Logo
  • หน้าหลัก
  • ประวัติ
  • ผลงานวิชาการ
  • ผลงานอื่นๆ
    • หนังสือ
    • Powerpoint
    • สัมภาษณ์รายการต่างๆ
    • บทความอื่นๆ
  • Blog
  • Gallery ภาพส่วนตัว
  • ติดต่อ
Copyright, 2015 : drprapat.com - All rights reserved.
August 30, 2018
drprapat
บทความ
0

Kofi Annan: อดีตเลขาธิการ UN คนของโลก

PreviousNext
kofi-annan

Kofi Annan: อดีตเลขาธิการ UN คนของโลก

การจากไปของ Kofi Annan อดีตเลขาธิการสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 18 สิงหาคมที่ผ่านมา ถือได้ว่าเป็นการสูญเสียคนของโลกที่สำคัญที่สุดคนหนึ่ง Annan เป็นเลขาธิการที่โดดเด่นที่สุด และมีบทบาทมากที่สุด คอลัมน์กระบวนทรรศน์ในวันนี้ จะมองย้อนกลับไปดูถึงผลงานของ ท่าน Annan ผลงานที่โลกควรยกย่องในสิ่งที่ท่านได้ทำให้กับโลกดังนี้

สิทธิมนุษยชน

ท่าน Kofi Annan เกิดที่ประเทศ Ghana แอฟริกา และได้เริ่มมาทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ของ UN ตั้งแต่ปี 1962 จนมาได้เป็นเลขาธิการ UN ในช่วงปี 1997-2006 ท่าน Annan จึงเป็นเลขา UN คนแรกและคนเดียว ที่ไต่เต้ามาจากการเป็นเจ้าหน้าที่ UN เลขา UN คนอื่นๆ จะเป็นอดีตนักการเมือง หรืออดีตนักการทูตจากประเทศต่างๆ

ในช่วงที่ท่านเป็นเลขา UN ท่านได้ฝากผลงานไว้มากมาย ในด้านการปกป้องสิทธิมนุษยชน ท่านก็มีบทบาทที่โดดเด่น ในช่วง 10 ปีที่ดำรงตำแหน่ง ผลงานด้านสิทธิมนุษยชนที่โดดเด่น คือ การผลักดันหลักการปกป้องสิทธิมนุษยชนใหม่ของโลกขึ้น ที่เรียกว่า The Responsiblility to Protect หรือ R2P ก่อนหน้าที่จะมีหลักการ R2P ในปี 2005 ได้มีการถกเถียงกันอย่างมาก ระหว่างประเทศต่างๆในโลก ฝ่ายหนึ่งอ้างหลักการพื้นฐานของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คือ หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของประเทศที่มีอำนาจอธิปไตย อีกฝ่ายหนึ่งก็อ้างว่า หากมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน ก็ควรมีการแทรกแซงได้ แนวคิดของท่าน Annan คือ ประชาคมโลกไม่สามารถที่จะปล่อยให้รัฐบาล ที่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง อ้างอำนาจอธิปไตยได้อีกต่อไป ท่าน Annan เน้นว่า อำนาจอธิปไตยของรัฐไม่ควรจะมีความสมบูรณ์เบ็ดเสร็จ แต่ควรมีเงื่อนไข หากรัฐบาลมีพฤติกรรมที่ดี ไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง อำนาจอธิปไตยก็จะคงอยู่ แต่หากรัฐบาลเป็นกลไกในการเข่นฆ่าประชาชน เป็นกลไกในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และรัฐบาลได้ก่ออาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติแล้ว อำนาจอธิปไตยของรัฐบาลนั้น ก็ควรถูกถอดถอน และประชาคมโลกก็มีสิทธิอันชอบธรรม ที่จะเข้าไปแทรกแซงเพื่อยุติการกระทำดังกล่าว แนวคิดนี้ต่อมาได้รับการยอมรับ และปรากฏอยู่ในเอกสารผลการประชุมสุดยอด UN ในปี 2005 ที่ได้รับการลงมติรับรองจากสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ซึ่งหลักการดังกล่าวก็คือ หลักการที่เราเรียกกันว่า R2P ในปัจจุบัน

การสร้างสันติภาพ

ท่าน Kofi Annan มีบทบาทอย่างมากในช่วงที่ท่านเป็นเลขา UN ในการจัดการความขัดแย้งและสงครามที่เกิดขึ้นในโลก โดยในช่วงที่ท่านเป็นเลขา UN ได้มีการส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าไป เพื่อยุติความขัดแย้งและสงครามกลางเมือง โดยเฉพาะใน แอฟริกา ตะวันออกกลาง เอเชีย และยุโรป ท่าน Annan มีบทบาทโดดเด่นในการประชุมคณะมนตรีความมั่นคง และปรับปรุงบทบาทของกองกำลังรักษาสันติภาพ

ภาวะโลกร้อน

สมัยที่ท่านเป็นเลขา UN ท่าน Annan ได้ผลักดันให้มีพิธีสารเกียวโตได้สำเร็จในปี 1997 ซึ่งพิธีสารเกียวโตถือเป็นเอกสารสำคัญที่ลดระดับการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน

MDGs

สำหรับผลงานชิ้นโบว์แดงของท่าน Annan คือ การจัดประชุม Millennium

Summit หรือการประชุมสุดยอดสหัสวรรษ และในการประชุมครั้งนั้น ได้มีการจัดทำเอกสารสำคัญคือ Millennium Development Goals หรือ MDGs เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ โดย MDGs ถือเป็นเอกสารฉบับแรกของโลก ที่ประชาคมโลกตั้งเป้าหมายร่วมกันว่า ภายในปี 2000-2015 จะลดจำนวนคนจนในโลกลงให้เหลือครึ่งหนึ่ง จะทำให้เด็กๆทุกคนในโลกมีการศึกษาอย่างน้อยขั้นประถม จะลดจำนวนการแพร่ระบาดของเชื้อโรคร้ายต่างๆ โดยเฉพาะโรคเอดส์ MDGs ถือเป็นผลงานสำคัญของท่าน Annan ที่ฝากไว้กับโลก โดยในช่วงปี 2000-2015 ประเทศต่างๆได้ร่วมมือกัน และสามารถบรรลุเป้าหมายของ MDGs ได้ในระดับหนึ่ง ซึ่ง MDGs ตอนนี้ได้ถูกพัฒนาต่อยอดไปเป็น SDGs หรือ Sustainable Development Goals และมีการตั้งเป้าไปถึงปี 2030

การปฏิรูป UN

          อีกเรื่องหนึ่งที่ท่าน Annan ผลักดันอย่างมากในช่วงปี 2004-2005 คือ การปฏิรูป UN ครั้งใหญ่ โดยในปี 2005 จะเป็นปีครบรอบ 60 ปีของการก่อตั้ง UN ท่าน Annan จึงมีดำริว่า เป็นโอกาสดีที่จะมีการปฏิรูป UN ครั้งใหญ่ ท่านได้ตั้งคณะทำงาน และแต่งตั้ง ท่านอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย เป็นประธานคณะทำงานจัดทำข้อเสนอการปฏิรูป UN ซึ่งต่อมา รายงานของคณะทำงานดังกล่าวก็ได้ใช้เป็นข้อเสนอสำคัญ ในการเสนอต่อที่ประชุมสุดยอด UN ในปี 2005

อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอการปฏิรูปของท่าน Annan ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ท่าน Annan ต้องประสบกับสัจธรรมอันยิ่งใหญ่ของการเมืองโลก คือ เหนือกว่า UN ยังมีมหาอำนาจ เหนือกว่า UN ยังมี US มหาอำนาจโดยเฉพาะสหรัฐ ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอปฏิรูปของท่าน Annan ในที่สุด ก็แทบจะไม่ได้มีการตกลงที่จะปฏิรูป UN เลยในการประชุมปี 2005 ทั้งนี้เพราะการเมืองของมหาอำนาจโลก เป็นอุปสรรคสำคัญ

สงครามอิรัก ปี 2003

          อีกเรื่องหนึ่งที่ท่าน Annan พยายามต่อสู้เต็มที่ เกิดขึ้นในช่วงต้นปี 2003 สหรัฐมีแผนจะบุกอิรัก โดยกล่าวหาว่า Saddam Hussein แอบพัฒนาอาวุธร้ายแรง ท่าน Annan พยายามอย่างเต็มที่ ที่จะให้ผู้ตรวจสอบอาวุธร้ายแรงของ UN เข้าไปมีบทบาท และไม่ให้เกิดสงคราม และตอกย้ำจุดยืนของ UN คือการใช้กำลัง จะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะมนตรีความมั่นคง อย่างไรก็ตาม ในที่สุดรัฐบาล Bush ก็ไม่สนใจและตัดสินบุกอิรัก โดยไม่ได้รับไฟเขียวจากคณะมนตรีความมั่นคง ท่าน Annan ได้ออกมาพูดว่า การกระทำดังกล่าวถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ก็ไม่มีผลใดๆ และก็เป็นอีกครั้งหนึ่งที่ท่าน Annan ต้องยอมรับกับสัจธรรมของการเมืองโลกว่า มหาอำนาจอย่างสหรัฐ จะทำอะไรก็ได้ ที่ขัดต่อบรรทัดฐานของโลก

ในช่วงบั้นปลายชีวิตของท่าน Annan แม้ว่าท่านจะไม่ได้เป็นเลขาของ UN แล้ว แต่ท่านก็ยังมีบทบาทสำคัญจนถึงช่วงสุดท้ายของชีวิต โดยได้มีบทบาทเป็นผู้แทนพิเศษของ UN เข้าไปแก้ปัญหาใน ลิเบีย ซีเรีย และในกรณีของชาวโรฮินจา ในรัฐยะไข่ ของพม่า

ด้วยบทบาทและผลงานที่โดดเด่นของท่าน Annan ทำให้ท่านได้รับรางวัล Nobel สันติภาพในปี 2001 ท่าน Annan เป็นเลขา UN ที่โดดเด่นที่สุด มีผลงานฝากไว้มากที่สุด และท่านสมควรเป็นคนของโลกอย่างแท้จริง

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 30 สิงหาคม 2561

ที่มารูปภาพ: http://dailypost.ng/2018/08/18/kofi-annan-died-wife-reveals/

Kofi AnnanUN
Share this

The Author drprapat

ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

More Posts Like This One

SDGs

Sustainable Development Goals (SDGs)

October 2, 2015
0 Comments General

Leave A Comment Cancel reply

51 − = 41

 
รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้บรรยายพิเศษในสถาบันต่างๆ อาทิ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันพระปกเกล้า มีงานเขียน งานวิจัย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และมีคอลัมน์ประจำ "กระบวนทรรศน์" ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์และคอลัมน์ประจำ "โลกทรรศน์" ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
  • หนังสือ "ยุทศาสตร์สหรัฐฯต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

  • หนังสือ "ประชาคมเอเชียตะวันออก"

  • หนังสือ "ประชาคมอาเซียน"

  • หนังสือ "สถานการณ์โลกปี 2553 และแนวโน้มปี 2554"

  • ปกนโยบายต่างประเทศ-USA-แก้-2557-07-28-at-3.05.01-PM

1/4

Calendar

April 2021
M T W T F S S
« Apr    
 1234
567891011
12131415161718
19202122232425
2627282930  

Blog

drprapat-header-3

LINKS

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS) ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS)

Tags

AEC al-Qaeda APEC ARF ASEAN Clinton Donald Trump EAS EU eurozone FTA G-20 ISIS Obama the rise of China TPP UN UNSC WTO การก่อการร้าย การต่างประเทศของไทย การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ความขัดแย้ง ความขัดแย้งทะเลจีนใต้ ความมั่นคง จีน ตะวันออกกลาง ประชาคมอาเซียน ประเทศมหาอำนาจ พม่า ยุทธศาสตร์สหรัฐฯ รัสเซีย วิกฤต Eurozone สงคราม สงครามการค้า สหรัฐ สหรัฐอเมริกา สหรัฐฯ อัฟกานิสถาน อาเซียน อิหร่าน เกาหลีเหนือ เศรษฐกิจ เอเชีย ไทย