Logo
  • หน้าหลัก
  • ประวัติ
  • ผลงานวิชาการ
  • ผลงานอื่นๆ
    • หนังสือ
    • Powerpoint
    • สัมภาษณ์รายการต่างๆ
    • บทความอื่นๆ
  • Blog
  • Gallery ภาพส่วนตัว
  • ติดต่อ
Copyright, 2015 : drprapat.com - All rights reserved.
May 14, 2019
drprapat
บทความ
0

IR 4.0

PreviousNext
IR

    IR ย่อมาจาก International Relations ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นสาขาวิชาที่ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ การทูต การเมืองระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ และเศรษฐกิจระหว่างประเทศ คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในวันนี้ จะวิเคราะห์ IR หรือการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในอดีตของไทย และ IR ในอนาคต โดยผมจะเสนอว่า IR ในอนาคต ควรจะมุ่งไปสู่การเป็น IR 4.0
    IR ในอดีต
    ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในอดีต ในยุคสงครามเย็น มีเรื่องใหญ่อยู่เรื่องเดียวคือเรื่องความมั่นคงระหว่างประเทศ เรื่องสงครามและความขัดแย้ง IR ในยุคสงครามเย็น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในยุคสงครามเย็น จึงเน้นศึกษาเรื่องความมั่นคง เรื่องสงคราม และความขัดแย้งเป็นหลัก
    สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ซึ่งในประเทศไทย จะเป็นสาขาในคณะรัฐศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในอดีตจนถึงปัจจุบัน IR เป็นสาขาวิชาที่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษา สายสังคมศาสตร์ส่วนใหญ่เลือกเป็นอันดับหนึ่งในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย เป็นสาขายอดนิยม
    IR ในอดีต จะเน้นผลิตบัณฑิตเพื่อมาเป็นนักการทูต มาเป็นข้าราชการในกระทรวงต่างประเทศ และจะเน้นศึกษาวิชาที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคง สงคราม และความขัดแย้ง
    อย่างไรก็ตาม ในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงไป สถานการณ์ในประเทศไทยก็เปลี่ยนแปลงไป ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเริ่มขยายวงครอบคลุมด้านเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศ และความร่วมมือในด้านต่าง ๆ การทูตไม่ได้จำกัดอยู่ในกระทรวงต่างประเทศอีกต่อไป แต่กระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ได้เริ่มมีมิติความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และต้องการบัณทิต ที่มีความรู้ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จึงเริ่มเกิด ทูตที่ไม่ใช่เป็นนักการทูตจากกระทรวงต่างประเทศ อาทิ ทูตพาณิชย์ ทูตทหาร ทูตวัฒนธรรม ภาคเอกชนในช่วงที่ผ่านมา เศรษฐกิจไทยก็เริ่มเปลี่ยน เริ่มทำธุรกิจกับต่างเทศ เริ่มเน้นการส่งออก การลงทุน ภาคเอกชนก็ต้องการบัณฑิตที่มีความมรู้ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากขึ้นเรื่อย ๆ
    ดังนั้น ในปัจจุบัน สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จึงมีบัณฑิตที่ทำงานหลากหลายวิชาชีพมาก ทั้งการเป็นนักการทูต เป็นข้าราชการทำงานด้านการต่างประเทศในกระทรวงต่าง ๆ และทำงานในภาคเอกชนในด้านการทำธุรกิจการค้าต่างประเทศ รวมทั้งทำงานในองค์การระหว่างประเทศ และเป็นนักวิชาการด้านการต่างประเทศด้วย
     IR ในอนาคต: IR 4.0
    สำหรับทิศทางของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในอนาคต กำลังซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังนั้น สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จะต้องสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก ทั้งองค์ความรู้ วิชา บัณฑิต นักวิชาการ ก็จะต้องมีการปรับให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก ในมิติสำคัญ ๆ ดังนี้
    • ความมั่นคงโลก
    องค์ความรู้ วิชา บัณฑิต และนักวิชาการ จะต้องมีองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบความมั่นคงโลก จะต้องมีวิชาเกี่ยวกับมหาอำนาจ โดยเฉพาะสหรัฐ จีน องค์ความรู้เกี่ยวกับองค์การระหว่างประเทศ และมิติทางด้านวัฒนธรรมหรืออารยธรรม รวมทั้งประเด็นปัญหาความมั่นคงในรูปแบบใหม่ ซึ่งเรื่องที่สำคัญที่สุดคือ ความมั่นคงในยุค 4.0 ที่จะเป็นสงคราม 4.0 และสงครามในอินเตอร์เน็ต หรือ cyber warfare ผู้ที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งอาจารย์ นักศึกษา และนักปฎิบัติ จะต้องมีความรู้พื้นฐานเหล่านี้
    • ความมั่นคงในภูมิภาค
    สำหรับการศึกษาความมั่นคงระหว่างประเทศของไทย สิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญอย่าง คือ ระบบความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่อยู่ใกล้ตัวเรา ทั้งทางด้านความมั่นคง และเศรษฐกิจ สำหรับความมั่นคงในภูมิภาค จะต้องมีองค์ความรู้ ทั้งในเรื่องของระบบความมั่นคงในภูมิภาค บทบาทของมหาอำนาจ อาเซียน และองค์ความรู้เกี่ยวกับประเทศเพื่อนบ้าน
    • เศรษฐกิจโลก
    สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในปัจจุบันและในอนาคตนั้น เรื่องใหญ่ที่สุดคือ เรื่องเศรษฐกิจ นักศึกษาและนักปฎิบัติด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จะต้องรู้เรื่องเศรษฐกิจระหว่างประเทศเป็นอย่างดี ในสาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีสาขาวิชาย่อยที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง คือ สาขาเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศ (International Political Economy: IPE) ซึ่งเป็นสาขาวิชาที่บูรณาการองค์ความรู้ทั้งเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์ โดยองค์ความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ เป็นองค์ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตาม การศึกษาเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน จำเป็นต้องบูรณาการความรู้ทางด้านรัฐศาสตร์เข้าไปด้วย ช่องว่างที่สำคัญ คือ นักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่เชื่อว่า ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ คือ ความสัมพันธ์ที่ทุกประเทศ ทุกคน จะได้ประโยชน์ร่วมกัน บนพื้นฐานของสภาวะตลาดเสรีและกลไกตลาด อย่างไรก็ตาม ในโลกแห่งความเป็นจริง ปัจจัยทางการเมืองได้เข้ามาแทรกแซงกฎธรรมชาตินี้อย่างมาก นักเศรษฐศาสตร์ได้มองข้ามปัจจัยทางการเมืองในการกำหนดความเป็นไปของเศรษฐกิจโลก องค์ความรู้ของนักรัฐศาสตร์การทูต ในสาขาเศรษฐกิจการเมืองระหว่างประเทศ จะสามารถนำมาศึกษาและอธิบายความเป็นไปของเศรษฐกิจโลกได้อย่างสมบูรณ์ สำหรับนักรัฐศาสตร์การทูต การเมืองคือหัวใจของเศรษฐกิจโลก ปัจจุบัน เกมการต่อสู้เพื่ออำนาจได้เปลี่ยนจากการต่อสู้ด้านความมั่นคงด้านการทหารมาเป็นการต่อสู้ทางเศรษฐกิจ
    ดังนั้น การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จะต้องศึกษาถึง การเมืองของเศรษฐกิจโลก การเมืองของค้าโลก สงครามการค้าโลก การเมืองของการเงินโลก
และที่สำคัญที่สุด ที่ขาดหายไปจากองค์ความรู้ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คือ องค์ความรู้ในเรื่องการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 หรือ ที่เราเรียกว่า 4.0 การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ทำให้เศรษฐกิจโลกถูกขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐกิจดิจิทัล ขณะนี้ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกกำลังแข่งขันกัน โดยเฉพาะอภิมหาอำนาจสหรัฐกับจีนก็กำลังแข่งขันกันเป็นผู้นำโลก 4.0 ในอนาคตหากประเทศใดเป็นผู้นำโลก 4.0 ก็จะอยู่ในสถานะได้เปรียบในการครองโลก การผงาดขึ้นมาของจีนทางด้านเทคโนโลยีนำไปสู่การแข่งขันกันอย่างดุเดือดระหว่างสหรัฐกับจีน ในการแย่งกันเป็นผู้นำเทคโนโลยีโลก ซึ่งอาจเป็นปัจจัยชี้ขาดในอนาคตว่า ใครจะเป็นเจ้าครองโลก
    ในอดีต นักศึกษา นักวิชาการ นักปฏิบัติ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ จะไม่มีองค์ความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีเลย เพราะเข้าใจว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเป็นเรื่องการเมือง ความมั่นคง และเศรษฐกิจการค้าและการลงทุนเท่านั้น แต่ปัจจุบัน กลับกลายเป็นว่า เรื่องที่สำคัญที่สุด ที่สหรัฐและจีนกำลังแข่งขันกันอยู่ คือ เรื่องเทคโนโลยี ดังนั้น จึงต้องมีการปฎิรูปการศึกษา IR ใหม่ ด้วยการเพิ่มองค์ความรู้ในด้าน 4.0 เข้าไปอย่างเร่งด่วน
    • เศรษฐกิจในภูมิภาค
    การศึกษาเศรษฐกิจระหว่างประเทศในบริบทของไทย จะต้องเน้นศึกษาระบบเศรษฐกิจในภูมิภาคด้วย โดยเฉพาะเรื่อง ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และสถาปัตยกรรมทางเศรษฐกิจต่าง ๆ รวมทั้งมิติความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจของมหาอำนาจ ทั้งมหาอำนาจเก่าและมหาอำนาจใหม่ ประเทศเพื่อนบ้าน และภูมิภาคอื่น ๆ ด้วย
    • นโยบายต่างประเทศไทย
และแน่นอนว่า การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในประเทศไทย ในที่สุดแล้ว ก็คงต้องให้ความสำคัญกับการศึกษานโยบายต่างประเทศของไทย โดยวิชาที่จะต้องเน้น คือ วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์นโยบายต่างประเทของไทยในระยะยาว เรื่องที่ 1 คือ ไทยจะเป็น hub หรือเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียน เรื่องที่ 2 คือ เรื่องไทยแลนด์ 4.0 และเรื่องที่ 3 คือ เป้าหมายระยะยาวของไทยที่จะขยับจากประเทศเล็ก ๆ ที่ไม่มีความสำคัญ มาเป็นประเทศที่มีอำนาจขนาดกลาง หรือ middle power
    • technical knowledge
    IR 4.0 จะต้องมีการผลักดันให้สาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มีความเป็นวิชาชีพมากขึ้น ผมขอยกตัวอย่าง เรื่องของความเป็นวิชาชีพ คือ ถ้านักศึกษาเรียนหมอ จบมาแล้ว ก็จะเป็นหมอแน่นอน เรียนวิศวะจบออกมาก็จะเป็นวิศวกร แต่เรียนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศยังไม่มีวิชาชีพที่ชัดเจน ดังนั้นเพื่อที่จะเป็นวิชาชีพมากขึ้น จะต้องเน้นสร้างองค์ความรู้ที่ได้กล่าวมาข้างต้น และความรู้ที่มีลักษณะเป็นtechnical knowledge ที่สำคัญคือ นักศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในอนาคต จะสามารถวิเคราะห์นโยบายต่างประเทศได้ กำหนดนโยบายต่างประเทศได้ มีองค์ความรู้ในการเจรจาต่อรองทางการทูต มีองค์ความรู้ในการจัดการความขัดแย้งระหว่างประเทศ และองค์ความรู้ในการบริหารจัดการความร่วมมือระหว่างประเทศได้
กล่าวโดยสรุป ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมากในยุค 4.0 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรีบปรับให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต ทั้งในแง่ขององค์ความรู้ วิชา นักศึกษา และอาจารย์ นักวิชาการด้วย

ที่มา : หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ คอลัมน์กระบวนทรรศน์ วันที่ 25 เมษายน 2562
ที่มารูปภาพ : http://mahdavionline.org/int/course/index.php?categoryid=31

IR
Share this

The Author drprapat

ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

0 Comments General

Leave A Comment Cancel reply

11 − 4 =

 
รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้บรรยายพิเศษในสถาบันต่างๆ อาทิ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันพระปกเกล้า มีงานเขียน งานวิจัย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และมีคอลัมน์ประจำ "กระบวนทรรศน์" ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์และคอลัมน์ประจำ "โลกทรรศน์" ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
  • หนังสือ "ยุทศาสตร์สหรัฐฯต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

  • หนังสือ "ประชาคมเอเชียตะวันออก"

  • หนังสือ "ประชาคมอาเซียน"

  • หนังสือ "สถานการณ์โลกปี 2553 และแนวโน้มปี 2554"

  • ปกนโยบายต่างประเทศ-USA-แก้-2557-07-28-at-3.05.01-PM

1/4

Calendar

April 2021
M T W T F S S
« Apr    
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930  

Blog

drprapat-header-3

LINKS

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS) ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS)

Tags

AEC al-Qaeda APEC ARF ASEAN Clinton Donald Trump EAS EU eurozone FTA G-20 ISIS Obama the rise of China TPP UN UNSC WTO การก่อการร้าย การต่างประเทศของไทย การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ความขัดแย้ง ความขัดแย้งทะเลจีนใต้ ความมั่นคง จีน ตะวันออกกลาง ประชาคมอาเซียน ประเทศมหาอำนาจ พม่า ยุทธศาสตร์สหรัฐฯ รัสเซีย วิกฤต Eurozone สงคราม สงครามการค้า สหรัฐ สหรัฐอเมริกา สหรัฐฯ อัฟกานิสถาน อาเซียน อิหร่าน เกาหลีเหนือ เศรษฐกิจ เอเชีย ไทย