One Belt One Road (OBOR) : grand strategy ทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ของจีน

ผมได้เขียนบทวิเคราะห์เกี่ยวกับ OBOR ไป 2 ตอนแล้ว ตอนนี้จะเน้นวิเคราะห์เจาะลึก โดยจะมองว่า OBOR เป็น grand strategy ทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ของจีน ดังนี้
OBOR
เป็นเส้นทางสายไหมทางบกและทางทะเล ทางบกจะมี 3 เส้นทาง เส้นทางที่ 1 เชื่อมจีน – เอเชียกลาง – รัฐเซีย และ ยุโรป เส้นทางที่ 2 เชื่อมจีน – ตะวันออกกลาง – อ่าวเปอร์เชีย และ ทะเลเมดิเตอเรเนียน และเส้นทางที่ 3 เชื่อมจีน – เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้ ส่วนเส้นทางสายไหมทางทะเล จะเชื่อมจีน – ยุโรป ทางทะเล ผ่านทางทะเลจีนใต้และมหาสมุทรอินเดีย
OBOR จะครอบคลุมประเทศต่างๆ ถึง 65 ประเทศ คิดเป็น 70% ของประชากรโลก โดยจีนจะลงทุนสร้างถนน ทางรถไฟ ท่าเรือ และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เป็นมูลค่า 1 – 4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งจะทำให้จีนกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของโลก
OBOR จะเป็นโครงการลงทุนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก และจะเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจโลกใหม่ ด้วยการเชื่อมเศรษฐกิจยุโรปและเอเชีย ด้วยเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐาน และการคมนาคมขนส่ง
ปัจจัยทางด้านภูมิรัฐศาสตร์เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งที่ทำให้เกิด OBOR ขึ้นมา
ความมั่นคงทางพลังงาน
ปัจจัยภูมิศาสตร์ประการแรก คือ ปัจจัยด้านพลังงานและทรัพยากร จีนตระหนักดีว่า การเข้าถึงแหล่งทรัพยากร วัตถุดิบ และพลังงาน สำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของจีน และการเสริมสร้างอำนาจ และความมั่งคั่งของจีน
การนำเข้าน้ำมันและก๊าซธรรมชาติของจีน เกือบทั้งหมดมาจากตะวันออกกลาง และอัฟริกาตะวันออก โดยเส้นทางลำเลียงพลังงานจะผ่านทางช่องแคบมะละกา ซึ่งเป็นจุดเปราะบางที่จีน%B