Logo
  • หน้าหลัก
  • ประวัติ
  • ผลงานวิชาการ
  • ผลงานอื่นๆ
    • หนังสือ
    • Powerpoint
    • สัมภาษณ์รายการต่างๆ
    • บทความอื่นๆ
  • Blog
  • Gallery ภาพส่วนตัว
  • ติดต่อ
Copyright, 2015 : drprapat.com - All rights reserved.
July 28, 2017
drprapat
บทความ
0

One Belt One Road (OBOR) : ผลกระทบต่ออาเซียน

PreviousNext
ภาพนิ่ง1

 OBOR กับ อาเซียน

One Belt One Road เรียกย่อว่า OBOR เป็น grand strategy ของจีน ที่จะลงทุนสร้างโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เชื่อมจีนกับประเทศต่างๆถึง 65 ประเทศ มูลค่าลงทุน 1- 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะทำให้จีนกลายเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของโลก OBOR จึงเป็นโครงการลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลกจะมีผลในการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจโลกใหม่ ด้วยการเชื่อมเศรษฐกิจของยุโรป เอเชีย และอัฟริกา เป้าหมายของจีนในการผลักดัน OBOR คือ การผงาดขึ้นมาของจีน ทำให้จีนต้องการขยายอิทธิพล และปฏิสัมพันธ์กับประเทศต่างๆทั่วโลก และทำให้จีนกลายเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของโลก

เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา จีนได้จัดประชุม OBOR Summit ขึ้นที่กรุงปักกิ่ง โดยมีผู้นำจากประเทศต่างๆ เกือบ 30 ประเทศ และมีตัวแทนจากประเทศอื่นๆ อีก 110 ประเทศ เข้าร่วมประชุม

การเชื่อมจีนกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอาเซียน เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ OBOR โดยจีนต้องการเชื่อมจีนตอนใต้กับอาเซียน โดยเฉพาะเส้นทางคมนาคมขนส่งจากคุนหมิงและหนานหนิงไปสิงคโปร์ ที่อาเซียนเรียกว่า North-South Economic Corridor แต่จีนเรียกว่า China-Indochina Peninsula Economic Corridor อาเซียนมี Master Plan on ASEAN Connectivity ซึ่งเป็นแผนแม่บทการเชื่อมโยงอาเซียน โดยการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เส้นทางคมนาคมขนส่ง เชื่อมประเทศอาเซียน และจีนก็มี OBOR เลยเป็นสองโครงการมาบรรจบพบกัน

            ผลกระทบต่ออาเซียน : ผลดี

แน่นอนว่า อาซียนจะได้รับประโยชน์มหาศาลจาก OBOR จีนมีเงินทุนมหาศาลที่จะมาสร้างโครงสร้างพื้นฐาน เส้นทางคมนาคมขนส่งเชื่อมจีนกับอาเซียน โดยภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือเป็นภูมิภาคที่จีนให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย หรือ ADB ประเมินว่า เอเชียต้องการเม็ดเงินลงทุนในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานถึง 8 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ในช่วงปี 10 ปีข้างหน้า

ขณะนี้ ก็มีมากมายหลายโครงการที่จีนกับประเทศอาเซียนที่ได้เริ่มลงมือก่อสร้างไปแล้ว อาทิ

  • เส้นทางรถไฟความเร็วสูง จาการ์ตา – บันดุง ในอินโดนีเซีย
  • เส้นทางรถไฟความเร็วสูง คุนหมิง – เวียงจันทน์

นอกจากนี้จีนก็กำลังจะลงทุนสร้างนิคมอุตสาหกรรม Malaysia – China Kuantan โครงการ Melaka Gateway Port และ เส้นทางรถไฟเลียบชายฝั่งตะวันออกของมาเลเซีย รวมทั้งเส้นทางรถไฟจากกรุงเทพถึงหนองคายด้วย

ผลกระทบต่ออาเซียน : ผลเสีย

อย่างไรก็ตาม แม้ว่า OBOR จะมีผลดีต่ออาเซียนมหาศาล แต่ OBOR ก็เหมือนเป็นดาบสองคม ที่มีแนวโน้มจะส่งผลเสียต่ออาเซียนหลายเรื่องด้วยกัน ดังนี้

  • ผลเสียประการแรก คือ จากการที่จีนจะเข้ามาลงทุนมหาศาลในโครงสร้างพื้นฐานของอาเซียน จะทำให้จีนกลายเป็นผู้นำทางเศรษฐกิจในภูมิภาค และสามารถกำหนดทิศทางเศรษฐกิจของอาเซียนได้
  • ปัญหาความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ ยังเป็นปัญหาคาราคาซังกันอยู่ ปีที่แล้ว ศาลอนุญาโตตุลาการ มีมติว่า จีนไม่สามารถอ้างการครอบครองหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ได้ แต่จีนก็ไม่ยอมรับคำตัดสินของศาล ซึ่งท่าทีของจีนดังกล่าว ได้สร้างความเสียหายให้กับศักดิ์ศรีและชื่อเสียงของจีนในสายตาของประเทศอาเซียน ในการมองว่า จีนเป็นประเทศที่ไม่มีความรับผิดชอบ และไม่เคารพต่อกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งกระทบต่อภาพลักษณ์ของจีนเป็นอย่างมาก นำไปสู่ความไม่ไว้วางใจต่อจีน และอาจจะทำให้หลายๆประเทศ หวาดระแวงต่อความทะเยอทะยานของจีนในการผลักดันโครงการ OBOR
  • ผลเสียอีกประการที่สำคัญอย่างยิ่งต่ออาเซียน คือ การที่ OBOR ทำให้อาเซียนแตกแยก กัมพูชา ลาว และพม่า 3 ประเทศนี้ พึ่งพาทางเศรษฐกิจจีนเป็นอย่างมาก จึงมีท่าทีสนับสนุน OBOR เป็นอย่างมาก ในขณะที่ประเทศอาเซียนอื่นๆ มีท่าทีแบ่งรับแบ่งสู้ อาทิ สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม มีท่าทีที่ต้องการถ่วงดุลมหาอำนาจต่างๆในภูมิภาค โดยไม่ต้องการให้มหาอำนาจใดมาครอบงำภูมิภาคอาเซียน ประเทศเหล่านี้จึงมีความกังวลใจว่า หากสนับสนุน OBOR เต็มที่ จะทำให้ประเทศตนต้องพึ่งพาทางเศรษฐกิจต่อจีนมากเกินไป และจีนอาจจะครอบงำเศรษฐกิจของประเทศตนได้ และจะสูญเสียอิสระทางการทูต และไม่สามารถวางตัวเป็นกลางได้อีกต่อไป โดยจะต้องมีท่าทีสนับสนุนนจีน โปรจีนในทุกๆเรื่อง ประเทศเหล่านี้จึงยังคงมีความหวาดระแวงเกี่ยวกับเป้าหมายที่แท้จริงของ OBOR อยู่

ดังนั้น แม้ว่าประเทศอาเซียนโดยรวมจะสนับสนุน OBOR แต่ประเทศอาเซียนก็มีความแตกแยกกัน ในการให้น้ำหนักต่อ OBOR กัมพูชา ลาว พม่า สนับสนุนจีนเต็มที่ ในขณะที่ในประเทศอาเซียนอื่นๆ มีท่าทีแบ่งรับแบ่งสู้ โดยเฉพาะความกังวลที่จะต้องพึ่งพาทางเศรษฐกิจต่อจีนมากเกินไป และมีความหวาดกลัวกันลึกๆว่า OBOR จะทำให้จีนครอบงำภูมิภาคและจะเปลี่ยนระเบียบภูมิรัฐศาสตร์และภูมิเศรษฐศาสตร์ของเอเชีย จีนจะผงาดขึ้นมาเป็นแกนกลางหรือศูนย์กลางของสถาปัตยกรรมในภูมิภาค

  • หลายประเทศอาเซียน จึงใช้ยุทธศาสตร์แบ่งรับแบ่งสู้ แม้ในทางการทูต จะพูดจาสวยหรูกับจีน ต้องการปฏิสัมพันธ์กับจีน และสนับสนุน OBOR แต่ลึกๆแล้ว ประเทศเหล่านี้ยังหวาดระแวงจีน ไม่แน่ใจว่า จีนอยากจะครอบงำภูมิภาคหรือไม่ แม้ว่าจีนจะพูดมาตลอดว่า จีนจะผงาดขึ้นมาอย่างสันติ แต่ก็ยังไม่มีประเทศไหนเชื่ออย่างสนิทใจ
  • อีกประเด็นหนึ่งที่ OBOR ทำให้อาเซียนแตกแยก คือ การที่จีนเลือกที่จะเชิญประเทศอาเซียนเข้าร่วมประชุม OBOR Summit จีนน่าจะใช้ยุทธศาสตร์แบ่งแยกและปกครอง และต้องการแบ่งแยกอาเซียน จีนจึงเลือกเชิญผู้นำประเทศอาเซียน 7 ประเทศเข้าร่วมประชุม ได้แก่ พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์ แต่จีนไม่เชิญผู้นำไทย สิงคโปร์ และบรูไน เข้าร่วมประชุม ในกรณีของสิงคโปร์ ชัดเจนว่า ในช่วงที่ผ่านมา จีนไม่พอใจสิงคโปร์โดยเฉพาะท่าทีของสิงคโปร์ต่อปัญหาทะเลจีนใต้ และไม่พอใจที่สิงคโปร์ไปใกล้ชิดกับสหรัฐมากเกินไป ส่วนในกรณีของไทย เหตุผลที่ไม่เชิญผู้นำของไทย อาจจะมาจากการที่จีนไม่พอใจไทยในการเจรจาสร้างรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ – โคราช
  • เป็นที่น่าสังเกตได้ว่า ในการประชุม OBOR Summit เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ผู้นำของมหาอำนาจอื่นๆ ที่แข่งกับจีน ก็ไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมประชุม อาทิ สหรัฐ ญี่ปุ่น อินเดีย ออสเตรเลีย รวมทั้งผู้นำจากยุโรปตะวันตก ประเทศเหล่านี้มีความคิดตรงกัน คือ หวาดระแวงการผงาดขึ้นมาของจีน และต้องการสกัดกั้นการขยายอิทธิพลของจีน

 

ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 27 กรกฎาคม 2560

ผลกระทบต่อภูมิภาคผลกระทบต่ออาเซียนผลกระทบต่อไทย
Share this

The Author drprapat

ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

More Posts Like This One

IMG_9342

ดุลอำนาจของ 2 ผู้นำโลกและผลกระทบต่ออาเซียน

November 10, 2015
0 Comments General

Leave A Comment Cancel reply

71 − = 65

 
รศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ศ.ดร.ประภัสสร์ เทพชาตรี ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้บรรยายพิเศษในสถาบันต่างๆ อาทิ วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร สถาบันพระปกเกล้า มีงานเขียน งานวิจัย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และมีคอลัมน์ประจำ "กระบวนทรรศน์" ในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์และคอลัมน์ประจำ "โลกทรรศน์" ในสยามรัฐสัปดาห์วิจารณ์
  • หนังสือ "ยุทศาสตร์สหรัฐฯต่อเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"

  • หนังสือ "ประชาคมเอเชียตะวันออก"

  • หนังสือ "ประชาคมอาเซียน"

  • หนังสือ "สถานการณ์โลกปี 2553 และแนวโน้มปี 2554"

  • ปกนโยบายต่างประเทศ-USA-แก้-2557-07-28-at-3.05.01-PM

1/4

Calendar

January 2021
M T W T F S S
« Apr    
 123
45678910
11121314151617
18192021222324
25262728293031

Blog

drprapat-header-3

LINKS

คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์อาเซียนศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS) ศูนย์ศึกษานโยบายระหว่างประเทศ (CIPS)

Tags

AEC al-Qaeda APEC ARF ASEAN Clinton Donald Trump EAS EU eurozone FTA G-20 ISIS Obama the rise of China TPP UN UNSC WTO การก่อการร้าย การต่างประเทศของไทย การประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ ความขัดแย้ง ความขัดแย้งทะเลจีนใต้ ความมั่นคง จีน ตะวันออกกลาง ประชาคมอาเซียน ประเทศมหาอำนาจ พม่า ยุทธศาสตร์สหรัฐฯ รัสเซีย วิกฤต Eurozone สงคราม สงครามการค้า สหรัฐ สหรัฐอเมริกา สหรัฐฯ อัฟกานิสถาน อาเซียน อิหร่าน เกาหลีเหนือ เศรษฐกิจ เอเชีย ไทย