิ่มมากขึ้นเป็นอย่างมาก จนทำให้ขณะนี้ จีนได้แซงญี่ปุ่น และจีนได้กลายเป็นประเทศคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทยไปแล้ว

ประเทศไทยก็ประสบกับความตกต่ำและถดถอยครั้งใหญ่ ระบบการเมืองล้มเหลว ระบบเศรษฐกิจล้มเหลว ประเทศไทยติดกับดักของประเทศที่มีรายได้ระดับปานกลาง ไม่สามารถพัฒนาเดินหน้าต่อไปได้

สถานการณ์เหล่านี้ เป็นสิ่งท้าทาย และเป็นอุปสรรคต่อความสัมพันธ์ไทย – ญี่ปุ่นในอนาคต

อนาคต

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะมีข้อจำกัดต่อความสัมพันธ์ ไทย – ญี่ปุ่นในอนาคตดังกล่าวข้างต้น แต่ก็ยังมีปัจจัยที่จะเกื้อหนุน ให้ไทยกับญี่ปุ่นต้องกระชับความสัมพันธ์กันมากขึ้น

คือ ญี่ปุ่นยังมีความสำคัญต่อไทยเป็นอย่างมาก ในการที่ไทยจะหลุดพ้นจาก middle income trap และจะพัฒนาไปสู่ Thailand 4.0 นั้น ญี่ปุ่นจะช่วยไทยได้มาก

นอกจากนี้ ไทยต้องการเป็นศูนย์กลางหรือ hub ของ AEC ญี่ปุ่นก็จะมีบทบาทสำคัญ ในการสานฝันของไทยให้เป็นจริง

และอีกเรื่องคือ ในอนาคต ไทยจำเป็นที่จะต้องมียุทธศาสตร์ในเชิงภูมิรัฐศาสตร์ ด้วยการดำเนินยุทธศาสตร์ถ่วงดุลอำนาจ เพื่อไม่ให้มหาอำนาจใดมหาอำนาจหนึ่ง มาครอบงำภูมิภาคอาเซียนและครอบงำไทย ซึ่งญี่ปุ่นจะมีบทบาทอย่างมากในการเป็น balancer หรือเป็นตัวถ่วงดุล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทบาทที่จะมาถ่วงดุลจีน ซึ่งกำลังขยายอิทธิพลมายังภูมิภาคอาเซียนอย่างน่ากลัว

สำหรับในแง่ของญี่ปุ่นประเทศไทยก็ยังคงมีควาสำคัญอยู่ แม้ว่าญี่ปุ่นจะได้ย้ายฐานการผลิตไปบ้างแต่ไทยก็ยังคงเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของญี่ปุ่น นอกจากนี้ ในแง่ของญี่ปุ่นเอง ญี่ปุ่นก็มียุทธศาสตร์ในการแข่งกับจีน ดังนั้น จึงเป็นผลประโยชน์ของญี่ปุ่นที่จะต้องใกล้ชิดกับไทย เพื่อป้องกันไม่ให้ไทย ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของจีน

ดังนั้น ไทยกับญี่ปุ่นจึงมีประโยชน์ร่วมกัน ทั้งในแง่ภูมิรัฐศาสตร์ และในแง่ภูมิเศรษฐศาสตร์ ที่จะต้องกระชับความสัมพันธ์กันให้มากขึ้น

ข้อเสนอความร่วมมือไทย – ญี่ปุ่นในอนาคต

ผมขอเสนอประเด็นต่างๆ ที่ญี่ปุ่นกับไทย จะร่วมมือกันในอนาคตดังนี้

  • ความร่วมมือระดับทวิภาคี

ไทยกับญี่ปุ่นจะต้องแสวงหาลู่ทางกระชับความสัมพันธ์ทวิภาคี โดยเฉพาะทางด้าน

เศรษฐกิจ โดยอาจจะต้องมีการเจรจาปรับปรุงเขตการค้าเสรี ไทย – ญี่ปุ่นหรือ JTEPA ให้ทันสมัย

และไทยน่าจะเน้นการดึงญี่ปุ่น มาช่วยไทยพัฒนาไปสู่การเป็น Thailand 4.0 โดยเน้นความร่วมมือ ไทย – ญี่ปุ่นในด้านนวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และให้ญี่ปุ่นช่วยพัฒนาสินค้าไทยให้เป็นสินค้าที่มีนวัตกรรมสูง เป็น smart farming เป็น smart SME ญี่ปุ่นจะสามารถช่วยไทยได้มาก ด้วยการพัฒนาแรงงานไทยให้มีทักษะขั้นสูง และร่วมมือกับญี่ปุ่นใน digital economy รวมทั้งให้ญี่ปุ่นมาลงทุนในระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก หรือ EEC ของไทยด้วย

  • ความร่วมมือระดับอนุภูมิภาค

ไทยควรจะส่งเสริมให้ญี่ปุ่นร่วมมือกับไทย ในโครงการต่างๆ ในกรอบความร่วมมืออนุภูมิภาคหลายกรอบ ที่ไทยมีบทบาทนำ อาทิ GMS, ACMECS และ BIMSTEC

ญี่ปุ่นจะมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานโดยเฉพาะเส้นทางคมนาคมขนส่งเชื่อมไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระเบียงเศรษฐกิจ ตะวันตก – ตะวันออก เชื่อม พม่า ไทย ลาว เวียดนาม ญี่ปุ่นก็ให้ความสนใจ ไทยจะต้องผลักดันให้โครงการนี้ เป็นจริงขึ้นมาให้ได้ ด้วยการสร้างถนน และทางรถไฟ เชื่อม 4 ประเทศ

อีกโครงการหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง คือ การดึงญี่ปุ่นมาพัฒนา ท่าเรือน้ำลึกที่เมืองทวายของพม่า และสร้างถนน ทางรภไฟ จากทวายเข้ากาญจนบุรี ผ่านไทยไปกรุงพนมเปญและนครโฮจิมินซิตี้

ญี่ปุ่นจะมีบทบาทอย่างมากในการถ่วงดุลอำนาจจีน เพราะจีนขณะนี้กำลังพยายามอย่างยิ่งที่จะสร้างถนน ทางรถไฟ เชื่อมจีน ตอนใต้กับอาเซียน และจีนก็มียุทธศาสตร์ใหญ่ คือ OBOR

ญี่ปุ่นมีเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง Shinkansen ไทยกำลังเจรจากับญี่ปุ่นอยู่หลายโครงการ ทั้งโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ – เชียงใหม่ และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คือเชื่อม สุวรรณภูมิ ดอนเมือง และอู่ตะเภา

  • ความร่วมมือระดับอาเซียน

ไทยกับญี่ปุ่นควรหาลู่ทางความร่วมมือในกรอบอาเซียน ไทยควรดึงญี่ปุ่นมาช่วยพัฒนาประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน และประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ซึ่งมีประเด็นปลีกย่อยมากมายหลายเรื่อง ที่ญี่ปุ่นจะร่วมมือกับอาเซียนได้

จริงๆแล้ว ญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์กับอาเซียนมาอย่างยาวนาน ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรกที่มีการประชุมสุดยอดกับอาเซียน เมื่อ 40 ปีมาแล้ว คือปี 1977 ในช่วงทศวรรษ 1980 ถือเป็นยุคทองของความสัมพันธ์อาเซียน – ญี่ปุ่น แต่พอมาถึงทศวรรษ 1990 เป็นยุควิกฤตเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา ก็มีความพยายามที่จะรื้อฟื้นความสัมพันธ์อาเซียน – ญี่ปุ่น อาเซียนต้องการให้ญี่ปุ่นมาถ่วงดุลจีน ในขณะเดียวกัน ญี่ปุ่นก็ต้องการที่จะมาแข่งกับจีนในอาเซียนเช่นเดียวกัน โดยได้มีการจัดทำเขตการค้าเสรี อาเซียน- ญี่ปุ่นขึ้น

ดังนั้น ในอนาคต ญี่ปุ่นกับอาเซียนจะต้องหาหนทางผลักดันแนวคิดริเริ่มโครงการใหม่ๆ ที่จะร่วมมือกัน ทั้งในกรอบอาเซียน – ญี่ปุ่น อาเซียน+3 และไทยควรกระตุ้นให้ญี่ปุ่นสนับสนุนการเจรจา FTA อาเซียน+6 ที่เรียกย่อว่า RCEP ด้วย

กล่าวโดยสรุป จะเห็นได้ว่า ในอนาคต ลู่ทางความร่วมมือระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ยังมีอยู่อีกมากมายหลายระดับ หลายมิติ ก็ต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลของทั้ง 2 ประเทศ ที่จะมองเห็นโอกาสดังกล่าว และมีนโยบายในการผลักดันความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมในอนาคตต่อไป

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 5 กันยายน 2560

ความสัมพันธ์ไทยกับมหาอำนาจญี่ปุ่นเศรษฐกิจญี่ปุ่น
Share this

The Author drprapat

ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

More Posts Like This One

20140327131900

One Belt One Road (OBOR) : 2017

May 19, 2017
IMG_4872

แนวโน้มสถานการณ์โลกปี 2018

January 18, 2018
World_Flag_Map_2015

ภูมิรัฐศาสตร์ของโครงสร้างพื้นฐาน Eurasia

November 13, 2017
0 Comments General

Leave A Comment Cancel reply

11 − 3 =

 
รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้บรรยายพิเศษในสถาบันต่างๆ อาทิ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันพระปกเกล้า มีงานเขียน งานวิจัย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และมีคอลัมน์ประจำ "กระบวนทรรศน์" ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์และคอลัมน์ประจำ "โลกทรรศน์" ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
  • หนังสือ "ยุทศาสตร์สหรัฐฯต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

  • หนังสือ "ประชาคมเอเชียตะวันออก"

  • หนังสือ "ประชาคมอาเซียน"

  • หนังสือ "สถานการณ์โลกปี 2553 และแนวโน้มปี 2554"

  • ปกนโยบายต่างประเทศ-USA-แก้-2557-07-28-at-3.05.01-PM

1/4

Calendar

January 2021
M T W T F S S
« Apr    
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031

Blog

drprapat-header-3

LINKS

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS) ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS)

Tags

AEC al-Qaeda APEC ARF ASEAN Clinton Donald Trump EAS EU eurozone FTA G-20 ISIS Obama the rise of China TPP UN UNSC WTO การก่อการร้าย การต่างประเทศของไทย การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ความขัดแย้ง ความขัดแย้งทะเลจีนใต้ ความมั่นคง จีน ตะวันออกกลาง ประชาคมอาเซียน ประเทศมหาอำนาจ พม่า ยุทธศาสตร์สหรัฐฯ รัสเซีย วิกฤต Eurozone สงคราม สงครามการค้า สหรัฐ สหรัฐอเมริกา สหรัฐฯ อัฟกานิสถาน อาเซียน อิหร่าน เกาหลีเหนือ เศรษฐกิจ เอเชีย ไทย