Logo
  • หน้าหลัก
  • ประวัติ
  • ผลงานวิชาการ
  • ผลงานอื่นๆ
    • หนังสือ
    • Powerpoint
    • สัมภาษณ์รายการต่างๆ
    • บทความอื่นๆ
  • Blog
  • Gallery ภาพส่วนตัว
  • ติดต่อ
Copyright, 2015 : drprapat.com - All rights reserved.
July 24, 2009
drprapat
บทความ
0

Obama กับยุทธศาสตร์สหรัฐต่อจีน

PreviousNext

ลงในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์ วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม – วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน 2552

ยุทธศาสตร์หลัก

การผงาดขึ้นมาของจีน ทำให้ศักยภาพของจีนกำลังไล่กวดสหรัฐ โดยบางเรื่องได้แซงหน้าสหรัฐไปแล้ว ทำให้สหรัฐเริ่มหวาดวิตกและกลัวว่าจีนจะเป็นคู่แข่ง ที่จะมาท้าทายการครองความเป็นเจ้าในโลกของสหรัฐในอนาคต

ในสมัยรัฐบาล Bush กลุ่มสายเหยี่ยวหรือที่เราเรียกกันว่า กลุ่ม Neo-Con มองว่า จีนกำลังจะเป็นภัยคุกคามมากขึ้นทุกที การวิเคราะห์ของคนกลุ่มนี้ มองว่า เป้าหมายหลักของจีนคือ การก้าวขึ้นมาเป็นเจ้าในระดับภูมิภาคและในระดับโลก ดังนั้น ข้อสรุปของยุทธศาสตร์รัฐบาล Bush ต่อจีนคือ นโยบายการปิดล้อมเพื่อสกัดกั้นการขยายอิทธิพลของจีน อย่างไรก็ตาม การดำเนินยุทธศาสตร์การปิดล้อมจีนแบบเต็มรูปแบบ เหมือนยุทธศาสตร์ปิดล้อมสหภาพโซเวียตในสมัยสงครามเย็น คงจะทำได้ยาก ทั้งนี้เพราะ จะมีเสียงคัดค้านทั้งจากภายในประเทศและจากพันธมิตรของสหรัฐ ภายในประเทศ กลุ่มที่คัดค้านนโยบายปิดล้อมแบบเต็มรูปแบบ คือกลุ่มนักธุรกิจที่ไปลงทุนในจีนและที่ค้าขายกับจีน ขณะนี้จีนได้กลายเป็นประเทศคู้ค้าที่สำคัญของสหรัฐไปแล้ว สำหรับพันธมิตรของสหรัฐที่อยู่รายรอบจีน ก็คงไม่อยากสนับสนุนยุทธศาสตร์การปิดล้อมจีน เพราะไม่ต้องการเป็นศัตรูกับจีน

ดังนั้นยุทธศาสตร์ของรัฐบาล Bush ในทางปฏิบัติจึงมีลักษณะ กึ่งปิดล้อมกึ่งปฏิสัมพันธ์ คือ เน้นปิดล้อมทางการทหาร แต่ปฏิสัมพันธ์ทางการทูตและเศรษฐกิจ โดยสัดส่วนของการปิดล้อมและปฏิสัมพันธ์ก็เปลี่ยนไปตามสถานการณ์ ในสมัย Bush 1 มีสัดส่วนของการปิดล้อมมากกว่าปฏิสัมพันธ์ แต่ในสมัย Bush 2 ได้มีการปรับสัดส่วน โดยเพิ่มการปฏิสัมพันธ์และลดการปิดล้อม

สำหรับในสมัยรัฐบาล Obama ยุทธศาสตร์หลักของสหรัฐต่อจีนยังคงไม่เปลี่ยนแปลง คือยังมีลักษณะกึ่งปิดล้อมกึ่งปฏิสัมพันธ์ แต่รัฐบาล Obama มีนโยบายที่จะเพิ่มสัดส่วนของการปฏิสัมพันธ์เป็นพิเศษ และ พยายามที่จะลดสัดส่วนของนโยบายปิดล้อมลง

ยุทธศาสตร์ปฏิสัมพันธ์

ในสมัยรัฐบาล Obama ความสัมพันธ์สหรัฐกับจีนดีขึ้นมาก รัฐบาล Obama พยายามเป็นอย่างมากที่จะกระชับความสัมพันธ์กับจีนให้มากขึ้น โดย Obama ได้พบปะและหารือกับผู้นำจีน คือ Hu Jintao เป็นครั้งแรกในระหว่างการประชุมสุดยอด G 20 ที่กรุงลอนดอน ในช่วงเดือนเมษายนที่ผ่านมา และรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐ คือ นาง Hillary Clinton ก็ได้เดินทางไปเยือนจีนอย่างเป็นทางการมาแล้ว Obama ได้ตอบรับคำเชิญของจีนที่จะเดินทางไปเยือนจีนอย่างเป็นทางการในช่วงปลายปีนี้

ความสัมพันธ์จีนกับสหรัฐ อยู่ในสถานะดีขึ้นมาก เมื่อเทียบกับความสัมพันธ์ในยุคตกต่ำคือในช่วงเหตุการณ์ เทียน อัน เหมิน ในช่วงปี 1989 ความสัมพันธ์ได้เริ่มดีขึ้นในช่วงรัฐบาล Bush 2 โดย Robert Zoellick รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างประเทศในตอนนั้น ได้ผลักดันแนวคิดที่จะให้จีน เป็นประเทศมหาอำนาจที่แสดงความรับผิดชอบ ซึ่งภาษาอังกฤษใช้คำว่า responsible stakeholder

ต่อมาในสมัยรัฐบาล Obama ได้ให้ความสำคัญกับจีน 2 เรื่องใหญ่ด้วยกัน
เรื่องแรกคือ การสานต่อนโยบายที่เริ่มมาตั้งแต่สมัยรัฐบาล Bush 2 โดยเน้นความร่วมมือระหว่างสหรัฐกับจีน ตอนที่นาง Clinton เดินทางไปเยือนจีนในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ก็ได้กล่าวว่า “ประชาคมโลกตั้งความหวังถึงความร่วมมือกันระหว่างสหรัฐกับจีนเพื่อที่จะนำไปสู่ความมั่นคง สันติภาพและความมั่งคั่งของโลกโดยรวม” เป็นที่เห็นได้ชัดเจนว่า นาง Clinton ได้พยายามส่งสัญณาณว่าสหรัฐต้องการที่จะให้น้ำหนักกับนโยบายปฏิสัมพันธ์ ความร่วมมือระหว่างสหรัฐกับจีน และพยายามที่จะลดน้ำหนักของยุทธศาสตร์การปิดล้อมจีน

เรื่องที่สองที่รัฐบาล Obama ให้ความสำคัญต่อจีนคือ การขยายขอบเขตสาขาความร่วมมือระหว่างกัน ในอดีต ความร่วมมือสหรัฐกับจีนจะเน้นเรื่อง เกาหลีเหนือ อิหร่าน ปัญหาการก่อการร้าย แต่นาง Clinton ได้พยายามผลักดันสาขาความร่วมมือใหม่ ๆ 4 เรื่อง ด้วยกัน คือ ความร่วมมือระหว่างสหรัฐกับจีนในปัญหาภาวะโลกร้อน ความมั่นคงด้านพลังงาน การควบคุมกำลังอาวุธ และเสถียรภาพของระบบการเงินโลก
ยุทธศาสตร์การปิดล้อม

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้รัฐบาล Obama จะเน้นยุทธศาสตร์ปฏิสัมพันธ์กับจีนเพิ่มมากขึ้น แต่ขณะเดียวกัน สหรัฐก็ยังคงดำเนินยุทธศาสตร์สกัดกั้นและปิดล้อมทางการทหารของจีนต่อไป โดยล่าสุด กระทรวงกลาโหมสหรัฐ ซึ่งยังคงยืนหยัดเป็นสายเหยี่ยว มองจีนเป็นศัตรู ได้เผยแพร่รายงานประจำปี ประเมินอำนาจทางทหารของจีนในปี 2009 ซึ่งได้เผยแพร่เมื่อปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมานี้เอง โดยในรายงานดังกล่าว ยังคงหวาดระแวงจีนว่า ยังมีความไม่แน่นอนเป็นอย่างมาก เกี่ยวกับการเพิ่มแสนยานุภาพทางการทหารของจีน โดยได้มองว่า ขณะนี้จีนกำลังขยายอำนาจทางการทหารขนานใหญ่ มีการซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย มีการลงทุนเกี่ยวกับอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีทางด้านการทหารขนานใหญ่

นอกจากนี้ กระทรวงกลาโหมสหรัฐ ยังมองว่า จีนยังคงสร้างเสริมขีปนาวุธเพื่อข่มขู่ไต้หวัน ทั้งนี้เพื่อที่จะป้องปรามไม่ให้ไต้หวันประกาศเอกราช การข่มขู่ทางการทหารของจีน ในอนาคตจะบีบให้ไต้หวันยอมจีนตามข้อเรียกร้องของจีน และเพื่อที่จะเป็นการป้องปรามและสกัดกั้นความช่วยเหลือสหรัฐต่อไต้หวัน ในกรณีเกิดความขัดแย้ง และจีนกำลังสร้างเสริมกำลังทางการทหารที่จะทำให้จีน สามารถเข้าถึงแหล่งทรัพยากรและปกป้องการอ้างกรรมสิทธิ์ในดินแดนที่มีความขัดแย้งต่าง ๆ
ดังนั้น การที่จีนสร้างเสริมกำลังทางทหารอย่างมาก จึงทำให้ประชาคมโลกวิตกกังวลเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ทางทหารที่แท้จริงของจีน

นอกจากนี้ กระทรวงกลาโหมของสหรัฐยังกล่าวหาจีนว่า ปกปิดงบประมาณทางการทหารและมีความไม่โปร่งใสเกี่ยวกับนโยบายทางการทหาร ซึ่งนำไปสู่ความไม่แน่นอน ความเสี่ยง ที่จะเกิดความเข้าใจผิดทางทหาร สหรัฐและพันธมิตรจึงจะเฝ้าติดตามพัฒนาการทางทหารของจีนอย่างใกล้ชิดต่อไป และจะปรับเปลี่ยนนโยบาย เพื่อรองรับต่อพัฒนาการดังกล่าว

กล่าวโดยสรุป ฝ่ายทหารของสหรัฐมองว่า การเพิ่มแสนยานุภาพทางทหารของจีนขนานใหญ่ในอนาคต จะทำให้จีนกลายเป็นคู่แข่งทางการทหารของสหรัฐ ซึ่งข้อสรุปยุทธศาสตร์ทางการทหารที่สำคัญคือ สหรัฐจะต้องดำเนินยุทธศาสตร์การสกัดกั้นการขยายอิทธิพลทางการทหารของจีน และดำเนินยุทธศาสตร์การปิดล้อมทางทหารต่อจีน

 

Share this

The Author drprapat

ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

0 Comments General

Leave A Comment Cancel reply

44 − 43 =

 
รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้บรรยายพิเศษในสถาบันต่างๆ อาทิ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันพระปกเกล้า มีงานเขียน งานวิจัย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และมีคอลัมน์ประจำ "กระบวนทรรศน์" ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์และคอลัมน์ประจำ "โลกทรรศน์" ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
  • หนังสือ "ยุทศาสตร์สหรัฐฯต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

  • หนังสือ "ประชาคมเอเชียตะวันออก"

  • หนังสือ "ประชาคมอาเซียน"

  • หนังสือ "สถานการณ์โลกปี 2553 และแนวโน้มปี 2554"

  • ปกนโยบายต่างประเทศ-USA-แก้-2557-07-28-at-3.05.01-PM

1/4

Calendar

January 2021
M T W T F S S
« Apr    
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031

Blog

drprapat-header-3

LINKS

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS) ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS)

Tags

AEC al-Qaeda APEC ARF ASEAN Clinton Donald Trump EAS EU eurozone FTA G-20 ISIS Obama the rise of China TPP UN UNSC WTO การก่อการร้าย การต่างประเทศของไทย การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ความขัดแย้ง ความขัดแย้งทะเลจีนใต้ ความมั่นคง จีน ตะวันออกกลาง ประชาคมอาเซียน ประเทศมหาอำนาจ พม่า ยุทธศาสตร์สหรัฐฯ รัสเซีย วิกฤต Eurozone สงคราม สงครามการค้า สหรัฐ สหรัฐอเมริกา สหรัฐฯ อัฟกานิสถาน อาเซียน อิหร่าน เกาหลีเหนือ เศรษฐกิจ เอเชีย ไทย